Trending News

Subscribe Now

“Planty Cube” ระบบสวนแนวตั้งอัจฉริยะ ไอเดียจาก LEGO

“Planty Cube” ระบบสวนแนวตั้งอัจฉริยะ ไอเดียจาก LEGO

Article | Technology

หนึ่งในปัญหาที่คนยุคปัจจุบันพบเจอและยังมีผลต่อเนื่องไปยังคนรุ่นหลังต่อๆ ไป นั่นคือ ปัญหาของทรัพยากรโลกที่มีอย่างจำกัดและลดลงทุกที อันเนื่องมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ถูกใช้ไปกับคนรุ่นก่อน ๆ นำไปสู่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อย่างที่เคยถูกกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ เรื่อง Subscription Economy โมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ชีวิตของคนรุ่นใหม่

ซึ่งหลายฝ่ายเริ่มตระหนักถึงสัญญาณของวิกฤตินี้ จึงทำให้เกิดกระแสหนึ่งที่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวางในปี 2019 ที่ผ่านมา คือ Sustainbility หรือแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จนกลายเป็นวาระสากลที่หลายประเทศให้ความสำคัญอย่างมาก ทุกคนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลด ละ เลิก การใช้สินค้าที่ก่อให้เกิดขยะและทำลายสิ่งแวดล้อม จนเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่บูมที่สุดในปี 2019 และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเทรนด์ต่อไปในปี 2020 นี้อีกด้วย

เหมือนเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์กักตุนอาหารและสินค้า เพราะกลัวว่าจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ท้ายสุดแล้วสิ่งนี้ทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ยังคงเป็นเรื่องปัจจัย 4 อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย 

เพราะฉะนั้นเราเห็นว่าปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาเรื่องของการเกษตรการทำสวนแบบอัจฉริยะ หรือที่เรียกว่า Smart Farming คือการนำเทคโนโลยี เช่น การใช้ Big Data, ระบบ Automation และ Smart Logistic เข้าเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตฟาร์มในพื้นที่จริง เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดความเสี่ยงที่เกิดจากผลผลิตไม่ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Smart Farming ได้ในบทความ : ลบภาพจำ เกษตรกรรมแบบเดิม ๆ กับ 3 เทคโนโลยีการเกษตร (AgriTech))

ระบบสวนแนวตั้ง

แต่ปัญหาคือไม่ใช่ทุกคนที่จะสะดวกทำแบบนี้ได้ เพราะข้อจำกัดเรื่องพื้นที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงเกิดเป็นไอเดียหนึ่งขึ้นมา คือ “Planty Cube” การทำไฮโดรลิกฟาร์มในแนวตั้ง ด้วยดีไซน์กระถางแบบตัวต่อ LEGO เป็นไอเดียจาก N.Thing สตาร์ทอัพ AgriTech จากเกาหลีใต้ โดยเป็นผลงานที่ไปคว้ารางวัล Innovation Award จากงาน Consumer Electronics Show 2020 (CES2020) มาอีกด้วย 

ระบบสวนแนวตั้ง

ซึ่งจุดประกายไอเดียนี้เกิดจากบล็อกตัวต่อของ LEGO โดยนำมาออกแบบเป็นกระถางทรงลูกบาศก์สำหรับปลูกพืชแต่ละต้น ซึ่งมีขนาดความกว้าง x สูง x ลึก ที่ 2 นิ้ว และทำการปลูกเรียงกันแนวยาวบนชั้นซึ่งสามารถซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการเพาะปลูก 

ระบบสวนแนวตั้ง

โดยฟาร์มนี้จะทำการปลูกในพื้นที่ปิดที่ไม่ต้องใช้บริเวณกว้างมาก อย่างในโปรเจกต์นี้เขาใช้ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับจำลองสภาพแวดล้อมเพื่อปลูกขึ้นมา โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะกับการเพาะปลูกพืชชนิดนั้น ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ ความชื้น และแสง ซึ่งมีการใช้แสงจากหลอดไฟ LED ทดแทนการใช้แสงจากธรรมชาติ อีกทั้งตัวกระถางปลูกเองจะมีการติดตั้งระบบเซนเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมดของพืช เพื่อที่จะควบคุมการดูแลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ตโฟนในระยะไกล โดยที่เราไม่ต้องมาคอยดูแลเองตลอดเวลา ช่วยลดภาระด้านเวลาและต้นทุนต่าง ๆ ที่จะต้องจ่าย

ระบบสวนแนวตั้ง

ในยุคที่ทรัพยากรโลกเริ่มเสื่อมโทรมและมีให้ใช้อย่างจำกัดลงไปทุกที ๆ แนวคิดของการทำระบบฟาร์มแนวตั้งอัจฉริยะอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่แก้ปัญหาที่ท้าทายที่สุดอย่างหนึ่งที่เราเจอกันในทุกวันนี้จากการทำสวน ทำฟาร์มแบบดั้งเดิม ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ และอื่น ๆ ตามมา ด้วยการนำเทคโนโลยีแห่งภูมิปัญญาของคนยุคใหม่เข้าไปจัดการปัญหาและพัฒนาให้เหมาะกับความเป็นอยู่ในยุคปัจจุบันได้ดีกว่าเดิมนั่นเอง

เรื่อง : ดวงพร วิริยา
ภาพ : nthing.net/FARM

อ้างอิง : designboom.com/technology/the-planty-cube-vertical-farming-system-ces-01-14-2020/

Related Articles

ที่นี่บราซิล!! Corruption Detector แอปฯ ฉีกหน้ากากนักการเมือง

เมื่อเวรกรรมตามทันในรูปแบบของแอปพลิเคชัน!? บราซิล อยู่ในลำดับที่ 96 ของรายงานสำรวจปัญหาคอรัปชั่นทั่วโลกเช่นเดียวกับไทย ไม่นานมานี้จึงมีแอปพลิเคชันชื่อว่า “Corruption Detector” ผุดขึ้นมา เป็นการร่วมมือระหว่างเอเจนซี่…

Article | Technology

Creative Commons ลิขสิทธิ์ทางผลงาน ใช้แบบไหนถึงถูกต้อง

เรื่อง: ดวงพร วิริยา ผลงานทั้งหมดที่ถูกผลิตขึ้นมาล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงาน หรือที่เราเรียกว่า Copyright (สัญลักษณ์อักษรซีในวงกลม © ) ซึ่งเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถทำอะไรก็ได้กับงานตัวเอง…

1A4 | Article
nec elit. consequat. libero. quis ipsum velit, venenatis id elit.