Trending News

Subscribe Now

กระเทาะจิตวิทยามนุษย์ผ่านพฤติกรรมในสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า

กระเทาะจิตวิทยามนุษย์ผ่านพฤติกรรมในสถานการณ์ ไวรัสโคโรน่า

Article | Creative/Design

ภาพการแย่งซื้อกระดาษชำระ ที่ญี่ปุ่นหรือประเทศฝั่งตะวันตก ตอนนี้คงแปลกตาสำหรับคนไทยแต่เมื่อหันกลับมามองบ้านเราเองแล้ว ผมว่าก็มีความไม่ต่างกัน แต่เป็นสินค้าจำพวกหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ที่ขาดแคลน และเมื่อสัปดาห์ก่อนนี้ หากเราไปตามห้าง หลายคนก็จะเริ่มเห็นการกักตุนอาหาร พฤติกรรมเหล่านี้ คือกระบวนการตอบสนองของมนุษย์ต่อสถานการณ์แพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า บทความนี้จะพาคุณทำความเข้าใจว่าทำไมมนุษย์แต่ละเชื้อชาติถึงมีอาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าแตกต่างกัน แต่ขณะเดียวกันเองก็มีจุดร่วมกันหลายอย่าง

จิตวิทยากับไวรัสโคโนน่า

ความอยากรู้และข่าวสารออกมามากเกินไป

การระบาดของ Corona Virus ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทันท่วงทีไปทั่วโลกนั้น ทำให้ผู้คนรับรู้ถึงความอันตรายต่างๆ ของไวรัสนี้ ทั้งการติดต่อกันอย่างง่ายดาย ผ่านละอองที่ออกมากับลมหายใจ หรือสัมผัสสารคัดหลั่ง ระยะฟักตัวที่กินเวลาเกือบเดือน กระทั่งความรุนแรงต่อโรคและผลพวงที่ไวรัสฝังตัวเองไว้ในปอดของผู้ป่วยซึ่งหลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่ตามมาคือ การเผยแพร่ข่าวสารที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารของรัฐบาลหรือออกมาจากผู้คนทั่วไป เมื่อเกิดการรับรู้ชุดข้อมูลข่าวสารเหล่านี้จึงกระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์รูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมา โดยผสมผสานกับรากความเชื่อในสังคมมนุษย์ที่ปลูกฝังกันมาอย่างนาน 

ความเชื่อของคนที่มีผลต่อจิตใจและกลายเป็น Bias  

Believe in Apocalypse :  ความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลกนี้ฝังรากหยั่งลึกในกลุ่มชาติตะวันตกอย่างช้านาน

จากบันทึกทางศาสนาคริสต์ศาสนาอย่างคัมภีร์ไบเบิล ผู้คนที่มีความเชื่อเหล่านี้จึงต้องเตรียมรับมือวันสิ้นโลกต่าง ๆ นี้ ทั้งการลี้ภัย การกักตุนอาหาร 

ความเชื่อวันสิ้นโลกหรือวันที่สังคมล่มสลายถูกหยิบยกไปเล่าผ่านภาพยนตร์ ซีรีย์ โดยเริ่มต้นจากเหตุการณ์โรคระบาด ซอมบี้หรือสงครามโลกครั้งที่ 3  สร้างการซึมซับความกลัว หากเราอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น โดยไม่เตรียมตัวเราจะไม่สามารถอยู่รอดได้ เมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดของ Corona Virus จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นความกลัว และตอบสนองความเชื่อนี้ผ่านพฤติกรรมกักตุนอาหารและสินค้าต่าง ๆ เพื่อสร้างความอุ่นใจ ปลอดภัยว่าตัวเองจะอยู่รอดได้ แต่ความเชื่อวันสิ้นโลกนี้ไม่ได้ทำงานเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยทางจิตวิทยาต่าง ๆ อื่นประกอบนั้นคือ 

จิตวิทยาของความกลัว 

จิตวิทยาของความกลัวเกิดขึ้น เมื่อผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารไม่เท่ากัน หรือได้รับข้อมูลอย่างจำกัด พร้อมกับการไม่สามารถจัดการอารมณ์และความรู้สึกได้ ดังนั้นเมื่อ ข้อมูลข่าวสารที่ออกมาโดยตลอด ซึ่งทำให้สังคมนั้นเห็นว่า ตัวไวรัสนั้นมีความร้ายกาจอย่างไร  แต่ข้อมูลของรัฐกลับไม่มีความชัดเจน หรือให้ข้อมูลที่ไม่เกิดความน่าเชื่อถือ เชื่อใจ ทำให้เกิดการกระตุ้นความกลัวจากข้อมูลเหล่านี้ และทำให้ต้องหาข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อให้หายกลัว แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้เสพข้อมูลต่าง ๆ เข้าไปไม่ว่าจะถูกหรือผิด ทำให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารที่
ผิด ๆ ที่ไปกระตุ้นความกลัวเพิ่มไปอีก 

