Trending News

Subscribe Now

เคล็ดลับการทำงานกับเจ้านายหลากหลายไอเดีย

เคล็ดลับการทำงานกับเจ้านายหลากหลายไอเดีย

Podcast | The Organice

แชร์เคล็ดลับการทำงานกับเจ้านายที่หลากหลายไอเดีย จะทำอย่างไรไม่ให้รู้สึกเหนื่อย หรือสำหรับคนที่มีไอเดียพรั่งพรูและอยากได้ใครสักคนมาช่วยทำไอเดียนั้นให้เกิดขึ้นจริง จะต้องทำอย่างไรดี วันนี้เรารวบรวมวิธีมาฝาก

1. คุณต้องเป็นผู้ฟังที่ดี

คนที่มีไอเดียเยอะ ๆ เขาต้องการนำสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ผู้ฟังคือคนที่เขาต้องการมาก ๆ

ผู้ฟังที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง?

อย่างแรกต้องตั้งใจฟัง หากไอเดียในรูปแบบข้อความก็ต้องตั้งใจอ่าน หรือมาในรูปแบบโทรก็ต้องจับโทนเสียงและอารมณ์ให้ดีว่า ณ ตอนนั้นลักษณะอารมณ์เป็นอย่างไร และหากคุณมีโอกาสได้ฟังไอเดียกับเจ้าตัวเป็น ๆ ให้จับไอเดียนี้พร้อมกับอากัปกิริยาและภาษาทางกายตอนที่เล่าเรื่องด้วย และที่สำคัญคือ อย่าเพิ่งไปขัดจังหวะตอนที่เขาพูด เนื่องจากอาจจะทำให้เขาลืมไปเลยว่าจะพูดอะไร เพราะฉะนั้น ผู้ฟังที่ดีต้องสังเกตทั้งข้อความ อารมณ์ อากัปกิริยา และไม่ขัดจังหวะ ปล่อยให้เขาพูดมาให้ครบถ้วน

2. คุณต้องเป็น Moderator ที่ดี

Moderator ที่ดีเหมือนเป็นพิธีกร แต่คุณไม่มีสคริปต์มาก่อน ดังนั้น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะถามอะไร

ในฐานะ Moderator ที่ดีควรถามไม่เยอะ กรอบง่าย ๆ แค่ 4W1H คือ เรื่องอะไร (What) ทำไมถึงมีไอเดียนี้เกิดขึ้น (Why) จะทำเมื่อไหร่ (When) ทำที่ไหน (Where) ทำกับใคร (Who) และทำอย่างไร (How) จะเป็นการทวนเขาด้วยว่านี่คือไอเดียหรือแค่ความเห็น

ผู้เป็น Moderator จะช่วยทำให้ไอเดียนั้นแตกยอดขึ้นได้อีกหรือควรพักไว้ก่อน คุณช่วยทบทวนเขาได้ดี อาจจะไม่ใช่แค่ถามคำถามอย่างเดียว อาจเป็นคนจัดหาอุปกรณ์ที่จะทำให้ไอเดียของเขาออกมาได้ 360° ยิ่งขึ้น เช่น กระดาษโพสต์อิท ดินสอ ปากกา อะไรก็ได้ที่ทำให้ ณ ตอนที่เขามีไอเดียเกิดขึ้นมาเขียนออกมาให้ได้ ทำอย่างไรก็ได้ให้ชนะตัวเองว่าไม่ได้เป็นแค่ความคิดอยู่ในหัว เอาชณะด้วยการตั้งชื่อหรือไล่ออกมาเป็น flow ให้เร็วที่สุด นี่คือการเป็น Moderator ที่ดี

