Trending News

Subscribe Now

ดนตรีสำคัญแค่ไหนกับโฆษณา

ดนตรีสำคัญแค่ไหนกับโฆษณา

Article | Creative/Design

ดนตรีหรือเพลงประกอบยังสำคัญกับ Ad แค่ไหน?

นี่อาจเป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับคนทำ Ad ยุคนี้ ในโลกที่ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

จริงอยู่ที่ดนตรี หรือ Sound ประกอบนั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนนั้นอินไปกับสิ่งที่ดูอยู่ แต่บางช่วงเวลาเช่นเมื่อเดินทางขึ้นรถไฟฟ้ารถเมล์หรืออยู่ในที่สาธารณะแล้วเสพสื่อออนไลน์ไปด้วยก็อาจไม่ได้ฟังเสียงเลยด้วยซ้ำ

แล้วอย่างนี้ เราควรให้ความสำคัญกับดนตรีอยู่หรือไม่? Patrick Hartmann นักเขียนจาก African Journal of Business Management และนักวิจัยจาก University of the Basque Country.

เขาได้ลองทำสำรวจเกี่ยวกับ Ad และดนตรี โดยให้คนทั้งหมด 540 คนอายุตั้งแต่ 15 – 65 ปี ดูโฆษณา น้ำแร่ ตัวหนึ่ง ทั้งหมด 3 เวอร์ชัน โดยด้านภาพนั้นเหมือนกันทุกอย่างแต่สิ่งที่ต่างกันคือดนตรีที่ประกอบ

อันแรกคือ แบบไม่มีดนตรีประกอบเลย
แบบที่สองคือ แบบที่ใช้เพลงที่ทำดนตรีขึ้นมาใหม่เพื่อประกอบ
และอันสุดท้ายคือ แบบที่ใช้เพลงที่คนรู้จักอยู่แล้วนั่นคือเพลง What a Wonderful World ของ Louis Armstrong ประกอบ

จากผลสำรวจพบว่าสัดส่วนของโฆษณาที่คนจำได้ คือโฆษณาที่มีเพลงประกอบนั้นสูงกว่าอย่างมาก
โดยเวอร์ชันที่คนจำได้มากที่สุดคือที่มีเพลง What a Wonderful World ของ Louis Armstrong ประกอบ รองลงมาคือแบบที่ 2 ที่เป็นเพลงที่ทำขึ้นมาใหม่

เพลงฮิต Ad โดน

มาลองดูกันดีกว่าว่ามี Ad ไหนบ้างที่ประสบความสำเร็จจากการใช้เพลงฮิตหรือเพลงที่มีคนรู้จักมาประกอบ

McDonald’s กับเพลง “I’m Lovin’ It” ของ Justin Timberlake ประกอบการเปิดตัว สโลแกนใหม่ที่ชื่อเดียวกันกับเพลงนี้เลย ซึ่งก็ค่อนข้างได้ผลดีในแง่ของการจดจำของคนเลยทีเดียว

Ad ของ JR EXPRESS หรือรถไฟชินคันเซน ในช่วงคริสมาส ที่ถูกใจคนญี่ปุ่นในช่วงนั้นมาก โดยใช้เพลง Christmas Eve ของ Yamashita Tatsuro มาประกอบอย่างยาวนานเป็นเวลาถึง 6 ปี

อีกหนึ่ง Ad ที่มีคนพูดถึงเยอะมาก ชื่อว่า Man On The Moon ของ John Lewis ห้างสรรพสินค้าของอังกฤษ ที่ขึ้นชื่อเรื่อง Ad ช่วงคริสมาส ที่เลือกใช้เพลง “Half the World Away” ของวง Oasis ในเวอร์ชั่นของ Aurora ซึ่งลงตัวทั้งภาพและความหมายของเพลง

Ad ของ Sainsbury ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของอังกฤษเช่นกัน กับ Ad ที่ชื่อว่า “1914” อ้างอิงจากเรื่องจริงของคริสมาสในปี 1914 ที่เกิดมิตรภาพอย่างปาฏิหารย์ขึ้นท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน และพระเอกของ Ad นี้ก็คือเพลงประจำคริสต์มาสอย่าง Silent Night ซึ่งเวอร์ชั่นดั้งเดิมเป็นภาษาเยอรมันของ Franz Xaver Gruber (1818) และปีนี้เพลงนี้ก็จะมีอายุครบ 200 ปี พอดีเลย

มาถึง Ad ไทยกันบ้าง… ย้อนกลับไปช่วงปี 2546 Ad ค่ายโทรศัพท์ Orange ที่ใช้เพลง Wall In Your Heart ของ Shelby Lynne บวกกับเนื้อหาของ Ad ที่พูดถึงการปรับมุมคิดที่เล่าได้ดี จนทำให้ทั้ง Ad ทั้งเพลงได้รับคำชมที่ดีมากในตอนนั้น

