Trending News

Subscribe Now

เทคนิคเคลียร์กองหนังสือที่ซื้อมาโดยวู่วาม

เทคนิคเคลียร์กองหนังสือที่ซื้อมาโดยวู่วาม

Podcast | The Organice

ผ่านช่วงสัปดาห์หนังสือมาได้ซักพัก หมดค่าเสียหายกันไปเท่าไหร่บ้างคะ แต่หลายครั้งเราก็อดใจไม่ได้จริง ๆ  แค่เดินผ่านร้านหนังสือ ขอให้ได้โฉบเข้าไปหน่อยเถอะ ลูบ ๆ จับ ๆ แค่นั้นล่ะก็ได้หนังสือติดไม้ติดมือมาเล่มสองเล่ม แถมเดี๋ยวนี้ online shopping ยิ่งล่อใจ กองหนังสือที่ดองไว้เป็นตั้ง ๆ ไว้ก็แอบทำให้รู้สึกผิดแต่หยุดไม่ได้จริง ๆ

 

 

เอาล่ะ ในเมื่อหยุดไม่ได้ ก็ต้องอยู่กับเจ้ากองหนังสือนี้ให้ได้ค่ะ ซื้อมาแล้วก็ต้องอ่านให้สมกับที่นักเขียนเค้าตั้งใจเขียน สำนักพิมพ์ตั้งใจพิมพ์ และให้คุ้มกับเงินที่เสียไป มาลองดูทริคช่วยเคลียร์กองหนังสือที่ซื้อมาโดยวู่วามกัน ว่ามีอะไรบ้าง

1. แยกหนังสือออกเป็น 3 ประเภท แล้วจัดลำดับอยู่เรื่อย ๆ ทุกสัปดาห์

    • หนังสือที่อยากอ่าน

      นี่คือหนังสือที่มีแนวโน้มว่าคุณจะจบได้มากที่สุด จะเป็นหนังสืออะไรก็ได้ขอให้หยิบออกมาจากกองนั้น 1 เล่ม อยากแนะนำให้คุณเริ่มจากเล่มที่ไม่หนามากนัก และน่าจะจบได้ภายใน 2-3 วัน

    • หนังสือที่อยากมี

      นี่คือตัวการสร้างคอนโดหนังสือของคุณค่ะ สารภาพมาซะดี ๆ ว่าคุณซื้อตามคนอื่น ซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือ ซื้อตาม 10 อันดับหนังสือขายดีตอนจังหวะจะจ่ายเงินที่ cashier หรืออาจจะเป็นหนังสือที่คุณได้รับ email แนะนำจากสำนักพิมพ์ หรือเห็นจากใน Social Share กันมา ไม่เป็นไรค่ะ ก่อนอื่นบอกตัวเองก่อนว่านี่คือหนังสือดีที่หลายคนแนะนำ และเรามีจังหวะได้เจอกันพอดิบพอดี เข้าแถวต่อคิวรอกันไว้ กองนี้แนะนำให้คุณหา post-it มาแปะด้านหน้าไว้ซักนิด ว่าเล่มนี้ซื้อมาเพราะอะไร เพราะเห็นจากไหน หรือใครแนะนำ จากนั้นลองจัดลำดับแถว ให้เล่มที่คิดว่าจะอ่านก่อนอยู่ข้างบน และเล่มที่คิดว่าจะอ่านทีหลังอยู่ด้านล่างสุดค่ะ

    • หนังสือที่ต้องอ่าน

      นี่คือหนังสือที่อาจจะจำเป็นกับการทำงาน เรื่องที่คุณจำเป็นต้องรู้ ให้ลองหา post-it มาแปะเช่นกันค่ะ แต่ให้แปะว่าเราจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้ภายในเดือนไหน แล้วจัดลำดับเล่มที่ควรรู้ก่อนอยู่ด้านบนเรียงลง

ที่ชวนคุณจัดออกเป็น 3 ประเภทตามนี้ เพราะจะช่วยคุณจัดเวลาอ่านหนังสือประเภทต่าง ๆ ได้ค่ะ

