Trending News

Subscribe Now

ทำไมเราต้องใช้หลอดดูดน้ำ? หลอดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ทำไมเราต้องใช้หลอดดูดน้ำ? หลอดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

Design You Don't See | Podcast

หลอด เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้น แล้วเรามีความสงสัยว่ามันเกิดขึ้นมาทำไม ทำไมเราต้องใช้หลอด การกินน้ำมันยากขนาดนั้นเลยเหรอ?  ทำไมเราไม่ยกแก้วขึ้นมากิน ? แล้วหลอดมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

คุณลองนึกภาพดูว่าคุณคิดค้นหลอดขึ้นมาได้ แล้วคุณอยากจะขายมันไปทั่วโลก คุณก็ต้องเดินไปเสนอนายทุน ว่าสิ่งนี้มันแก้ปัญหาอะไร เพื่อที่เราจะได้ไม่ยกแก้วให้เมื่อย ? จะได้ดูดน้ำกินเลย เอ๊ะ?! แล้วการยกแก้วดื่มนี่มันเป็นปัญหาจริง ๆ เหรอ

ช่วงหลัง ๆ มีคนรณรงค์ไม่ใช้หลอดพลาสติกกันอย่างกว้างขวาง รู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้คนเราใช้หลอดประมาณ 500 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีการประเมินว่ามนุษย์คนหนึ่งใช้ 1.6 หลอดต่อวัน ก่อให้เกิดขยะพลาสติก ทำให้ในหลายประเทศเริ่มหันมาใช้หลอดกระดาษ แล้วหลอดมีต้นกำเนิดมาจากอะไร ?

หลอดเกิดขึ้นประมาณ 150 ปี มาแล้ว ในปี 1880 ผู้ชายคนหนึ่งชื่อ มาร์วิน เชสเตอร์สโตน เขากำลังเครื่องดื่มอยู่ที่วอชิงตัน ดีซี ระหว่างที่เขากำลัง”ดูด”น้ำอยู่นั้น เขาก็รู้สึกถึงเศษอะไรบางอย่างในปากของเขา เขาจึงคายออกมาและพบว่าสิ่งนั้นคือ เศษหลอดของเขานั้นเอง

นั่นแปลว่า หลอดนั้นมีมานานแล้ว โดยหลอดที่มาวินใช้ทำมาจากต้นข้าวไรย์ ซึ่งปัญหาของข้าวไรย์คือ เวลาคุณหลอดดูดเครื่องดื่มอะไรก็ตามมันจะมีกลิ่นหญ้าติดมา และเมื่อใช้ไปสักพักหลอดจะสึกหรอทำให้เกิดเศษปนไปกับเครื่องดื่ม ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้มาร์วินคิดค้น ‘Modern Straw’ 

ตอนแรกมาวินใช้กระดาษมาม้วนแล้วใช้กาวติด ถึงแม้ว่ามันจะดีตรงที่ไม่มีกลิ่นหญ้าติดมาแล้ว แต่ปรากฎว่าปัญหาคือ กาวที่เขาใช้มันไม่ดีต่อการดูดน้ำ และการที่เขาใช้กระดาษเพียว ๆ พอดูดไปสักพักกระดาษก็มีการเปื่อยยุ่ยได้

ต่อมามาร์วินยังใช้กระดาษเหมือนเดิมแต่ครั้งนี้เขาเคลือบด้วยขี้ผึ้ง มีคุณสมบัติทำให้กระดาษอยู่ตัวและไม่เปียกน้ำ และสามารถใช้ได้นานกว่ากระดาษที่ติดกาว  ซึ่งเขาได้จดสิทธิบัตร Modern Straw นี้ด้วย

แต่เมื่อเราลองคิดย้อนไปดี ๆ ถึงต้นกำเนิดของหลอด เราต้องย้อนกลับไป 5000 ปี ก่อนนานนี้ เนื่องจากมีการค้นพบตราประทับบนโลงศพของชาวสุเมเรียน โดยตราประทับเป็นรูปคนกำลังดูดน้ำจากไหผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นแท่งคล้าย ๆ หลอด ทำให้มีการเปิดโลงศพออกและพบว่ามีอุปกรณ์นี้จริงๆ เป็นหลอดที่ทำจากทองคำ นักโบราณคดีจึงเชื่อว่าชาวสุเมเรียนใช้หลอดตั้งแต่ยุคนั้น แล้วชาวสุเมเรียนใช้หลอดนี้เพื่ออะไร ? 