และแน่นอนต้องพูดถึง Ad นี้ด้วยของ Shopee ที่นำเอาเพลงเด็กสุดฮิตอย่าง Baby Shark มาแปลงใหม่

ของเวียดนามก็มี

SCB ที่ปล่อยแคมเปญชื่อเดียวกับเพลงฮิตของ Room 39 “เป็นทุกอย่าง”

เพลงทำใหม่ติดหูร้องได้ทั้งประเทศ

ถึงคุณจะไม่สามารถจ้างคนมีชื่อเสียงมาทำเพลงให้หรือซื้อเพลงที่ดังอยู่แล้วมาประกอบ Ad ได้ ก็ยังมีตัวอย่างดี ๆ อย่างเช่น ad เพื่อรณรงค์เรื่องความปลอดภัยของ Metro Trains หรือการรถไฟของประเทศออสเตรเลีย ที่ให้ศิลปินที่ยังไม่ได้มีชื่อเสียงมาทำเพลงในชื่อเดียวกับแคมเปญนั่นคือ “Dumb Way To Die” ออกมาจนกลายเป็นเพลงที่โด่งดังไปทั่วโลก และส่งผลให้ตัวแคมเปญก็มีคนรู้จักไปด้วย

หรือ Ad ของไทยที่เราเห็นกันบ่อยก็นี่เลย “แลคตาซอย 5 บาท”
ที่ใช้เพลงเดิมมาตั้งแต่ปี 2005 มาจนถึงตอนนี้ เป็นเพลงโฆษณาระดับตำนานที่ใครก็ร้องได้

เวอร์ชัน BNK48

Ad ของ MK สุกี้กับ ท่อนฮิตติดปาก ที่ถ้ามีใครสักคนเริ่มคำว่า กินอะไร ขึ้นมา ก็จะมีคนต่อด้วย กินอะไร กินอะไร ไปกิน MK แล้วก็จบที่ได้ไปกิน MK จริง ๆ อยู่บ่อยครั้ง

Ad ของเวเฟอร์ปักกิ่ง ที่ต่อให้คุณจะชอบหรือไม่ชอบกินขนม ก็ร้องเพลงนี้ต่อกับเพื่อนได้อย่างสนิทปาก
เพียงแค่มีคนเริ่มร้องว่า “คึกคัก ๆ กับปักกิ่ง”

Ad ของ Dtac ที่ชื่อว่า Feel Good กับเพลงที่ขึ้นแค่ Intro มาก็รู้ได้ทันที

ปิดท้ายด้วย Ad ของ Sakeru Gummy จากญี่ปุ่นที่เปิดตัว Looong Sakeru Gummy เยลลี่แบบใหม่ที่ Ad นั่นถูกใจคนที่ได้ดูทั่วโลกส่วนนึงก็เพราะเพลง Long Long ที่เข้ากับ Ad แบบสุด ๆ

การใช้เพลงนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีมากในการทำให้ Ad น่าสนใจและเป็นที่จดจำ แต่ในยุคปัจจุบันก็อาจต้องคิดและวางแผนให้มากและถี่ถ้วนขึ้นด้วย เพราะถ้าคนดูไม่เปิดเสียงก็จะไม่ตอบโจทย์อีก สิ่งที่ช่วยได้คือการศึกษาพฤติกรรมในกลุ่มลูกค้าของคุณให้มากขึ้น และเลือกวิธีการทำ Ad ที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์คุณ.

Related Articles

เปลี่ยนชอล์กอันตราย ให้กลายเป็นสบู่แสนสะอาด

นักเรียนในประเทศอินเดียยังใช้ชอร์คกับกระดานดำในการเรียนอยู่ และพอถึงเวลาพักกลางวันเด็ก ๆ ก็จะล้างมือแบบผ่าน ๆ แล้วใช้มือในการกินข้าว นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่เด็ก ๆ ในประเทศอินเดียเสียชีวิต เพราะการล้างมือไม่สะอาดพอ เรียกว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง…

Article | Creative/Design

“UNDER” ร้านอาหารที่อยู่ใต้น้ำ

“UNDER” คือชื่อร้านอาหารที่กำลังก่อสร้างอยู่ในประเทศนอร์เวย์ ด้วยชื่อของมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นร้านอาหารที่อยู่ใต้น้ำ แต่โดยคอนเซ็ปที่ต้องการให้เป็นเหมือนสิ่งก่อสร้างที่เหมือนร่วงลงไปอยู่ใน น้ำครึ่งนึง ทำให้ร้านอาหารนี้ดูสะดุดตาไม่น้อย   ชื่อ UNDER นอกจากจะหมายความว่าอยู่ใต้น้ำแล้ว ในภาษานอร์เวย์ชื่อนี้ยังสามารถแปลว่า “Wonder” ได้ด้วย ร้านอาหารนี้อยู่ในระหว่างก่อสร้าง เสร็จเมื่อไหร่…

Article | Creative/Design
Aenean Praesent ante. elit. risus. at leo mattis dictum ut ipsum leo.