Trending News

Subscribe Now

American Culture Shock 5 พฤติกรรมคนอเมริกันที่คนไทยอย่างเราไม่คุ้นชิน

American Culture Shock 5 พฤติกรรมคนอเมริกันที่คนไทยอย่างเราไม่คุ้นชิน

Morning Call | Podcast

วันก่อนคุยกับเพื่อนบนโต๊ะอาหารถึงเรื่องพฤติกรรมบางอย่างของคนอเมริกันที่คนไทยเราไม่คุ้นชิน เรียกว่า Culture Shock จึงอยากจะมาชวนให้รู้จักพฤติกรรมบางอย่างของคนอเมริกันที่เราคิดว่าเรารู้ แต่จริง ๆ ไม่รู้

Culture Shock คืออะไร

พฤติกรรมของคนในแต่ละประเทศที่บางครั้งเราเดินไปเจอ แล้วเราไม่คุ้นชิน แล้วบางครั้งเราทำผิดพลาดไป ทำให้เรากลายเป็นตัวประหลาด หรือบางครั้งพฤติกรรมของเขาทำให้เราตกใจกับสิ่งที่เขาทำ

หลายคนไปเรียนหรือไปทำงานที่อเมริกา แล้วไม่เคยไปอยู่นาน ๆ พอได้ไปอยู่สักสองสัปดาห์แรกก็จะพบกับ Culture Shock หลายอย่างที่เราทำแล้วเขารับไม่ได้ หรือกำลังจะทำบางอย่างแล้วพบว่าเขาไม่ทำ ก็ทำให้เราตกใจและเครียด บางคนคิดถึงบ้าน อยากกลับบ้าน คิดว่าไม่ใช่ที่ของตัวเอง หลาย ๆ คนน่าจะเป็น แต่ว่าเนื่องจากเดี๋ยวนี้อินเทอร์เน็ต ข้อมูลไปถึงแล้ว บางเรื่องก็ไม่ค่อยช็อกแล้วสำหรับปัจจุบัน

1. คนอเมริกันไม่แชร์อาหาร

คนอเมริกันรวมไปถึงฝรั่งหลายคนในยุโรป ไม่แชร์อาหาร หมายถึง เวลาทานข้าวแบบไทย ๆ เราที่มีกับข้าวอยู่ตรงกลาง ต่างคนต่างตักไข่เจียวจานเดียวกัน แย่งกันหั่นไป หั่นมา เขาจะไม่ชิน หรือแม้กระทั่งพวกต้มยำที่ต่างคนต่างใช้ช้อนของตัวเอง ฝรั่งเขารับไม่ได้เพราะเขารู้สึกว่าช้อนสกปรก เขาจะรับได้หากมีช้อนกลางตักแบ่งลงชามแบ่งของแต่ละคน หรือช้อนกลางตักเทน้ำใส่จานตัวเอง

เช่นเดียวกันกับ กับข้าวเป็นจานวางรวมกันอย่างไข่เจียวที่ต่างคนต่างหั่น เขาก็ยังรู้สึกสกปรกอยู่ดี เราจะเห็นว่าฝรั่งก็มีการแชร์อาหารเช่นเดียวกันเวลาไปปาร์ตี้หลายคน นั่งรวมกันบนโต๊ะเดียวกัน แต่สิ่งที่เขาทำคือการค่อย ๆ ส่งต่อแต่ละจานไป เช่น บนโต๊ะมีอาหาร 10 อย่าง เขาจะหยิบมันบดใช้ช้อนกลางตักใส่จาน หลังจากนั้นส่งต่อให้แต่ละคนไป เหมือนกับการตักข้าวสวยบ้านเราที่ส่งต่อหม้อข้าวไปเรื่อย ๆ เขาจะไม่มาจ้วงด้วยกัน

อีกอย่างที่เขาไม่ทำคือ การแบ่งอาหาร คนไทยเราชอบทำ เช่น คนนึงสั่งข้าวผัด คนนึงสั่งราดหน้า แล้วนำมาแบ่งกัน แต่เขาจะไม่ทำอย่างนั้น เพราะเขารู้สึกว่าอาหารที่ไม่ได้แชร์ อาหารของฉันคืออาหารของฉัน อย่ามาตักอาหารของฉันมันน่าเกลียด

