Trending News

Subscribe Now

การพัฒนาตัวเองด้วยวิธีของ PIXAR

การพัฒนาตัวเองด้วยวิธีของ PIXAR

Morning Call | Podcast

หากพูดถึงบริษัทที่มีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องคงต้องพูดถึง PIXAR บริษัทผลิตการ์ตูนชื่อดัง ทั้ง Toy Story, Monster, Inc., The Incredible, Finding Nemo, Cars และ Ratatouille เป็นต้น จนถึงปัจจุบันคาดว่าผลิตภาพยนตร์การ์ตูนออกมากว่า 20 เรื่อง และสิ่งที่อยากมาแชร์ในวันนี้คือแนวคิดในการทำงาน นั่นคือ ในทุก ๆ งานที่ PIXAR ทำ จะต้องมีความท้าทาย 1 อย่างที่เขายังไม่เคยทำมาก่อน วันนี้จะชวนมาดูว่าเขามีการพัฒนาอะไรบ้างในแต่ละเรื่องที่เขาทำ

PIXAR มีจุดเริ่มต้นในปี 1974 โดย Alexander Schure ผู้ก่อตั้ง New York Institute of Technology (NYIT) ได้ก่อตั้งกลุ่ม Computer Graphic Labs มีจุดประสงค์เพื่อทำหนัง การ์ตูน แอนิเมชัน และคอมพิวเตอร์กราฟฟิกอย่างที่อยากจะทำ

ในตอนนั้น Alexander ลงทุนไป 15 ล้านดอลลาร์ และรวบรวมคนได้ 6 คน เพื่อทำงานในส่วนนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกคนก็ย้ายออกไปที่ Lucasfilm ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่กว่า (หากคุณเริ่มรู้สึกคุ้น ๆ ชื่อนี้ เจ้าของ Lucus Film คือ George Lucas ผู้สร้าง Star Wars)

โดยทั้ง 6 คนย้ายไปเพื่อสร้างทีมทำคอมกราฟฟิกให้ Lucasfilm ทำให้เอฟเฟกต์ให้ทั้ง Star Wars และ Star Trek รวมถึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น The Graphic Group ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในสามของ Computer Division ของ Lucus Film

ประมาณปี 1983 George เกิดวิกฤตด้านการเงินส่วนตัว รวมถึงรายได้ของ Star Wars และการหย่ากับภรรยา ทำให้เขาตัดสินขาย The Graphic Group ซึ่งคนที่มาซื้อทีมนี้ออกไปนั่นก็คือ Steve Jobs ที่ ณ ตอนนั้นโดนไล่ออกจากบริษัทตัวเองพอดี และหันมาปั้นบริษัท Next ที่ทำ Operation System โดย George ขอให้ Jobs ซื้อส่วนนี้ไป และ Jobs ขอซื้อในราคาห้าล้านเหรีญยเท่านั้น George จึงตอบตกลง (แม้จะไม่โอเคกับข้อเสนอนี้) และ Jobs ยอมลงทุนอีก 5 ล้านเพื่อเพิ่มทุนให้ทีมและทุ่มเทให้กับ PIXAR

PIXAR นอกจากทำเอฟเฟกต์และกราฟฟิกแล้ว ยังทำซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่นับเป็น Tech ของ PIXAR ชื่อ Renderman โดย PIXAR จะใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ในการทำอนิเมชัน และซอฟต์แวร์จะถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ 

การทำอนิเมชันในอดีตไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่ ส่วนมากอยู่ในรูปของโฆษณาหรือเอฟเฟกต์เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ได้ทำให้ PIXAR สามารถอยู่รอดได้ จนถึงจุดที่ Jobs ลงเงินไปเรื่อย ๆ เกือบ 50 ล้าน แต่ดูเหมือนจะขุดไม่ค่อยขึ้น ในที่สุด PIXAR ตัดสินใจทำภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Toy Story ซึ่งเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องแรกที่ทำให้คนรู้จัก PIXAR ตอนนั้น Jobs เกือบยอมแพ้ แต่มีคนแนะนำว่า Toy Story ถ้าทำออกมาจะต้องเป็นฮิตและโด่งดังแน่ ๆ 

toy story
ภาพจาก Aline Dassel, Pixabay

ซึ่งก็กลายเป็นแบบนั้นจริง ๆ Toy Story ในตอนนั้นทำเงินทั่วโลก 373 ล้านเหรียญ ช่วยขุด PIXAR ให้กลับมามีชีวิตและสร้างสตูดิโอของตัวเองได้ ภายหลัง Disney ได้เข้ามาซื้อ และ Jobs ก็ขายหุ้นให้และกลายเป็นผู้ถือหุ้นที่เยอะสุดของ Disney

