Trending News

Subscribe Now

ทะเลาะให้เป็นแล้วจะรู้ใจกันมากขึ้น

ทะเลาะให้เป็นแล้วจะรู้ใจกันมากขึ้น

Podcast | The Organice

การเผชิญหน้ากับปัญหา ย่อมดีกว่าการหนีปัญหาหรือการซุกปัญหาเอาไว้ก่อน ซึ่งผลตามมาภายดูจะหนีไม่พ้น 2 ประเด็นคือ ปัญหานั้นอาจจะบานปลายใหญ่โตไปถึงคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง หรืออาจจะไปกระทบกับ “ความชื่อใจ ความไว้วางใจ” ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของการทำงานและความสัมพันธ์อื่นที่นอกเหนือจากเรื่องงานไปด้วย

ดังนั้น การทะเลาะ กัน อาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการเผชิญหน้ากับปัญหาอย่างเปิดเผย

หากมองแบบนี้แล้ว การมีบทสนทนาหนัก ๆ อาจจะไม่ใช่ “จุดจบ” แต่อาจเป็น “จุดเริ่มต้น” ของการเปิดพรมขึ้นมา ยกเอาปัญหาขึ้นมามองกันจริง ๆ จัง ๆ แล้วหาทางออกก็เป็นได้

แต่การทะเลาะกัน หรือการยกประเด็นหนัก ๆ ขึ้นมาพูดกันก็ถือเป็นเรื่องยากที่จะจัดการได้

ดังนั้นมี 6 เรื่องสำคัญที่ต้องทบทวน และพยายามยั้งใจให้นึกถึงเรื่องเหล่านี้บ่อย ๆ เพื่อให้การทะเลาะกัน มีผลลัพท์ที่ดีมากกว่าแค่การตีกันแล้วมีแต่ความบาดหมางใจกันไป

1. เราต้องการอะไรจากการสนทนานี้ ?

ทบทวนตัวเองให้ดีว่าการพูดคุยครั้งนี้เราต้องการอะไร ซึ่งหลักใหญ่ใจความมักจะมีอยู่ 3 หัวข้อใหญ่ๆ คือ

– ต้องการบอกความไม่พอใจ ดังนั้นหากอีกฝ่ายไม่มีคำตอบหรืออาจจะตอบมาไม่ตรงใจ ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดคาด
– ต้องการรู้เหตุผลหรือการชี้แจงของอีกฝ่าย ดังนั้นคุณต้องฟัง เมื่ออีกฝ่ายกำลังชี้แจง อย่าแทรกอย่าตัดบท เพราะนี่คือสิ่งที่คุณต้องการ
– ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นคุณต้องเปิดใจแนวทางแก้ไขของอีกฝ่าย และต้องพยายามคิดด้วยว่าคุณจะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรบ้าง

2. เรากำลังพูดคุยกับใคร

มองคนตรงหน้าให้ดี ว่าคนคนนี้คือ หัวหน้าของเรา คนในครอบครัว คนรัก คนที่เราแคร์ เมื่อเป็นคนที่เรารู้ว่ามีความสำคัญในชีวิต เราจะระมัดระวังคำพูดอากัปกิริยาของเรา ตรงกันข้ามหากคู่สนทนาของเราคือคนที่เราแค่ต้องการให้เค้าทำให้ถูกต้อง อาจเป็นคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน เมื่ออีกฝ่ายตอบกลับมาไม่ดีอย่างที่เราคิดไว้ก็จะได้เข้าใจว่านั่นเป็นเพราะเขาไม่รู้จักเรามาก่อน เขาจึงปฏิบัติกับเราอย่างนั้น

3. จบเป็นเรื่องๆ และอยู่ในประเด็นเสมอ

ต้องตอบให้ได้ว่า “เดี๋ยวนะ …. เรากำลังคุยกันเรื่องอะไรอยู่” พูดได้พูดออกมาเลย เช่น ฉันไม่พอใจที่เธอใช้เสียงแบบนี้กับฉัน ฉันไม่พอใจที่งานออกมาไม่ตรงตาม deadline ทำไมงานถึงผิดพลาดขนาดนี้ ทำไมวันนี้ไม่ติดต่อมาเลย

