Trending News

Subscribe Now

Netflix ในมุมที่คุณอาจยังไม่รู้จัก

Netflix ในมุมที่คุณอาจยังไม่รู้จัก

Morning Call | Podcast

Netflix เป็นบริการดูภาพยนตร์ออนไลน์แบบสตรีมมิ่ง เลือกดูผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ Netflix ลักษณะของบริษัทนี้คล้ายการเช่าหนังแบบเหมาจ่าย โดยมีเรทที่ไม่แพง ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 280 บาท/เดือน ขยับขึ้นมาอีกนิดเป็น 350 บาท/เดือน สามารถดูได้ 2 จอพร้อมกันแบบ HD ส่วนแบบ Premium 420 บาท/เดือน สามารถดูได้ 4 จอพร้อมกัน โดยเราสามารถแบ่งให้คนอื่น ๆ ดูได้ด้วย ปกติเราดูในเวลาไม่ซ้ำกันอยู่แล้ว อาจมีบางช่วงที่ซ้ำกัน เช่น 2 ทุ่ม-4 ทุ่ม หรือวันหยุด แต่ส่วนมาก 4 คนดูไม่ค่อยพร้อมกันและมีบัญชีดูแยก

Netflix เริ่มต้นธุรกิจในปี 1997 โดยคอนเซปต์คือ ร้านดีวีดีให้เช่า ในช่วงนั้นมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Blockbuster เป็นเจ้าตลาดในอเมริกา คอนเซปต์ของ Blockbuster คือเช่าวิดีโอของร้าน เมื่อถึงระยะเวลาก็นำไปคืน โดย Netflix พบปัญหาจากการเช่าหนังแผ่น คือ การลืมเอาไปคืนและทำให้เสียค่าปรับเยอะ บางครั้งเยอะกว่าการซื้อหนังหนึ่งเรื่องอีก

Netflix เลยคิดวิธีให้คนเช่าได้ โดยไม่โดนค่าปรับ คือ เช่าแบบเหมาจ่ายรายเดือนและเช่ากี่แผ่นก็ได้ โมเดลนี้ทำให้บริษัทค่อนข้างประสบความสำเร็จ และเอาชนะเจ้าใหญ่อย่าง Blockbuster ได้ แม้ในภายหลัง Blockbuster จะพยายามทำบ้าง แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะหรือตามได้ทัน

สิ่งที่น่าสนใจคือ Netflix เป็น Case Study ในการยกตัวอย่างคอนเซปต์ของคำว่า Startup ที่เห็นภาพชัดเจน เพราะคอนเซปต์ของ Startup ต้องสามารถเติบโตได้แบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจแบบ SME ทำไม่ได้ เช่น ถ้าเราเป็นธุรกิจร้านตัดผมและอยากขยายสาขา จากเดิมมีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ และขยายไปทั่วประเทศไทย อย่างน้อยสิ่งที่ต้องทำคือการเปิดสาขาในทุก 77 จังหวัด ซึ่งกว่าจะเปิดได้ครบทุกจังหวัด หาช่างทำผมประจำร้าน กว่าจะครบและพร้อมทุกอย่าง ธุรกิจแบบ SME อาจต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 5 ปี ต่างจากธุรกิจแบบ Stratup ที่ต้องเติบโตได้แบบก้าวกระโดดภายใน 1 ปี หรือในกรณีของ Netflix เขาสามารถทำได้ภายในชั่วข้ามคืน ไม่ใช่แค่จากหนึ่งจังหวัดไป 77 จังหวัด แต่จากในอเมริกาขยายไปทั่วโลก

Netflix ทำได้ยังไง?