3. คุณต้องเป็นบรรณารักษ์ที่ดี 

เป็นนักจัดเก็บที่ดี เมื่อเขามีไอเดียเล่าออกมาคุณต้องจด ถ้าเขาจดออกมา คุณต้องถ่ายรูปเก็บให้เป็นระบบ ไอเดียฮอต คือไอเดียที่เขาตอบให้คุณได้หมดว่า ทำเพื่อใคร ทำอย่างไร ทำอะไร ทำที่ไหน ไล่ออกมาได้ แสดงว่าชอบไอเดียนี้มาก ทางที่ดีให้จดโน้ตไว้แอพพลิเคชันที่เป็น Collaboration เช่น Trello ได้เลย โดยคุณตั้งต้นไฟล์ไว้ เพื่อที่จะให้เจ้านายมาต่อไอเดียได้ พอจัดเก็บแล้วต้องสามารถบอกได้ว่า ไอเดียนี้คือฮอตไอเดีย หรือถ้าไอเดียไหนที่เล่าให้ฟังเฉย ๆ อาจจะแค่จดไว้ ไม่ต้องแชร์ก็ได้

พอเล่าจบแล้วก็ทวนให้เขาฟังว่า แต่ละข้อนี้ยังชอบอยู่ไหม แล้วค่อยมาช่วยกันต่อยอด เขาจะได้ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ บางครั้งไอเดีย 1-5 ไม่ได้ผล ก็ต้องมาคิดใหม่ว่ามีอะไรที่พออุดรอยรั่วเดิมได้บ้าง ดังนั้น จากการที่เราเป็นบรรณารักษ์ที่ดีจะช่วยให้จัดเก็บไอเดียเก่า ๆ แล้วหยิบขึ้นมาได้

4. คุณต้องเป็นนักคำนวณที่ดี

ไอเดียทุกอย่างในฐานะผู้บริหารจะต้องมีการคำนวณอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ เรื่องของเวลา เวลาในการที่จะทำให้ไอเดียนี้เกิดขึ้น เป็นกำหนดการเราจะต้องทำในเวลาเมื่อไหร่ ควรทำให้เสร็จเมื่อไหร่จึงจะเสร็จได้ทันเวลา ดังนั้น เราต้องช่วยคำนวณเรื่องเวลาให้ดี

เรื่องที่สองคือ เรื่องของค่าใช้จ่าย บางครั้งเราอาจจะต้องช่วยเขาคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น มีอะไรบ้าง ถ้าไม่ได้ตัวเลขอย่างน้อยบันทึกออกมาให้ได้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไร แล้วค่อยไปช่วยหาว่าแต่ละรายการมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ดังนั้น เป็นนักคำนวณที่ดี ในที่นี้ต้องคำนวณเวลา คำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับไอเดียนั้น ๆ ว่าควรไปต่อไหม

5. คุณต้องเป็นนักวางแผนที่ดี

นักวางแผนในที่นี้คือ เป็นคนช่วยจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ให้นั่นเอง คนที่มีหลายไอเดียอาจหยิบหลายไอเดียขึ้นมาเพื่อที่จะค้นหาหนึ่งไอเดียอยู่ในหลายขั้นตอน บางไอเดียเป็นช่วงของการหาความเป็นไปได้ บางไอเดียอาจจะอยู่ในช่วงทดลอง บางไอเดียอยู่ในช่วงตกตะกอน

ดังนั้น เมื่อมีหลายไอเดียจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในการคิดหรือลงมือทำ ของเดิมอาจมีความสำคัญและกำหนดการอยู่แล้ว พอได้ไอเดียใหม่มาต้องลำดับว่าจะทำเรื่องไหนก่อนหลัง นอกจากทำ To-do-list แล้ว To-don’t-list ก็ต้องทำด้วย เราต้องช่วยตรวจสอบ จัดลำดับไอเดีย จะได้ไม่เป็นแค่ถังของ 100 ไอเดีย แต่เป็นถังของไอเดียที่มีการจัดแล้ว