หนังสือที่อยากอ่าน – คุณจะหยิบติดตัวได้ทั้งวันในวันหยุดหรือเวลาว่าง พกทีละเล่มอาจจะหาปกหรือถุงซิปล็อกใส่ไว้เผื่อโดนน้ำหกใส่จะได้ไม่ชำรุด หนังสือที่อยากอ่านนี้เปรียบแล้วจะเหมือนตัวกระตุ้นให้คุณกลับมาอ่านหนังสือได้

หนังสือที่อยากมี – เล่มนี้ทำใจได้ว่าอาจจะอ่านไม่จบ อ่านไม่ถึงไหน เพราะเราซื้อตามคนอื่น หรือเป็นคนอื่นแนะนำมา ซึ่งหนังสือก็คล้าย ๆ หนังหรือภาพยนตร์ที่รสนิยมส่วนตัวไม่เหมือนกัน ที่คลาสสิคกว่านั้นหนังสือแต่ละเล่มก็เหมาะกับเราในบางเวลา ณ ตอนนี้เราอาจจะอ่านไม่จบ แต่วันข้างหน้าที่เราต้องการเนื้อหาบางอย่างที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น เราอาจจะอ่านจบได้ในรวดเดียว

หนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน – ให้คุณเริ่มอ่านสารบัญให้ละเอียดว่าเนื้อหาที่คุณต้องการอยู่ส่วนไหน แล้วพุ่งไปที่หน้านั้นๆ จากนั้นให้ทำ shortnote หรืออาจจะมี post-it แปะไว้ในส่วนที่สำคัญ 

2. จัดตารางอ่านประจำวัน 

ให้ลองหาเวลาที่เหมาะของคุณ วันละ 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย บางคนชอบตอนเช้า บางคนชอบตอนหัวค่ำ บางคนชอบก่อนนอน ในช่วงแรก ๆ อาจจะทำได้ยาก แต่ให้ลองทำจนเคยชิน มีพี่ที่รู้จักกันบอกว่าวิธีนี้จะทำให้สมองรับรู้ว่าเวลานี้ต้องอ่านหนังสือ ถ้าไม่อ่านแล้วจะหงุดหงิด ต้องอ่านหนังสือตอนเช้าวันละ 1 ชั่วโมงเป็นนิสัย

3. หามุมประจำ

ทั้งในบ้านและนอกบ้าน หาที่นั่งเงียบ ๆ ชิว ๆ ร้านกาแฟ อากาศดี อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่หนาวจนเกินไป เราจะเข้าถึงการมีสมาธิได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเวลาที่เท่ากันคุณอาจจะอ่านได้มากกว่าสถานที่ที่รบกวนสมาธิของคุณได้ตลอดเวลา

4. คว่ำหน้าจอหรือวางโทรศัพท์ไว้ไกล ๆ

เอาไปชาร์ตแบตก็ได้ Notification ต่าง ๆ จากโทรศัพท์โดยเฉพาะ Social Network คือตัวดึงคุณออกจากหนังสือที่ร้ายกาจที่สุด

5. สัญญาต่อสาธารณชน 

เราใช้ Social ให้เป็นประโยชน์ค่ะ ถ้าเพื่อน ๆ ของคุณใน Social เป็นนักอ่านจำนวนมาก คุณอาจ Post หนังสือในวันที่เริ่มต้นอ่าน แล้วบอกกับเพื่อน ๆ ไว้เลยว่าเดี๋ยวจะมา review วันศุกร์นี้รอได้เลย หรือหากเพื่อนเราไม่ได้เป็นนักอ่าน คุณควรหา Group ที่มีความสนใจเช่น โลกของนักอ่าน หรืออาจจะสมัคร account ใน Goodreads เพื่อให้เพื่อนนักอ่านด้วยกันมา share ความสนใจ เป็นกำลังใจให้คุณ หรืออาจจะบอกเรื่องที่เค้าประทับใจในหนังสือและจะยิ่งทำให้คุณเร่งอ่านเพื่อจะได้ถึงตอนที่เพื่อนแนะนำไว้ หรืออยากจะเร่งอ่านให้จบเพื่อจะได้รีบมาแนะนำให้เพื่อน ๆ ไปลองอ่านกัน เพราะมนุษย์อยากมีความสุข และยิ่งใหญ่กว่านั้นคือทำให้คนอื่นมีความสุขด้วย