ตอนนั้น Netflix ดังอยู่แล้วในอเมริกา วันหนึ่งอยากขยายฐานสมาชิกในเอเชีย สิ่งที่เขาทำคือประกาศในงาน CES (The Consumer Electronics Show) ซึ่งจัดในลาสเวกัสทุกปี ว่าจากวันนี้เขาจะขยายฐานไปที่เอเชีย และคนในเอเชียสามารถเข้าเว็บไซต์ Netflix และจ่ายเงินในสกุลเงินของประเทศตัวเองได้ หลังจากการประกาศก็เป็นข่าวใหญ่ในเอเชีย แน่นอนว่าตอนนั้นก็มีคู่แข่งมากมาย เช่น iflix

สิ่งที่น่าสนใจคือ Netflix มีบริษัทอยู่ในแคลิฟอร์เนีย แต่สามารถขยายออกไปทั่วโลก และมีมูลค่าบริษัท (Valuation) ในปัจจุบันอยู่ที่ 6 หมื่นล้านเหรียญ มีพนักงาน 3,700 คน ทั่วโลก และที่สำคัญคือ มีจำนวนสมาชิก (Subscribers) เติบโตกว่า 130 ล้านคน ขยายไปทั้งหมด 130 ประเทศทั่วโลก โดย Fast Company จัดให้ Netflix เป็น Top 50 The Most Innovative Company หรือบริษัทที่มีนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม

นอกจากนั้น VP Product innovation ที่ชื่อ Chris Jaffe ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น The Most Creative People in Business ซึ่งสิ่งที่ทำให้ Netflix ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายนั้นก็คือ ใน Netflix มีหนังให้ดูเยอะ แต่ไม่ใช่เฉพาะหนังฮอลลีวูด แต่ยังมีทีวีโชว์, ซีรีส์, คอนเสิร์ต, สารคดี และล่าสุดมี Talk show ที่นำโดย David Ledderman คอมเมเดี้ยนที่โด่งดังมาจัดรายการใน Netflix อีกด้วย 

ในช่วงแรก Netflix อยู่ในลักษณะของการซื้อลิขสิทธิ์หนัง ซีรี่ส์หรือรายการต่าง ๆ มาฉาย แต่เขามองว่าโมเดลนี้อาจไม่เวิร์กในระยะยาว เพราะมันเป็นการยืมจมูกคอื่นหายใจ ไม่มีคอนเทนต์เป็นของตัวเอง ต้องซื้อลิขสิทธิ์มาขาย พึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา ถ้าวันหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์อยากเพิ่มราคา หรือไม่ให้เช่าแล้ว Netflix ก็จะจบอย่างง่ายได้ จึงเป็นที่มาของการสร้าง Content เป็นของตัวเอง หรือ Netflix Original โดยเรื่องแรกคือ Orange is the New Black เรื่องของคนคุกหญิง หรือเรื่อง House of Cards แสดงนำโดย Kevin Spacey

โมเดลนี้หลาย ๆ ค่ายเริ่มทำตาม เช่น HBO ก็ทำ Games Of Throne ซึ่งการที่ Netflix มีรายการเยอะ เขามองว่าเขาเองไม่ได้อยากมีโมเดลที่ทำหนังขึ้นมาเพื่อจับกลุ่มแมส ทำแล้วทุกคนต้องอยากดู ชอบ หรือสนใจ แต่เป็นการจับกลุ่ม Niche หลาย ๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน

netflix
ภาพจาก Pixabay

นอกจาก Netflix จะมีการตลาดแบบแปลก ๆ ในแง่ของการคิดคอนเทนต์ อีกสิ่งที่พัฒนาคือการคือ Interface หรือ Design หน้าจอที่ง่ายต่ออุปกรณ์แบบต่าง ๆ ช่วงประมาณปี 2016 มีการปรับปรุง Interface จากภาพโปสเตอร์หนังธรรมดา ให้กลายเป็น Poster ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว มีตัวอย่างหนังที่เมื่อเอาเมาส์ไปวางจะสามารถดูตัวอย่างหนังได้เลย เหตุผลเพราะเขาต้องการให้คนไม่ต้องกดกดดูและรอโหลดก่อน ถึงจะรู้ว่าสนุกหรือเปล่า การที่คนแค่เอาเมาส์ไป scroll แล้วเดาได้เลยว่าหนังนี้น่าจะเป็นหนังแนวที่ชอบ ก็ช่วยเพิ่มยอด ทำให้คนสนใจและดู Netflix ได้มากขึ้น