2. คนอเมริกันไม่แคะขี้มูกในที่สาธารณะ

คนไทยก็ไม่แคะในที่สาธารณะเหมือนกัน แต่เราก็ยังจะพอเห็นบ้าง แต่สำหรับฝรั่งแล้วไม่เลย ไม่แคะเลย ไม่แคะ ไม่แกะ ไม่เกา เข้าใจว่าส่วนหนึ่งการแคะขี้มูกเป็นอะไรที่สกปรก และเขาใช้มือในการเชคแฮนด์ตลอดเวลา ดังนั้นหากมือคุณไปแคะขี้มูกมา เป็นไปได้ว่าคุณจะใช้มือข้างเดียวกันมาจับมือฉันเวลาที่ทักทายกัน ดังนั้นเขาจะอี๋มาก ๆ กับคนที่แคะขี้มูก รับไม่ได้เลย

แต่คนอเมริกันก็มีอีกพฤติกรรมหนึ่งคือการสั่งขี้มูก เวลาสั่งขี้มูกเขาจะไม่อายเลยที่จะไปหยิบกระดาษทิชชู่มาแล้วสั่งขี้มูกด้วยความแรง เขาคงรู้สึกว่ามันสะอาดเพราะมันไม่ได้โดนมือ มีกระดาษโดนอยู่ 

3. คนอเมริกันจะเป็นคนพูดตรง ๆ 

คนอเมริกันจะเป็นคนพูดตรง ๆ อันไหนไม่ชอบก็บอกว่าไม่ชอบ อันไหนชอบก็บอกว่าชอบ เขาจะไม่ขี้เกรงใจเหมือนคนไทย คนไทยมักจะพูดอ้อม ๆ เช่น “สิ่งนี้ก็ดี แต่…” ซึ่งการพูดอ้อม ๆ สำหรับผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องดี ถึงแม้ว่าจะเป็นการรักษาน้ำใจแต่หลายครั้งมันค่อนข้างเสียเวลา พอรักษาน้ำใจไปแล้วกว่าเขาจะรู้ตัวว่าเรารับไม่ได้กับสิ่งนี้ใช้เวลานานมาก

ดังนั้น การที่ฝรั่งพูดตรง ๆ เป็นเรื่องค่อนข้างดีและชัดเจน แม้บางครั้งทำให้เราเสียความรู้สึก เสียใจ แต่ว่าพอเรารับได้แล้วรีบปรับตัว เราก็จะรู้ว่าคำชมที่เขาชมนั้น เขาชมจริง ๆ ไม่ได้แกล้งยอ ความชัดเจนจึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างดี 

4.คนอเมริกันไม่เก่งแกรมม่า

ถึงแม้ว่าเขาเป็นเจ้าของภาษาก็ตาม เรามักคิดว่าถ้าคนอเมริกันพูดหรือเขียนอะไรมา เขาต้องเป็นคนถูกเสมอนั้นไม่ใช่เรื่องจริง โดยเฉพาะแกรมม่าที่มีความสลับซับซ้อนเขาจะไม่เก่งเลย

ความจริงแล้วคล้ายคนไทยที่เราพูด หลายคำ หลายประโยคก็เป็นภาษาพูด และไม่มีในพจนานุกรม คำที่พูดอาจจะไม่ได้ถูกรูปประโยคนัก ซึ่งเหมือนกับคนอเมริกันเขาพูดมาตลอดทั้งชีวิต แต่แกรมม่าเขาไม่ได้ถูกต้องซะทั้งหมด

ดังนั้น อย่าไปคิดว่าถ้าคนอเมริกันบอกว่าถูกจะเชื่อได้ 100% ผมเคยรู้จักพี่คนหนึ่งเธอเก่งภาษาอังกฤษมากแล้วไปทะเลาะกับฝรั่งเรื่องแกรมม่า สุดท้ายเปิดหนังสือดู ไปหาอาจารย์จนเป็นเรื่องใหญ่โต ผลคือพี่ผู้หญิงคนไทยชนะ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผมอยากจะบอกว่าไม่ใช่คนอเมริกันทุกคนที่เก่งภาษาอังกฤษ การสะกดคำบางครั้งเขาก็ผิด เหมือนกับเราคนไทยก็สะกดภาษาไทยผิดเหมือนกัน แต่ไม่ได้แปลว่าเขาแย่ แค่เป็นการบอกว่าเราใช้อยู่ทุกวันบางครั้งก็ละเลยในสิ่งนี้