Availability bias คือ เราจะให้น้ำหนักความสำคัญหรือปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามประสบการณ์หรือตามข้อมูลที่รับรู้มา ซึ่งแน่นอนว่าสถานการณ์ที่ข้อมูลข่าวสารออกมาจากทั้งสำนักข่าว คนทั่วไป ทำให้คนต้องเสพข้อมูลอย่างมากมาย และข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้บรรเทาให้คนหายตื่นตระหนก กลับกันยิ่งกระตุ้นความตื่นตระหนกขึ้นไปอีก เพราะเมื่อคนได้รับข่าวสารเยอะยิ่งรู้สึกว่า เรื่องไวรัสใกล้ตัวเข้ามาทุกที ทำให้เกิดการต้องเตรียมตัวขึ้นมา เพื่อรับความเสี่ยงเหล่านี้หรือทำให้ตัวเองอยู่รอดตามสัญชาตญาณของมนุษย์นั้นเอง ยิ่งสถานการณ์ดังกล่าวไม่สามารถคาดการณ์ได้เท่าใด ก็ยิ่งทำให้มนุษย์ตื่นตระหนกเพื่อเอาตัวรอดมากเท่านั้น เพราะด้วยมนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นเมื่อมีภัยคุกคามที่ไม่เข้าใจ ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ความกลัวจะครอบงำจิตใจผลักไปสู่การกระทำที่ไร้ซึ่งเหตุผลหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ เพื่อความอยู่รอดโดยทันที เช่น การกักตุนหน้ากาก น้ำยาทำความสะอาด 

จิตวิทยากับไวรัสโคโนน่า

ท้ายที่สุดแล้วจิตวิทยาและพฤติกรรมของคนนั้นจะกระตุ้นจนขยายความรู้สึกที่มีต่อไวรัสใหญ่เกินจริงและเริ่มใช้ความไร้เหตุผล ตอบสนอง อย่างเห็นเหตุการณ์ที่ชาวเอเชียถูกทำร้าย ร้านอาหารญี่ปุ่นในฝรั่งเศสถูกพ่นสีสเปรย์คำว่า ไวรัสโคโรน่าและพฤติกรรมที่ไร้เหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย 

นอกจาก Availibity Bias แล้ว เรายังมีพฤติกรรมทำตาม ๆ กัน อย่างที่เรียกว่า
“Band Wagon Effect” และการกลัวที่จะพลาดโอกาสอย่าง “FOMO” สิ่งหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นความกลัว ความไร้เหตุผลของมนุษย์ 

หลักการของ Band Wagon Effect คือ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องพึ่งพาสังคมในการอยู่รอด หากทำอะไรที่ผิดแปลกไปจากสังคมมีผลอย่างมาก เพราะอาจทำให้คนไม่สามารถอยู่รอดได้ 

ดังนั้นคนจึงเชื่อในสิ่งที่สังคมทำตามกัน หรือมองดูคนอื่นว่าทำอะไรแล้วจึงทำตาม เพื่อความอยู่รอดและเตรียมตัวสำหรับความอันตรายที่รออยู่ จากการที่มี Availability Bias อยู่แล้ว เมื่อมนุษย์ประสบกับเหตุการณ์ระบาดของไวรัส เราจึงเห็นภาพผู้คนกักตุนหน้ากากอนามัย การกว้านซื้อแอลกอฮอล์ นำไปสู่การเกิดความเชื่อต่อๆ กันว่า หากไม่ทำตามจะไม่สามารถอยู่รอดได้ และถ้าไม่รีบไปหาของพวกนี้เตรียมตัวไว้ เราอาจจะพลาดอะไรบางอย่างได้ 

สิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงอีกคือการที่มนุษย์มี Selective Attention ซึ่งคือความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือโฟกัสแต่สิ่งที่ตัวเองสนใจเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโคโรน่าไวรัส สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือสมองหรือกลไกทางจิตวิทยาจะเลือกรับสื่อตามความสนใจของตัวเอง ทำให้โฟกัสแต่สิ่งเหล่านั้น พลาดการรับรู้รายละเอียดรอบข้างอื่น ๆ ที่เข้ามา ทำให้มนุษย์ขาดข้อมูลประกอบอื่นที่จะช่วยจัดการความกลัวโคโรน่าไวรัส

อย่างตัวอย่างที่คนรู้จักกันดีคือ Gorilla Test เมื่อสมองมนุษย์โฟกัสเรื่องใด เรื่องหนึ่งแล้ว จะสูญเสียความสามารถในการรับรู้เรื่องอื่น ๆ ทันที ทำให้เราไม่สามารถรับรู้ข้อมูลที่ควรรู้ ที่มาทำให้ข้อมูลเรื่องโรคนี้มีความสมดุลขึ้นมา  เพราะเรามัวแต่โฟกัสเรื่องโรคระบาดความร้ายแรง จนไม่ได้หันมามองว่ามันมีเรื่องอื่น ๆ มากมายที่สามารถทำให้ใช้ชีวิตปลอดภัยได้ หรือใช้ชีวิตอย่างปกติได้ขึ้นมา