เคยมีคนสัมภาษณ์ว่าคู่แข่งของ Netflix คืออะไร คำตอบคือ การนอน เพราะการนอนจะทำให้ไม่ได้ดู Netflix ดังนั้นเขาอยากทำการตลาดยังไงก็ได้ ให้คนดูไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องนอน ซึ่งการปรับ Interface เป็นการทำให้คนสนใจดูไปเรื่อย ๆ แบบ Continue 

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ การใช้ Big Data ใน Netflix โดยมีการจับข้อมูลว่าคนชอบดูหนังประเภทไหน คนอายุเท่านี้ โปรไฟล์แบบนี้ ชอบดูหนังอะไร เช่น คนที่ชอบดูหนังแอ๊กชั่น ครั้งต่อ ๆ ไป Netflix ก็จะแนะนำหนังแนวนี้ให้ดู กล่าวคือมีการนำ Big Data มา Customize Interface ให้เราเห็นสิ่งที่เราอยากเห็น เหมือน Facebook ที่จะดึงข่าว เนื้อหา หรือเพื่อนที่เราสนใจขึ้นมาแสดงให้เราดู 

เมื่อก่อนเราทำการตลาด หรือ Customize ด้วยการเดา ดูลักษณะทางประชากรโดยคร่าว ๆ ของคน เช่น เด็กวัยรุ่นน่าจะชอบดูหนังแอ๊กชั่น ส่วนผู้ใหญ่น่าจะชอบดราม่าโรแมนติกมากกว่า แต่จากการที่เขาทำวิจัยมา ข้อมูลกลับเป็นคนตรงกันข้าม วัยรุ่นชอบดูหนังโรแมนติก และผู้ใหญ่หลาย ๆ คนชอบดูหนังแอ๊กชั่น ดังนั้นความเชื่อหรือการคาดเดาลักษณะทางประชากรแบบเดิม ๆ  ได้ไม่ผลแล้ว

นอกจากนี้ Netflix ยังมีความสามารถในการย่อขนาดไฟล์ (Encoding) ได้เก่งมาก เพราะ Neflix พบว่าคนไม่ดูหนังผ่านทีวีแล้ว แต่ดูผ่านมือถือ เขาเลยใช้การบีบขนาดไฟล์ให้เล็กมากพอสำหรับคนใช้มือถือดู เพราะคนใช้มือถือมีปัญหาคือเน็ตไม่แรงพอ หรือถ้าจะมีเน็ตมากพอก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม จึงใช้การ encoding เข้ามาแก้ปัญหา เรียกได้ว่าแม้แต่ Apple Movie ของ Apple ก็ยังมีการกระตุกอยู่ แม้ว่าจะปรับให้มีคุณภาพต่ำแล้วก็ตาม

ดังนั้นในตอนนี้ Netflix มีทั้งกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจ การซื้อลิขสิทธิ์และสร้างคอนเทนต์ รวมถึงปรับ Interface ดึงดูดคน และย่อขนาดไฟล์เพื่อทำให้คนเสพได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ในก้าวต่อไปของ Netflix มีความท้าทายว่าในปีหน้า Disney จะเข้าสู่การทำ streaming service ที่เข้ามาสู้กับ Netflix นั่นเอง ประเด็นคือ Disney เป็นเจ้าของคอนเทนต์มากมาย ทั้ง Marvel, Stra Wars, Thor และอื่น ๆ แน่นอนว่าถ้าเข้ามาทำ streaming services หนังเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ใน Disney หมดเลย แต่จะขายลิขสิทธิ์ให้ Netflix หรือไม่ หรือจะปล่อยในราคาที่แพงขึ้น อันนี้เป็นหน้าที่ของ Netflix ที่ต้องคิดต่อไปว่ายังต้องพึ่งพาคอนเทนต์จาก Disney หรือเปล่า หรือต้องสร้างคอนเทนต์ที่สนุก มันส์ มีคุณภาพเทียบเท่าหรือมากกว่า Disney ซึ่งปัจจุบันถ้าคนที่ติดตาม Netflix Original จะพบว่าหนังที่ออกมามีคุณภาพสูสี Disney  เลยทีเดียว