เพื่ออะไร?
– เพื่อให้อยู่ในประเด็น ไม่หลงไปเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกัน พูดคุยกันทีละเรื่อง ให้จบเป็นเรื่อง ๆ ไป
– เพื่อหัวใจสำคัญเลยคือ เรากำลังถกเถียงกันในเรื่องพฤติกรรมที่เราไม่ชอบใจ เรากำลังเถียงกันเพราะเราไม่ขอบผลของงาน เพราะสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้เราผิดใจกันขึ้นมาจริง ๆ และมองหน้ากันไม่ติดคือ “เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องตัวตนของอีกฝ่าย”

เพราะเมื่อไหร่เราไปเผลอไปทำให้การทะเลาะนี้เป็นการตัดสินตัวตนของอีกฝ่าย เราจะมองหน้ากันไม่ติดทันที

ข้อนี้จะทำได้ยาก ถ้าเราเป็นคนซุกเรื่องที่ไม่พอใจไว้มาก ๆ เราจะเราทุกเรื่องผสมรวมกัน จนแยกไม่ออกว่าเรากำลังทะเลาะเรื่องอะไร

4. หลีกเลี่ยงคำต้องห้าม

คำพูดก็เป็นอาวุธได้ คำพูดที่ทิ่มแทงและต้องห้ามสำหรับการทะเลาะกันมีอะไรได้บ้าง
คำพูดต้องไม่หยาบคาย
คำพูดประชดประชัน
คำพูดโกหก ทั้งเรื่องข้อมูล และเรื่องความรู้สึก

ซึ่งนอกจาก 3 คำนี้ไม่เป็นประโยชน์กับการสนทนาแล้ว ยังจะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปเพราะเป็นคำที่ทำให้อารมณ์โกรธ ไม่พอใจทบทวีคูณเข้าไปอีก

5. ต้องมีพักยก

นักมวยยังพักยกได้ ถ้าเราเริ่มรู้สึกว่าควบคุมอารมณ์ไม่ได้แล้ว เราอาจจะบอกคู่สนทนาตรง ๆ เลยก็ได้ว่าตอนนี้ขอพักก่อน หรืออาจจะพักด้วยการหยุดฟังอีกฝั่ง  ช่วงพักนอกจากจะเพื่อให้อารมณ์จางลง เราจะมีเวลาทบทวนตั้งหลักกันได้อีกสักนิด

6. อย่าค้างคา ถ้าจบได้ควรจบ

แต่ถ้าไม่จบก็ต้องรู้ว่าไม่จบเพราะอะไร เพราะเหนื่อยแล้ว เพราะคิดไม่ออก เดี๋ยวมาคุยต่อ เคล็ดลับคือใครจบก่อนคนนั้นชนะ

6 เรื่องนี้หากควบคุมได้ คุณจะอยู่ในประเด็น และโต้เถียงกันในเรื่องที่ค้างคาใจ ไม่ได้ทะเลาะกันที่ตัวตนของอีกฝ่าย

ถ้าทะเลาะเป็นแล้ว ยิ่งทะเลาะบ่อยๆ ทะเลาะให้เป็น จะทำให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น คือเราได้รู้จักอีกฝ่ายในมุมที่เห็นไม่ตรงกัน ซึ่งดีกว่าการอยู่กันอย่างราบรื่น พอมีปัญหาเกิดขึ้นเราไม่รู้เลยว่าจะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ และกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างไร

ติดตามสาระการจัดการดี ๆ กับ The Organice Podcast ที่จะมาชวนคุณพูดคุยกัน ว่าด้วยเรื่องการจัดการตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ให้ชีวิตของคุณ  Nice ขึ้นได้ทุกวัน อัพเดทกันได้ทุกวันศุกร์ที่ www.creativetalklive.com หรือ Subscribe กันได้ที่ CREATIVE TALK Podcast ในช่องทางที่คุณสะดวกกันได้เลย

Related Articles

ทำไมช็อกโกแลตต้องเป็นแท่งและละลายในปาก

หลายคนคงเคยรับประทานช็อกโกแลต โดยเฉพาะตอนเด็กๆ บางคนอาจจะชอบรสชาติที่หวานหอม ละมุนลิ้น ละลายในปากของมันมากเป็นพิเศษ และยิ่งมีเสียงดัง ‘เป๊าะ’ เวลาที่เคี้ยวมันเข้าไป ยิ่งทำให้รู้สึกว่ารสชาติมันช่างอร่อยเหลือเกิน แต่ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ?…

Creative/Design | Podcast
at Sed sem, suscipit mi, amet,