6. หาเพื่อนร่วมชั้นหนังสือของคุณ 

ใช้คำให้ดูอลังการ แต่ที่จริงคือให้คุณลองหาเพื่อนที่มี taste การอ่านใกล้เคียงกัน มีความสนใจหรืออยู่ในสายงานใกล้เคียงกัน เพื่อที่เวลาคุณจะซื้อหนังสือมาเติมกองใหม่ จะได้ไม่วู่วามตาม list ตามกระแสทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้นคุณอาจใช้วิธีแลกหนังสือกันอ่าน ต่อคิวกันอ่าน จะยิ่งทำให้เรามีวินัยอ่านให้จบ เพื่อให้เพื่อนที่ต่อคิวได้หนังสือไปอ่านด้วยเช่นกัน

6 ข้อนี้รวบรวมมาจากบทความของ Havard Business Review และสัมภาษณ์จากคุณบอล วีระ เกษตรสิน พี่เก่ง สิทธิพงศ์ ซึ่งทั้ง 2 คนนี้อ่านหนังสือกันสนุกสนานมาก หวังว่าจะช่วยให้คุณลดจำนวนหนังสือที่กองและดองกันไว้ในชั้นหนังสือลงได้สำเร็จนะคะ

 

ติดตามสาระการจัดการดี ๆ กับ The Organice Podcast ที่จะมาชวนคุณพูดคุยกัน ว่าด้วยเรื่องการจัดการตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ให้ชีวิตของคุณ  Nice ขึ้นได้ทุกวัน อัพเดทกันได้ทุกวันศุกร์ที่ www.creativetalklive.com หรือ Subscribe กันได้ที่ CREATIVE TALK Podcast ในช่องทางที่คุณสะดวกกันได้เลย

https://www.podbean.com/podcast-detail/sjw6x-74533/CREATIVE-TALK-podcast

Related Articles

9 ความลับของการเล่าเรื่อง (Storytelling) สะกดใจคนฟัง

ถ้าเรื่องราวต่าง ๆ มีความสำคัญขนาดเปลี่ยนความคิดของเราได้ สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้เป็นฮีโร่หรือตัวร้ายได้ เราลองมาเรียนรู้การเล่าเรื่องกันดีกว่า อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้วไว้ว่าการเล่าเรื่องไม่ได้จำกัดแค่การพูดเท่านั้น แต่เราสามารถใช้การแต่งตัว แต่งหน้าเล่าเรื่องให้คนอื่นรู้ได้ว่าเราเป็นคนยังไง โดยมี 9…

Morning Call | Podcast

Expectation Management ตอน 1 จัดการกับการคาดหวัง บทเรียนจากคนทำร้านอาหาร สม่ำเสมอหรือดีขึ้น?

มีคนบอกว่า มนุษย์จะมีความสุข เมื่อได้ตามสิ่งที่คาดหวัง และจะมีความทุกข์ หรือโมโห เมื่อไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ Reality Expectation = Happiness…

Entrepreneur | Morning Call | Podcast

Content นั้นสำคัญ แต่การนำเสนอนั้นสำคัญกว่า

“แมกาซีนจะตายหมดหรือเปล่า”  “ถ้าถามกลับ เขาซื้อแมกาซีนเพราะอะไร เพราะกระดาษหรือเปล่า” เมื่อมนุษย์มีความต้องการข่าวสารที่เฉพาะสำหรับตนเองแล้ว รายการวิทยุจึงกลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของสื่อ Digital แต่รายการวิทยุหรือสื่อสมัยเก่านั้นจะเปลี่ยนตนเองได้อย่างไร ที่ผ่านมา สำนักพิมพ์ไทยรัฐ…

Creative Wisdom | Podcast
ut sed libero. ut libero elit. at porta. amet, adipiscing et, Nullam