มีคนจับสังเกตว่าละครของ Netflix ที่โด่งดังเรื่อง Stranger Things มีการทำเกมมือถือออกมาด้วย คนเริ่มสงสัยว่า Netflix กำลังเข้าสู่วงการเกมหรือไม่ อยู่ในรูปแบบของสมัครรายเดือนแล้วเล่น Unlimit หรือเปล่า แต่ Netflix บอกว่ายังไม่มีแพลนนั้น ซึ่งยังต้องดูกันต่อไป ล่าสุด Interface ก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้ใช้ในไทย หน้าตาเหมือน YouTube ซึ่งมองว่านี้เป็นการแย่งคนจาก YouTube

อีกข่าวหนึ่งซึ่งเป็นอนาคตของ Netflix คือ CEO ของ Netflix (อายุ 58 ปีแล้ว) เขาบอกว่า เขามีแพลนที่คนอยากจับเขาไปทำหนังสือ เพราะหนังสือของเขาน่าจะมี Case study ที่น่าสนใจและสนุก เพราะมีการเติบโต เปลี่ยนแปลงบ่อย รวมถึงมี Creativity สูงมาก ถ้าออกมาคาดว่าน่าจะเป็น Best Seller ปัจจุบันยังไม่วางขาย แต่มีการเซ็นสัญญาแล้ว

ภาพประกอบบทความจาก mohamed Hassan, Pixabay

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟังแบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD และ Spotify

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

ทำไมไฟจราจรต้องใช้แค่ 3 สี แดง เหลือง เขียว

เชื่อว่าทุกๆ คนต้องเคยผ่านสี่แยกไฟแดง ไม่ว่าจะผ่านโดยการเดินขับรถ หรือนั่งขนส่งสาธารณะ แต่คุณเคยสังเกตไฟจราจรที่สี่แยกไหมว่าทำไมถึงต้องเป็นไฟแดง เหลือง เขียว ทำไมถึงมีแค่สามสีนี้ทั่วทุกที่ในโลก ทำไมจึงไม่เป็นสีม่วง ชมพู…

Creative/Design | Design You Don't See | Podcast

อย่ารับนัด ถ้าไม่มี 5 ข้อนี้

การประชุมเป็นสิ่งหนึ่งที่คนหลายคนต้องพบเจอ ไม่ว่าจะประชุมในออฟฟิศหรือข้างนอก แม้ว่าแต่ละครั้งอาจจะใช้เวลาเพียงไม่นาน แต่หากไม่ได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ก็ทำให้เสียเวลาได้เช่นกัน ไม่เพียงแต่เวลาของเราคนเดียว ยังรวมไปถึงเวลาของทุกคนที่เข้าร่วมประชุมอีกด้วย ดังนั้น ในการประชุมแต่ละครั้งคุณควรจะต้องรู้ 5…

Podcast | The Organice

วิธีแปลก ๆ เพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ แบบเหล่าเทพ

เชื่อหรือไม่ว่า สตีฟ จ๊อปส์ เอาเท้าจุ่มน้ำในชักโครกเวลาที่คิดงานไม่ออก.. ดังนั้น ลองเอาเท้าแช่ในโถชักโครกแบบสตีฟ จ๊อปส์ อาจจะทำให้ใครหลายคนที่คิดงาน ไม่ออก ได้พบวิธีใหม่แบบที่เหล่าเทพเค้าทำกัน......
Creative/Design | Morning Call | Podcast
ut et, dolor. elit. quis mattis ut massa vel, risus justo