Trending News

Subscribe Now

เถียงอย่างไรให้ชนะ

เถียงอย่างไรให้ชนะ

Morning Call | Podcast

เคยเถียงใครแล้วไม่ชนะไหม? หรือเถียงแล้วอึดอัด ทั้ง ๆ ที่เรามีเหตุผลและสิ่งที่เราพูดก็ไม่ได้ไม่ดี บางครั้งก็เป็นเพราะคน ๆ นั้นมีตำแหน่งที่ใหญ่กว่า มีอายุที่มากกว่า หรือเสียงที่ดังกว่า 

วันนี้เรามีเทคนิคเถียงอย่างไรให้ชนะจากบทความ How To Win Argument Every Time ซึ่งทำการรวบรวมและสรุปเทคนิคทั้งหมด 10 ข้อ ที่จะช่วยให้การเถียงในครั้งต่อ ๆ ไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เถียงอย่างไรให้เขาเชื่อเรา เถียงอย่างไรให้เขาซื้อไอเดียเรา !

10 หมัดเด็ด เถียงอย่างไรให้ชนะ

1. ฟังและถามเขาว่าทำไมคิดหรือเชื่อแบบนั้น

เช่น เขาคิดว่าการทำงานแบบวิธี Y นี้ดีกว่า ให้ลองถามเขาว่าทำไมคิดแบบนั้น แน่นอนว่าทุกคนที่เชื่อในไอเดียของตัวเอง ต้องสามารถอธิบายได้ว่าเพราะอะไร ในขณะเดียวกันถ้าเขาให้คำตอบเรื่องนี้ไม่ได้ เราก็ชนะตั้งแต่ข้อแรกแล้ว

2. มองตาคู่สนทนาระหว่างที่กำลังฟัง

การมองตาคู่สนทนาเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่ช่วยลดความแรงในการโน้มน้าวของอีกฝ่าย ถ้าเขาโดนเราจ้องตามาก ๆ เขาจะเสียความมั่นใจในระดับหนึ่ง

3. ทวนสิ่งที่เขาพูดมา

การพูดซ้ำจะทำให้อีกฝ่ายมองเห็นเรื่องของเขาในมุมของเรา และทำให้อีกฝ่ายคิดว่าเรามีแนวโน้มจะเห็นด้วย จากตัวอย่างเดิม พูดทวนซ้ำว่า “พี่คิดว่าการทำงานแบบวิธี Y ดีกว่าใช่ไหมครับ”

4. ใส่ไอเดียของเราลงไป

จากข้อ 3. เมื่อเราพูดทวนสิ่งที่เขาเชื่อแล้ว ให้เราอธิบายต่อในสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นอย่างไร เช่น “พี่คิดว่าการทำงานแบบวิธี Y ดีกว่าใช่ไหมครับ แต่ในมุมของผม ผมมองว่าการทำงานแบบวิธี X มีประสิทธิภาพมากกว่า”

5. ใช้ข้อมูลสนับสนุนความเชื่อ

ไอเดียต้องมีข้อมูลพร้อม เมื่อเราพูดในสิ่งที่เราเชื่อแล้ว ต้องอธิบายข้อมูลสนับสนุนที่คุณเชื่อต่อ โดยต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เช่น “ผมมองว่าการทำงานแบบวิธี X มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะมันมีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์มาแล้วว่า….”

6. เสริมด้วยคำยืนยัน (Testimonial)

ยกตัวอย่าง Success Case จากสิ่งที่คุณเสนอ เช่น “เพราะมันมีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์มาแล้วว่า…. Google กับ Amazon ก็ใช้วิธีการทำงานแบบนี้ด้วยนะพี่” เป็นการยกตัวอย่างคนหรือองค์กรที่ใช้ไอเดียแบบที่คุณเสนอแล้วประสบความสำเร็จ ให้ไอเดียมีน้ำหนักมากขึ้น

7. เถียงด้วยเสียงนุ่ม ๆ

เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบโต้ด้วยอารมณ์ อย่าเถียงด้วยเสียงที่ดังหรือรุนแรง เพราะจะทำให้ต่างคนต่างยิ่งเสียงดัง หรือหากอยากให้ดูซอฟต์ลง อาจลองพูดให้อ้อมอีกนิด

8. ทำลายความมั่นใจ ด้วยการถามถึงความมั่นใจ

ถามเขาว่ามั่นใจ 100% ไหมว่าสิ่งที่เขาเสนอมันจะดีหรือได้ผล อีกฝ่ายจะเริ่มไม่มั่นใจทันที สิ่งนี้จะช่วยสะกิดให้อีกฝ่ายฉุกคิดว่าสิ่งที่เขาเชื่อมันดีจริง ๆ ไหม

9. บอกข้อเสียของความเชื่อของเขา

บอกจุดด้อยหรือช่องว่างของสิ่งที่เขาคิดในมุมที่เรามองเห็น เช่น “ผมยังมองว่าการทำงานแบบวิธี Y ที่พี่เสนอมามีจุดที่ยังต้องปรับ เช่น ….”

10. จบด้วยการ Share Positive Ageement

เมื่อเขาเริ่มเห็นจุดอ่อนของข้อเสนอของตัวเอง เราต้องบอกว่าเราชอบส่วนไหนของเขา  ส่วนไหนที่ทั้งสองฝั่งเห็นตรงกัน บอกว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ที่ได้มาร่วมถกไอเดียกันและลองเสนอทางออกที่ลงตัว หรือทางออกที่สามารถมาเจอกันครึ่งทางระหว่างฝั่งของเขาและฝั่งของเราได้ เช่น “แต่ผมชอบในส่วนของ …… และผมว่าถ้าเอาของผมกับของพี่มารวมกัน เราน่าจะได้ทางออกที่ดีที่สุดครับ”

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

Work From Home: Take It Seriously ถึงเวลาแล้วที่ต้องจริงจัง?

ในวันที่เรามองเห็นแล้วว่า COVID-19 จะอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ มากกว่าแค่การทำความคุ้นเคยกับ Work from Home แต่เรากำลังเดินทางเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ บริษัทและพนักงานควรต้องคิดและเตรียมตัวเตรียมใจในเรื่องอะไรกันบ้าง ฟังคำตอบเรื่องนี้ได้ใน…

Podcast

ทะเลาะให้เป็นแล้วจะรู้ใจกันมากขึ้น

การเผชิญหน้ากับปัญหา ย่อมดีกว่าการหนีปัญหาหรือการซุกปัญหาเอาไว้ก่อน ซึ่งผลตามมาภายดูจะหนีไม่พ้น 2 ประเด็นคือ ปัญหานั้นอาจจะบานปลายใหญ่โตไปถึงคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง หรืออาจจะไปกระทบกับ “ความชื่อใจ ความไว้วางใจ” ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญของการทำงานและความสัมพันธ์อื่นที่นอกเหนือจากเรื่องงานไปด้วย…

Podcast | The Organice
commodo sem, accumsan pulvinar nec adipiscing