Trending News

Subscribe Now

จิตวิทยาของสี อารมณ์ ความรู้สึก และทำไมไฟจราจรต้องเป็นสี แดง เหลือง เขียว

จิตวิทยาของสี อารมณ์ ความรู้สึก และทำไมไฟจราจรต้องเป็นสี แดง เหลือง เขียว

Creative/Design | Morning Call | Podcast

“สี” เป็นสิ่งที่เรามองเห็นทุกวันและมีผลต่อการตัดสินใจมาก ๆ สีบางสีโดดเด่น บางสีทำให้เรารู้สึกดี เบา บางสีทำให้เรากลัว เกรงขาม สีมีผลอย่างมากเพราะกว่า 84.7% ของมนุษย์เลือกซื้อของจากสี พูดง่าย ๆ ว่าบางที่ซื้อรถยนต์ที่สเปก รุ่น ยี่ห้อเหมือนเพื่อน แต่สีต่างกันเพราะรสนิยมที่แตกต่าง

นอกจากนี้กว่า 80% ของคน สามารถจดจำแบรนด์หรือยี่ห้อต่าง ๆ ได้จากสี เช่น Coke คือสีแดง Pepsi สีน้ำเงิน AIS สีเขียว DTAC สีฟ้า True สีแดง เป็นต้น หลาย ๆ เจ้าใช้สีในการแบ่ง Branding เช่น ในโฆษณาของ AIS มักเต็มไปด้วยสีเขียว ทั้งฉาก สีเสื้อผ้า

แต่มีสินค้าประเภทหนึ่งที่มนุษย์ไม่ได้เลือกซื้อเพราะสีที่ตัวเองชอบ นั่นคือ แปรงสีฟัน มีแค่ 3% เท่านั้น ที่เลือกซื้อแปรงสีฟันที่ตัวเองชอบ อีก 97% ซื้อสีอะไรก็ได้ที่มันไม่ซ้ำกับคนในบ้าน เพราะใช้สีเป็นตัวสื่อสาร

สีมีความสำคัญมาก ๆ เราเคยสังเกตไหมว่า ไฟเขียว เหลือง แดง ที่สี่แยก ทำไมต้องใช้สีตามนั้น ทำไมไม่ใช้สีอื่น เช่น ส้ม ชมพู ม่วง หรือขาว ทำไมแดงต้องหยุด เหลืองชะลอ เขียวคือไป สีเหล่านี้ที่ถูกกำหนดมั่วหรือเปล่า? 

ก่อนจะเฉลย อยากให้ลองคิดตามว่าสีไหนสำคัญที่สุด? ทุกครั้งที่ไปบรรยายก็จะพูดเรื่องไฟจราจรบ่อย คนส่วนมากบอกว่าสีที่สำคัญที่สุดคือสีแดง เพราะแปลว่าหยุด แต่ความจริงสีเหลืองคือสีที่สำคัญที่สุด

สีที่สำคัญน้อยสุดคือ สีเขียว เพราะตอนที่เราหยุดรถคือไฟสีแดง พอไปเปลี่ยนเป็นสีเขียว เราถึงออกตัว ซึ่งถ้าเราไม่ได้สังเกตเห็นหรือไม่สนใจ อยากมากรถเราก็จอดอยู่แบบนั้น ไม่ได้ร้ายแรงอะไร มากสุดคันข้างหลังก็จะบีบแตรไล่

แต่หากเราขับรถมาด้วยความเร็ว ถ้าไม่มีไฟเหลือง จู่ ๆ ก็เปลี่ยนเป็นไฟแดงเลย ก็จะเบรกไม่ทัน ฝ่าไฟแดง ชนกับรถที่สวนมา ดังนั้น สีแดงเลยดูเหมือนจะสำคัญ แต่จริงแล้วไม่ใช่

อีกทั้ง ตาของเราสามารถมองเห็นสีเหลืองได้ดีที่สุด ลองสังเกตเวลาเราขับรถตามต่างจังหวัด สีไฟที่ใช้จะเป็นสีเหลือง เพราะสีเหลืองจะช่วยขับสีอื่น ๆ ให้สะท้อนเข้าตาเรา เพราะตาเรารับสีเหลืองได้ดี

นอกจากนี้ ยังรวมถึงเวลาไปซูเปอร์มาเก็ต พวกเมนูอาหารก็จะใช้ไฟสีเหลือง รวมถึงร้านขายทองก็ใช้สีเหลือง แต่พอกลับมาถึงบ้านที่ใช้ไฟสีขาว ของที่ซื้อมาจะดูจืด