6. คุณต้องเป็น Supporter ที่ดี

รู้ไหมว่า Ultimate goal ของคนที่มีไอเดียเยอะ ๆ ไม่ใช่การคิดไอเดียให้เยอะที่สุด แต่เป็นการได้เห็นไอเดียของเขาเกิดขึ้นได้จริง คนเรามีความถนัดที่ต่างกัน คนที่มีไอเดียเยอะ ๆ ก็มีความถนัดที่จะสำรวจ คิดค้น มีความกล้า มีระบอบความคิดที่จะทำให้เกิดไอเดียหลากหลาย เราซึ่งเป็น Supporter ก็มีความถนัดอีกรูปแบบ คือถนัดที่จะทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นได้จริง โดยการใช้สกิลการจัดการ นำไอเดียต่างๆ มาประกอบกันแล้วต่อยอดด้วย Creative Idea ถึงจะเกิดขึ้นจริงได้ ดังนั้น ในหนึ่งงาน หนึ่งโปรเจกต์ มีทั้ง idealist และเป็นทั้ง supporter ร่วมกัน ถึงจะเกิดโปรเจกต์ขึ้นมาได้

เพราะฉะนั้น การทำงานร่วมกับคนที่มีไอเดียเยอะ ๆ ไม่เคยทำให้ท้อ แต่กลับเป็นความท้าทายมากกว่า ณ วันที่ไอเดียนั้นสำเร็จ ไม่ใช่แค่เจ้าของไอเดียที่มีความภูมิใจ แต่เราผู้ซึ่งได้เห็นไอเดียนี้จากแค่สิ่งที่พูดขึ้นมาบนโพสต์อิท วันนี้ได้ขึ้นไปเป็น Keynote ของงาน Conference ที่มีคนเข้าร่วมเป็นพันคน น่าภูมิใจไม่แพ้กับเจ้าของไอเดียเลย

หากคุณเป็นคนที่ได้ทำงานร่วมกับเจ้านายที่มีไอเดียเยอะ ๆ ขอแสดงความยินดีด้วย คุณกำลังจะได้ขึ้นรถไฟร่วมกันกับคนหลากหลายไอเดียเพื่อที่จะได้ค้นหาความรู้และคอนเนกชันผู้คนอีกมากมายที่คุณจะได้เจออย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่สำหรับคนที่มีไอเดียเยอะ ๆ เผื่อว่าคุณจะได้วิธีการเพื่อจัดการกับไอเดียของคุณ อะไรที่ควรทำก่อนหลัง เพื่อให้ไอเดียนั้นเกิดขึ้นได้จริง

ภาพประกอบบทความจาก Thomas Peham,  Unsplash

ถอดความจาก: The Organice Podcast โดยคุณโจ้ ฉวีวรรณ คงโชคสมัย
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

ติดตาม Creative Talk ผ่านอีกช่องทางได้ที่

บทความอื่นที่อาจสนใจ

Related Articles

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาที่เราดู sitcom ไม่ว่าจะของไทยหรือต่างประเทศ พอถึงจุดที่มันต้องตลกมักจะมีเสียงหัวเราะนำเสมอ? sitcom ในอเมริกาจะเป็นคนหัวเราะที่ฟังดูเหมือนอัดมา แต่ในไทยจะมีผู้ชมอยู่ในห้องส่งด้วยทำให้เสียงฟังดูมีชีวิตชีวา ไม่เฟค เมื่อคุณเริ่มชินกับเสียงหัวเราะใน…

Design You Don't See | Podcast

ล้วงลับการออกแบบของ “บ๊ะจ่าง” กัดอร่อย คำต่อคำ!

บ๊ะจ่าง ของว่างที่ประกอบไปด้วยข้าว และไส้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หมู ไข่ เห็ดหอม ถั่ว ห่อด้วยใบไผ่ เป็นอาหารของคนจีนสมัยก่อนที่ทำมาให้ง่ายต่อการพกพา…

Design You Don't See | Podcast
dictum sit libero. id suscipit diam massa ipsum non