Trending News

Subscribe Now

“เราทุกคนเป็นคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง” ล้วงลึกความคิดมนุษย์ อะไรคือสาเหตุ

“เราทุกคนเป็นคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง” ล้วงลึกความคิดมนุษย์ อะไรคือสาเหตุ

Morning Call | Podcast

คุณว่าคุณเป็นคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งไหม? 

เคยไหมบางครั้งงานมี deadline ค่อนข้างกว้าง แต่สุดท้ายเราไม่รีบทำ เรากลับมาทำอาทิตย์สุดท้าย ทำให้ต้องมารีบทำงานแบบล่ก ๆ ไม่เรียบร้อย ?

แล้วทำไมเราถึงชอบผัดวันประกันพรุ่ง ?

มีงานวิจัยที่สรุปมาแล้วว่า เราทุกคนเป็นคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง และคลิป Ted Talk อันหนึ่งงที่พูดโดย Tim urban เป็น Blogger เขียนเว็บที่ชื่อว่า Wait But Why หัวข้อที่เขาพูดก็คือ Inside the mind of the master procrastinator หรือว่า ‘ภายในความคิดของคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง’ 

เขากล่าวอย่างเปรียบเปรยว่า ในสมองของมนุษย์แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ regional decision maker หรือ ส่วนที่ทำโดยตัดสินใจโดยใช้เหตุและผล ถ้าเปรียบเทียบคือเหมือนอาจารย์ฝ่ายปกครอง ถ้ามีการบ้าน 10 คุณต้องรีบทำ ทำวันละหน้า ผ่านไป 10 วัน คุณจะทำเสร็จทั้ง 10 หน้าอย่างเรียบร้อย 

อีกส่วนหนึ่งคือ instant gratification monkey หรือ ส่วนที่ตัดสินใจทำแบบปัจจุบันทันด่วน เขาบอกว่าส่วนนี้เปรียบเหมือนลิง ซึ่งเจ้าลิงตัวนี้มักจะมาชวนเราให้ไปทำนู้นทำนี่อยู่เรื่อย 

ดังนั้น 2 ส่วนในสมองนี้จะขัดแย้งและต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราก็มักจะทำตาม ‘เจ้าลิง’ อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน  และหลงลืมส่วนเหตุและผลไป

แต่ว่ามันก็ยังไม่ได้มีแค่ 2 ตัวนี้เท่านั้น เพราะเมื่อเรามัวแต่เพลิดเพลิน จน deadline เริ่มใกล้เข้ามา เมื่อนั้นเราจะเกิดอาการ panic จะมีอีกสิ่งหนึ่งที่โพล่ขึ้นมา คือ panic monster ปีศาจแห่งความกระวนกระวายใจ ที่จะมาทำให้เจ้าลิงตกใจวิ่งหนีไป เหลือแค่ตัวเหตุและผลที่ทำให้เราทำงานไปแบบล่ก ๆ โดยมี panic monster คอยเร่งอยู่ข้างๆ

ซึ่งมนุษย์ทุกคนมักจะทำงานแบบนี้กันหมดเลย ถ้าเราไม่มีวินัย ไม่มีการตั้งเวลา เราก็จะเป็นแบบนี้ นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบทำอะไรที่อยู่ตรงหน้า และไม่ได้คิดถึงอนาคตนัก 

หลังจากที่ทิมเขียนเรื่องนี้ลงในบล็อกของเขา ก็มีหลายคนที่ติดต่อเขามาว่า พวกเขามีปัญหามากเลยที่พวกเขาเป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง มันส่งผลเสียต่อชีวิตพวกเขา และมันทำให้พวกเขาเครียดมาก ๆ 

ทำไมพวกเขาถึงเครียดขนาดนั้น ?

บางครั้งการผัดวันประกันพรุ่ง ก็เหมือนเรากำลังทำร้ายตัวเองอยู่ เพราะ panic monster ที่โพล่มากระตุ้นให้เราทำงาน มักจะมาในช่วงใกล้ deadline แต่ถ้างานนั้นไม่มี deadline เจ้า panic monster ก็จะไม่โผล่มา เราก็จะละเลยงานนั้นไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเราจึงชะล่าใจในงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเอง 

ทำให้แทนที่เราจะทำให้ชีวิตของตนเองประสบความสำเร็จ เรากลับกลายเป็นผู้ชมที่กำลังชมชีวิตของตัวเองที่กำลังผ่านเลยไปวัน ๆ อย่างไร้ค่า และไม่ประสบความสำเร็จใด ๆ เลย

ดังนั้นการผัดวันประกันพรุ่งจึงร้ายแรงมากๆ ไม่ใช่แค่มันทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จแต่ มันทำให้เราไม่แม้แต่จะเริ่มทำอะไรเลย

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

เรียบเรียงโดย ภัทราวดี ศรีชัย
นักศึกษาเอกฟิล์มที่มักจะมองทุกเรื่องในชีวิตให้เป็นเรื่องตลก

Related Articles

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาที่เราดู sitcom ไม่ว่าจะของไทยหรือต่างประเทศ พอถึงจุดที่มันต้องตลกมักจะมีเสียงหัวเราะนำเสมอ? sitcom ในอเมริกาจะเป็นคนหัวเราะที่ฟังดูเหมือนอัดมา แต่ในไทยจะมีผู้ชมอยู่ในห้องส่งด้วยทำให้เสียงฟังดูมีชีวิตชีวา ไม่เฟค เมื่อคุณเริ่มชินกับเสียงหัวเราะใน…

Design You Don't See | Podcast

เรามีปัญหาที่ต้องแก้มากเกินไปหรือเปล่า? 3 วิธีลดปัญหาเพื่อโฟกัสการแก้ไขปัญหา

“ปัญหา” สิ่งที่เราต้องเจอกันทุกวัน บางคนชอบแก้ปัญหา บางคนชอบดอง บางครั้งคนอื่นนำปัญหามาปรึกษาหรือให้เราช่วยแก้ ในทางกลับกันเมื่อเรามองคนอื่น อาจมองว่าคนอื่นมีปัญหาที่เยอะกว่าเรามากและสามารถแก้ไขได้ ส่วนตัวเรามีไม่กี่อย่างและเริ่มคิดว่าควรแก้ปัญหาให้ได้มากกว่านี้หรือเปล่า สำหรับคนที่มีปัญหาเยอะ มีเรื่องให้ต้องแก้ไขมาก…

Morning Call | Podcast

เปิดอาณาจักรต้นกำเนิดช็อกโกแลต มีที่มาที่ไปอย่างไร

ครั้งนี้เราก็ยังอยู่กับเรื่องของช็อกโกแลตกันอีกแล้ว จากตอนเดิมที่แล้วที่มาไขข้อสงสัยกันว่า ทำไมช็อกโกแลตถึงต้องทำเป็นแบบแท่ง และต้องละลายในปาก คราวนี้จะมาพูดถึงขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลตกันว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมเราถึงชอบกินมัน ไปจนถึงทำไมสุนัขบางตัวขนมชนิดนี้แล้วเสียชีวิต มาติดตามไปด้วยกัน จุดกำเนิดของช็อกโกแลตมาจากต้นโกโก้ ต้นไม้หน้าตาค่อนข้างประหลาดที่คนชอบกินช็อกโกแลตหลายคนอาจจะยังไม่เคยเห็นของจริง…

Creative/Design | Design You Don't See | Podcast
libero felis Praesent in elit. leo ut diam