เคยมีบทความหนึ่งบอกว่า สีเหลืองทำให้เราเห็นชัดแค่ในระยะใกล้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตามต่างจังหวัดจะใช้ไฟสีเหลืองส่องเฉพาะสี่แยก ซึ่งจะทำให้เราเห็นชัด ขับสีขับภาพเข้าตาเรา

แต่พอเป็นระยะทางไกล ๆ จะใช้สีขาว เพราะสีขาวทำให้เราเห็นในระยะไกลได้ดีกว่าสีเหลือง ทางต่างจังหวัดทางตรงไกล ๆ จึงใช้ไฟสีขาวแทน 

ลองมาดูกันว่าแต่ละสีให้อารมณ์และความรู้สึกอะไรกับเราบ้าง

1. สีแดง

ให้ความรู้สึก ร้อนแรง ตื่นเต้น เร่งด่วน มีพลัง รวดเร็ว โดยแบรนด์ที่ใช้สีแดง เช่น ไทลินอล, Red bull, KFC ไปจนถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือแม้กระทั่งป้ายลดราคา ทำให้ดูโดดเด่น สะดุดตา น่าสนใจ

2. สีเหลือง

ให้ความรู้สึกสนุก การเล่น วัยรุ่น ครอบครัว สิ่งที่ต้องระวัง ป้ายระวังต่าง ๆ ป้ายห้ามเข้า หรือแบรนด์ที่ใช้สีเหลือง เช่น แมคโดนัลด์

3. สีเขียว

ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เงิน ความเจริญรุ่งเรือง ชัยชนะ

4. สีน้ำเงิน

เป็นสีที่ถูกใช้มากที่สุดในแง่ของ Branding และ Logo เช่น IBM, DTAC, ธนาคารกรุงเทพ สีน้ำเงินแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ ความสำเร็จ ความปลอดภัย น่าไว้วางใจ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นสีที่ถูกใช้เยอะที่สุด เพราะบริษัทต่าง ๆ อยากทำให้คนเชื่อถือ

5. สีน้ำตาล

เป็นสีที่ใช้กับความย้อนยุค เก่า ธรรมชาติ ออร์แกนิค โลก ดิน

6. สีส้ม

ให้ความรู้สึกสนุก ร่าเริง สดใส สดชื่น และยังเป็นสีที่ใช้สำหรับ Call to Action เช่น ปุ่ม Buy Now เพราะมีวิจัยว่าปุ่มสีส้ม คนจะอยากกดมากกว่าปุ่มสีอื่น ทั้งใน Amazon หรือ E-commerce อื่น ๆ ก็นิยมใช้

7. สีชมพู

มีความหมายถึง ผู้หญิง เด็ก ความน่ารัก เจ้าหญิง

8. สีม่วง

ให้ความรู้สึกลึกลับ น่าค้นหา

9. สีดำ

เมื่อก่อนสีดำดูแล้วเป็นกาลกิณี แบรนด์ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เจ้าของเป็นคนจีน จะรู้สึกว่าหากนำมาใช้ในงาน จะเป็นงานที่ไม่มงคล แต่ปัจจุบันสีดำถูกใช้มากในงานพรีเมียม เช่น บัตรต่าง ๆ ที่เป็นแบบ Privilege

ถึงตอนนี้เราก็ได้รู้แล้วว่าสีต่าง ๆ มีความหมายอย่างไร จะได้เลือกนำมาใช้กับการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

ติดตาม Creative Talk ได้อีกหลายช่องทาง

บทความอื่นที่อาจสนใจ

Related Articles

ตัวเลขแคลลอรี่ที่เขียนอยู่บนฉลากนั้น ไม่เป็นจริงตามที่เขียน?

จากบทความในนิตยสาร Science Illustrated ฉบับเดือนเมษายน ได้มีการพูดถึงเรื่อง “ฉลากอาหารโกหกเรา” ซึ่งในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างอาหารจำนวน 4 ชนิด ได้แก่…

Morning Call | Podcast

สวยสมจริง! ผลงานศิลปะ 3 มิติ จาก Lisa Lloyd

สวยสมจริง! ผลงานศิลปะ 3 มิติ จาก Lisa Lloyd ศิลปินสาวชาวอังกฤษ ที่ได้แรงบันดาลใจจากกระดาษรูปทรงเรขาคณิต แล้วนำมาครีเอทเป็นดอกไม้และสัตว์นานาชนิดได้อย่างสวยงาม…

Article | Creative/Design
dolor. libero tempus porta. felis ante. ultricies eleifend dictum consectetur nunc et,