PIXAR มีเทคนิคในการพัฒนาตัวเองที่เรียกว่า PIXAR Brain Trust คือ การให้คนที่ไม่ได้อยู่ในโปรเจกต์เดียวกับเรา มาวิจารณ์งานของเราได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การทำภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้ชมเองอาจไม่รู้ เช่น…

Toy Story 

pixar

มีความท้าทายคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่า การทำการ์ตูนสามมิติสามารถทำเป็นหนังยาวได้ ทำให้คว้ารางวัลพิเศษจากออสการ์ในปี 1996

A Bug’s Life

pixar

ในตอนนั้นอนิเมชันมักเป็นโครงรูปคน แต่การทำ A Bug’s Life ต้องทำขา ปีก และตัวของแมลง ที่มีความยืดหยุ่น เด้ง และงอที่มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นความท้าทายในการทำการ์ตูนเรื่องนี้

Monster, Inc. 

pixar

มีการพัฒนาในเรื่องของขน (Hair) โดยเฉพาะของแซลลี่ที่มีขนนุ่มปุกปุย ถ้าเราสังเกตอนิเมชันในอดีตจะหลีกเลี่ยงการทำขนหรือผมเป็นเส้น ๆ แต่ทำเป็นก้อนหรือแท่งแทน เนื่องจากทำให้ดูพริ้วได้ยาก เวลาโดนลมพัดต้องดูพริ้วไหว โดนกอดขนจะต้องดูยวบ หรือเดินแล้วปลิวตามการเคลื่อนไหว การทำ Monster, Inc. จึงเป็นการพัฒนาเรื่องของขนนั่นเอง 

Finding Nemo

pixar

พัฒนาเรื่องของการเคลื่อนไหวใต้น้ำ โดย Finding Nemo เป็นเรื่องของของพ่อปลาตามหาลูกปลา เรื่องราวเกิดขึ้นอยู่ใต้น้ำทั้งหมด ดังนั้น PIXAR จึงศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของปลา เวลาปลาโดนคลื่นหรือกระแสน้ำมีการเคลื่อนไหว การปลิว หรือแสงที่สาดมาใต้น้ำมีการหักเหอย่างไร รวมถึงฟองอากาศที่ลอยขึ้นผิวน้ำมีการเคลื่อนไหวยังไง

ทีมงานที่ทำอนิเมชันให้ Finding Nemo มีภาคบังคับว่าต้องสอบ Diving License เพราะถ้ายังไม่เคยดำน้ำหรือใช้ชีวิตใต้น้ำ จะมาทำหนังที่เกี่ยวกับใต้น้ำให้เหมือนจริงได้อย่างไร แต่ละเรื่องจะใช้เทคนิคเดิม ๆ ไม่ได้ มันต้องมีความแปลกแหวกแนวมากขึ้น

Cars

pixar

ภาพยนตร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์พาวเวอร์หนึ่งพันเท่าของ Toy Story เพราะ Cars หนักในการเรนเดอร์ภาพ เช่น ตัวพระเอกที่เป็นรถที่มีเงามาก หรือเพื่อนพระเอกที่เป็นรถยกเก่า ๆ ที่มีสนิม มี texture รอยขีดข่วน การเรนเดอร์จึงหนักมาก ๆ

Ratatouille

pixar

อีกหนึ่งภาพยนตร์ที่พัฒนาเรื่องขนเช่นกัน แต่เป็นในแง่ของการ Manage Performance Computer ในการเรนเดอร์ขน เนื่องจากหนูตัวหนึ่งมีขนเป็นล้านเส้น ในฉาก ๆ หนึ่งมีหนูรวมกันเป็นร้อยเป็นพันตัว โดยประมาณแล้วมีขนเป็นร้อยหรือพันล้านเส้น นับเป็นความท้าทายทางด้านเทคโนโลยีอีกเรื่องหนึ่ง

Wall-E 

pixar

ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับเรื่อง Cars ในแง่ของ texture แต่อีกความท้าทายหนึ่งคือ หนังเรื่องนี้เป็นหนังใบ้ ดังนั้น PIXAR ที่ทำการ์ตูนเพื่อเด็ก จะต้องทำหนังใบ้ดูแล้วสามารถเข้าใจได้นั่นเอง

UP

pixar

ความท้าทายในเรื่องของบอลลูนหรือลูกโป่ง โดยลูกโป่งในโปสเตอร์ที่ดึงบ้านขึ้นไปในอากาศมีจำนวนทั้งหมดกว่า 20,622 ลูกเลยทีเดียว