ตามประวัติศาสตร์บอกว่าชาวสุเมเรียนใช้หลอดในการดื่มเบียร์เพื่อเลี่ยงเศษตะกอนที่เกิดจากการหมักเบียร์ ถัดมาชาวอาร์เจนตินาก็ใช้หลอดเช่นเดียวกันแต่เป็นหลอดที่ทำจากเหล็ก

กลับมาที่หลอดในปัจจุบัน ถ้าคุณสังเกตดี ๆ จะพบว่าหลอดนั้นมีสองลักษณะ คือ หลอดทรงกลม และหลอดแบบที่มีหยักที่สามารถหักเพื่อโค้งงอได้

หลังจากที่มาร์วิน เชสเตอร์สโตน คิดค้น Modern Straw ได้ ต่อจากนั้น 50 ปี ในปี 1930 มีผู้ชายที่ชื่อว่า โจเซฟ บี เฟรดแมน ระหว่างที่เขานั่งชมน้ำพุอยู่ เขาก็เห็นลูกสาวเขากำลังพยายามดูดมิลค์เชคจากหลอดกระดาษอย่างทุลักทุเล เพราะเด็กหญิงจะต้องพยายามเอียงแก้วเข้ามาหาตัว ดังนั้นโจเซฟจึงคิดว่าทำไมเราไม่ทำหลอดที่สามารถโน้มเข้าหาตัวเด็กได้ล่ะ 

โจเซฟกลับไปที่ห้องทดหลอดของเขา เขาใช้น็อตที่มีเกลียวยัดเข้าไปในหลอดจนถึงจุดที่เขาคิดว่าเป็นจุดที่น่าจะงอได้ แล้วเขาก็ใช้ไหมขัดฟันพันเข้าไปรอบ ๆ ส่วนเกลียวของน็อต(ภายนอกหลอด)ทำให้เกิดเป็นรอยหยักที่หยอด และหลอดก็สามารถงอได้ในที่สุด 

9 ปี ให้หลัง โจเซฟจึงไปสร้างบริษัทของตนเอง ชื่อว่า Flex-Straw Company เป็นบริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อผลิตหลอดโดยเฉพาะ แล้วหลอดก็ถูกผลิตและขายอย่างเป็นทางการ 1 ปี หลังจากนั้น คือปี 1940

ทั้งนี้หลอดที่ผลิตขึ้นมานั้นไม่ได้ถูกขายสำหรับคนทั่วไป แต่ถูกใช้ในโรงพยาบาลเนื่องจากถ้าคนไข้ใช้หลอดที่งอได้ คนไข้ก็จะได้ไม่ต้องโยกตัว เอือมตัว หรือลุกขึ้นเพื่อดูดน้ำจากหลอด หลังจากนั้นหลอดถึงจะถูกสร้างจากพลาสติกและเป็นของสิ้นเปลืองมาจนถึงทุกวันนี้

ภาพจาก Meghan Rodgers on Unsplash

ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, PodBean

เรียบเรียงโดย ภัทราวดี ศรีชัย นักศึกษาเอกฟิล์มที่มักจะมองทุกเรื่องในชีวิตให้เป็นเรื่องตลก

Related Articles

ทะเลาะให้เป็นแล้วจะรู้ใจกันมากขึ้น

การเผชิญหน้ากับปัญหา ย่อมดีกว่าการหนีปัญหาหรือการซุกปัญหาเอาไว้ก่อน ซึ่งผลตามมาภายดูจะหนีไม่พ้น 2 ประเด็นคือ ปัญหานั้นอาจจะบานปลายใหญ่โตไปถึงคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง หรืออาจจะไปกระทบกับ “ความชื่อใจ ความไว้วางใจ” ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของการทำงานและความสัมพันธ์อื่นที่นอกเหนือจากเรื่องงานไปด้วย…

Podcast | The Organice

Expectation Management ตอน 1 จัดการกับการคาดหวัง บทเรียนจากคนทำร้านอาหาร สม่ำเสมอหรือดีขึ้น?

มีคนบอกว่า มนุษย์จะมีความสุข เมื่อได้ตามสิ่งที่คาดหวัง และจะมีความทุกข์ หรือโมโห เมื่อไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ Reality Expectation = Happiness…

Entrepreneur | Morning Call | Podcast

เขียน Headline อย่างไรให้ได้ใจคนอ่าน – ตอนที่ 2/3 ของเทคนิคเขียน Contents ให้น่าสนใจ

ในบทความที่แล้วเราพูดถึง เทคนิคเขียน Contents ให้น่าสนใจ – ทำไมความคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ซึ่งเน้นไปที่จุดเริ่มต้นของการเขียนด้วยวิธีคิด ในบทความนี้จึงเข้าสู่เรื่องของการเขียน Headline หรือหัวข้อ…

Morning Call | Podcast
sit libero Curabitur elementum dictum massa