Sense of Control  ตามหลักขั้นความต้องการของ Maslow ความปลอดภัยเป็นปัจจัยพื้นฐานของความต้องการของมนุษย์ เมื่อมีสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ มีข้อมูลไม่มากพอ ประกอบกับรัฐไม่สามารถให้ความพึ่งพาได้ นำไปสู่ความรู้สึกว่าสถานการณ์ร้ายแรงต่อชีวิต  ฉะนั้นแล้วสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์คือ ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองปลอดภัย และสามารถควบคุมได้ 

ดังนั้นเมื่อโคโรน่าไวรัสเข้าโจมตี หนทางจัดการอันตรายของมนุษย์ และหนีจากความกลัวนี้โดยเตรียมตัวให้มากที่สุดในทุกๆ ด้านจนมากเกินไป เพื่อให้รู้สึกว่า ตัวเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือรู้สึกว่าตัวเองปลอดภัยแล้ว

สุดท้ายแล้วเราจะสามารถรับมือต่อการระบาดของ Corona Virus หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไร จากการศึกษาผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวที่ตุรกี พบว่า ผู้รอดชีวิตไม่อยากกลับไปอยู่บ้านกันเพราะกลัวแผ่นดินไหว และอาศัยที่แคมป์ผู้ลี้ภัยนานนับเดือน ทำให้มีอาการบอบช้ำทางจิตใจแต่เมื่อเทียบกับคนที่กลับไปอยู่บ้านแล้ว กลับสามารถฟื้นฟูจิตใจได้เร็วกว่าคนที่อาศัยที่แคมป์ลี้ภัย 

สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยเรียนรู้การศึกษานี้เพื่อช่วยในเรื่องการระบาดระดับโลกคือ 

จิตวิทยากับไวรัสโคโนน่า
  1. การที่ให้สังคมนั้นรับข้อมูลข่าวสารที่มีแต่พอดี เพราะยิ่งรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ยิ่งทำให้เกิดความตึงเครียดและความกลัวเกิดขึ้นมา 
  2. ทำความเข้าใจโรคให้ถ่องแท้ เข้าควบคุมจัดการในสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก่อน เพื่อใช้หลักการและเหตุผลได้
  3. จิตใจและสุขภาพตัวเอง หมั่นตรวจสุขภาพตัวเอง และอย่าพาตัวเองไปในที่เสี่ยงจนถึงถ้าป่วยแล้วก็อย่าเอาตัวเองไปเสี่ยงให้คนอื่นติด หรือถ้ามีความเสี่ยงที่จะทำให้คนอื่นติดก็ต้องป้องกันตัวเองจากคนอื่นขึ้นมา 

ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุด คือ ภาครัฐต้องให้ความเชื่อมั่นกับประชาชน โดยให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง โปร่งใสตรวจสอบได้ และจัดการอย่างเป็นระเบียบ ไปในทางทิศทางเดียวกัน ทำให้สังคมเกิดความเชื่อมั่นได้ ไม่ว่าเหตุการณ์โคโรน่าไวรัสหรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตก็จะสามารถผ่านไปได้ด้วยจิตวิทยาและพฤติกรรม ที่ผ่านการคัดกรองหลักของเหตุและผล

เรื่อง : Molek
ภาพ : Unsplash

Related Articles

Creative Commons ลิขสิทธิ์ทางผลงาน ใช้แบบไหนถึงถูกต้อง

เรื่อง: ดวงพร วิริยา ผลงานทั้งหมดที่ถูกผลิตขึ้นมาล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงาน หรือที่เราเรียกว่า Copyright (สัญลักษณ์อักษรซีในวงกลม © ) ซึ่งเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถทำอะไรก็ได้กับงานตัวเอง…

1A4 | Article

Jones Salad : เพจร้านสลัดที่ตั้งใจเล่าเรื่องสุขภาพที่มีสาระในแบบไร้สาระ

*บทสัมภาษณ์นี้สัมภาษณ์เมื่อปี 2018 โดยรายการ FounderCast คลิกฟังได้ที่นี่* ทำไมต้องชื่อ Jones Salad  จริงๆ มาจาก…

Article | Digital marketing

บทสัมภาษณ์เอ็กซ์คลูซีฟกับคุณ Johnny Ng จาก หนังสือพิมพ์ฮ่องกง South China Morning Post

ในวันงาน CTC2020 ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับหนึ่งใน speaker สำคัญที่บินตรงมาจากฮ่องกง คุณ Johnny Ng (จอนนี่ เอง)…

Article | Digital marketing
felis tristique Donec lectus Aenean suscipit quis velit, Aliquam mattis