5. คนอเมริกันชวนคุยและเป็นเพื่อนกับคนได้ทุกคน

ฝรั่งเป็นคนที่ชวนคุยและเป็นเพื่อนกับคนได้ทุกคน ก่อนอื่นถ้าเขาไม่เหยียดและไม่มีการแบ่งชนชั้น ถ้าเขาไม่มีความคิดแบบนี้เลย เขาสามารถชวนคุยได้กับทุกคน

บางครั้งผมขึ้นเครื่องบินไปได้นั่งข้าง ๆ คนฝรั่ง เขาจะชวนคุยเป็นอย่างไรบ้าง ชื่ออะไร มาจากที่ไหน กำลังจะไปไหน ทำอะไรอยู่ บางไฟลท์ผมบิน 3-5 ชั่วโมง เจอชวนคุยตลอดไฟลท์ หากเรามีพลังงานมากพอที่จะคุยกับเขาก็จะมีความสุขที่ไม่เหงา แต่หากเราเหนื่อยล้าแล้วเจอชวนคุยคุณสามารถปฏิเสธเขาได้เช่นกันว่าอยากจะพักผ่อน เขาน่าจะเข้าใจ

คนอเมริกันชอบชวนคุย ผมคิดว่าคนยุโรปก็เป็น อาจจะมีเรื่องเพศที่ผู้หญิงอาจไม่ชอบชวนผู้ชายคุยสักเท่าไหร่นัก เราสามารถที่จะเป็นเพื่อนกับคนอเมริกันได้ตลอดเวลา มีเรื่องอะไรเขาก็จะชวนคุย

เคยมีประสบการณ์ขับรถข้ามรัฐไปไกลมาก ตอนนั้นอยู่รัฐแอริโซนา ขับไปเที่ยวลอสแอนเจลิส ซึ่งต้องขับรถไปไกลสัก 6-8 ชั่วโมง ระยะทางค่อนข้างไกล ถนนที่อเมริกาค่อนข้างน่าเบื่อ เลนกว้างมาก ถนนตรง ๆ ไม่ค่อยคดเคี้ยวแบบบ้านเรา มีการจำกัดความเร็วทำให้ความเร็วคงที่ สิ่งหนึ่งที่ผมเจอคือมีคนขับรถด้วยความเร็วพอ ๆ กับเรา แซงกันไปมาจนเป็นเพื่อนกัน เส้นทางนี้ไม่มีใครไปไหนนอกจากลอสแอนเจลิส จึงทำให้ไม่ง่วง บางทีก็แวะพักที่ปั้มเดียวกัน ขับออกไปด้วยกัน เมื่อถึงลอสแอนเจลิส ก็บีบแตร กระพริบไฟให้โบกมือบ๊ายบายกัน

อย่างไรก็ตามคนอเมริกัน ถึงแม้จะรู้จักกัน แต่ก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์ระยะยาว เจอกันแค่นี้ จบกันตรงนั้นแล้วก็ลาจากกันไป

ภาพประกอบบทความจาก ErikaWittlieb, Pixabay

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

บทความที่คุณอาจสนใจ

Related Articles

Content นั้นสำคัญ แต่การนำเสนอนั้นสำคัญกว่า

“แมกาซีนจะตายหมดหรือเปล่า”  “ถ้าถามกลับ เขาซื้อแมกาซีนเพราะอะไร เพราะกระดาษหรือเปล่า” เมื่อมนุษย์มีความต้องการข่าวสารที่เฉพาะสำหรับตนเองแล้ว รายการวิทยุจึงกลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของสื่อ Digital แต่รายการวิทยุหรือสื่อสมัยเก่านั้นจะเปลี่ยนตนเองได้อย่างไร ที่ผ่านมา สำนักพิมพ์ไทยรัฐ…

Creative Wisdom | Podcast

ความลับของแป้นเครื่องคิดเลข โทรศัพท์และเครื่องพิมพ์ดีด

หากคุณลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าแป้นเครื่องคิดเลขมันเรียงย้อนหลังกัน แถวบนสุดไล่ลงมาจะเขียน 7 8 9  4 5 6…

Design You Don't See | Podcast

รีวิวสกีที่ญี่ปุ่น และบทเรียนจากการทำงานแบบคนญี่ปุ่น

หลานคนอาจเคยเห็นภาพเพื่อน ๆ ไปเล่นสกี ขึ้นภูเขา เจอหิมะหนา ๆ ก็ต้องบอกว่ามันหนาวมาก ก่อนหน้านี้ผมเคยอยู่ที่อมเริกา ในเมืองที่มีหิมะตก เช่น…

Morning Call | Podcast
felis sed dolor. vel, ipsum Praesent vulputate, sem,