Brave

pixar

เรื่องราวของเด็กผู้หญิงที่มีผมสีส้ม ฉากอยู่ในประเทศสกอตแลนด์ พูดถึงนางเอกผมสีส้มที่เบื่อกับความขี้บ่นและจู้จี้ของแม่ วันหนึ่งได้ไปเจอแม่มดและขอให้แม่มดช่วยทำให้แม่หายจู้จี้ ซึ่งแม่มดได้มอบยาให้กับเธอ เธอเอาไปใส่ในขนมของแม่ ยานั้นทำให้แม่กลายเป็นหมี ซึ่งเรื่องราวก็พีกไปอีกขั้นเมื่อพ่อของนางเอกเป็นคนล่าหมี โดยความท้าทายในเรื่องนี้มี 2 อย่าง คือ 

1. เส้นผมของนางเอก ปกติเจ้าหญิงผมจะยาวและเป็นลอนนิด ๆ แต่เรื่องนี้นางเอกผมหยิกแบบสปริง ความยากคือการที่จะทำให้ผมลักษณะนี้ยืดหยุ่นและเด้ง Brave จึงเป็นการพัฒนาด้านเส้นผม ทำยังไงให้เดินแล้วผมเด้ง 

2. เสื้อผ้า การทำเสื้อผ้าในอนิเมชันปกติแล้วคอนเซปต์คือ ต้องทำผ้าเป็นแผ่น วาดเป็นเสื้อผ้า จากนั้นนำมาหุ้มตัว และใส่ลวดลายตอนท้ายสุด แต่หนังเรื่อง Brave เสื้อผ้าหลายชิ้นไม่ได้ทำด้วยเทคนิคแบบนั้น แต่เรนเดอร์ “เส้นด้าย” แล้วทอออกมาเป็นเสื้อ

ทำไมต้องทำขนาดนั้น?

เพราะเสื้อผ้าถ้าทอจากเส้นด้ายจะยืดและหดตัวมากกว่าการทำกราฟฟิกเป็นแผ่น ๆ ลองกลับไปดูเสื้อผ้าของแม่มดในเรื่อง Brave ที่มีการใส่หลายชั้นมาก ซึ่งทุกชั้นถูกทอด้วยเส้นด้ายทุกชั้น ทุกตัว

PIXAR ตั้งความท้าทายใหม่เสมอเวลาทำหนังใหม่ เพื่อพัฒนาตัวเขาเอง ให้เติบโตไปเรื่อย ๆ แม้ว่าปัจจุบัน PIXAR จะโด่งดังแล้ว ใช่ว่าจะทำเหมือนเดิมและกินน้ำบ่อเดิม เราสามารถเรียนรู้การทำงานจาก PIXAR ได้ด้วยการตั้งเป้าหมายไว้ว่าทุกครั้งที่ทำงานหรือโปรเจกต์ใหม่ ๆ พยายามบอกกับตัวเองว่าขอให้มีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นด้วย

ภาพประกอบบทความจาก Marcus Walton / Shutterstock.com

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟังแบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาที่เราดู sitcom ไม่ว่าจะของไทยหรือต่างประเทศ พอถึงจุดที่มันต้องตลกมักจะมีเสียงหัวเราะนำเสมอ? sitcom ในอเมริกาจะเป็นคนหัวเราะที่ฟังดูเหมือนอัดมา แต่ในไทยจะมีผู้ชมอยู่ในห้องส่งด้วยทำให้เสียงฟังดูมีชีวิตชีวา ไม่เฟค เมื่อคุณเริ่มชินกับเสียงหัวเราะใน…

Design You Don't See | Podcast

Anti-library หนังสือที่ยังไม่อ่านมีค่ามากกว่าหนังสือที่อ่านแล้ว

เคยซื้อหนังสือมาแล้วไม่ได้อ่านไหม? เขาบอกว่าหนังสือที่ไม่ได้อ่านกลับมีคุณค่ามากกว่าหนังสือที่อ่านแล้วเสียอีก เพราะหนังสือที่อ่านแล้วจะทำให้เราเห็นว่า นี่คือสิ่งที่เรารู้แล้วจำนวนมาก ซึ่งจะไปเพิ่ม ego เราให้สูงขึ้น ขณะที่หนังสือที่เรายังไม่อ่าน ยิ่งมีมากเท่าไหร่จะทำให้เรารู้ว่า เรายังมีเรื่องที่ไม่รู้อีกมากมาย…

Morning Call | Podcast

วิธีแก้ไขโรคผัดวันประกันพรุ่งกัน

เมื่อตอนที่แล้วเราได้พูดถึงศาสตร์แห่งการผัดวันประกันพรุ่งไว้ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนแต่เป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง ชอบทำงานกระชั้นชิด พอผลลัพธ์ออกมาก็ไม่เรียบร้อย ทีนี้เราจะมาพูดถึงวิธีแก้ไขโรคผัดวันประกันพรุ่งกัน โดยบทความในวันนี้นำมาจากหนังสือของ  HBR : Guide to…

Morning Call | Podcast
venenatis, nunc ultricies id neque. mattis non justo tempus in pulvinar adipiscing