Trending News

Subscribe Now

11 บทเรียนที่ได้จากการอ่าน “มูซาชิ”

11 บทเรียนที่ได้จากการอ่าน “มูซาชิ”

Morning Call | Podcast

“มูซาชิ” ชื่อของโรนินนักดาบในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ผ่านการต่อสู้ครั้งสำคัญๆมามากกว่า 60ครั้งและ “ไม่เคยแพ้ใคร”

ความสำคัญของมูซาชินอกจากการเป็น “ผู้ไร้พ่าย” แล้ว เค้ายังได้สละช่วงเวลา 2ปีสุดท้ายของชีวิตเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ที่มีให้กับคนรุ่นหลัง ด้วยการเขียน “คัมภีร์ 5 ห่วง” ซึ่งหลังจากที่มูซาชิเขียนจบ เค้าก็สิ้นใจภายใน 7 วัน นับว่าเป็นการเขียนคัมภีร์เพื่อส่งต่อจริง ๆ ไม่ใช่เพื่อชื่อเสียง ลาภยศ เงินทอง แต่อย่างใด จึงไม่แปลกที่ “คัมภีร์ 5 ห่วง” กลายเป็นหลักปฏิบัติสำคัญของคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย

แต่หนังสือ “มูซาชิ” ที่ออกจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ Openbooks นี้ เป็นมูซาชิที่พิมพ์ซ้ำ และดัดแปลงแก้ไขเล็กน้อยจาก “มูซาชิฉบับท่าพระจันทร์” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นต้นฉบับ เขียนโดย คุณสุวินัย ภรณวลัย

หรือกดฟังในเวอร์ชัน Podcast ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

เนื้อหาของหนังสือนั้นเป็นหนังสือนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่แปลมาจากนักเขียนชาวญี่ปุ่นอีกที จึงทำให้หนังสือเล่มหนาขนาด 700กว่าหน้านี้สามารถอ่านได้ง่าย สนุก และน่าติดตาม

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ แต่ตลอดการเดินทางของมูซาชิในท้องเรื่อง ก็ทำให้เราได้ข้อคิด และความรู้ไม่น้อย

ทั้งนี้ ได้ลองรวบรวมบทเรียนที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มหนานี้ออกมาได้ 11 บทเรียน ที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ดังนี้..

ชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น

หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นสมัยก่อน ยุคที่ยังต้องเดินเท้า ขี่ม้า ข้ามภูเขาเป็นลูก ๆ เห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่ต้องนัดพบกันให้มั่นให้เหมาะก่อนที่จะออกเดินทาง หรือแม้แต่การจะนัดพบกันอีกครั้งในอีกสองปีข้างหน้านั้น อาจจะจำเป็นต้องทำเลยก่อนเดินทาง เพราะการสื่อสารที่มีแค่จดหมายเท่านั้น

ทำให้รู้ว่าญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำเกษตร และจำนวนไม่น้อยที่อยากเป็นซามูไร ตรงกันข้ามพวกโจรขโมยกลับชุกชุมและเป็นอันตรายไม่เพียงแต่ผู้หญิงและเด็ก แต่ทั้งปล้น ฆ่า และ เผาทำลาย

เห็นความมุ่งมั่นของคน

มูซาชิเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในวิชาดาบมาก นั่นเป็นเพราะเค้าได้รู้ถึงเป้าหมายอันสูงสุดของเค้านั่นคือ การได้เป็นนักดาบฝีมือเลิศ แม้ว่าจะมีหลายสิ่งที่น่าสนใจมารบกวนทำให้ไขว้เขว แต่มูซาชิก็ยังคงต้องมุ่งมั่นอยู่กับเป้าหมายต่อไป

ดังนั้นถ้าคุณทำงานกับคนประเภทนี้ หรือมีแฟนเป็นคนประเภทนี้ การได้อ่านหนังสือเล่มนี้อาจจะทำให้คุณเข้าใจคนเช่นนี้ได้มากขึ้น

บู้ และ บุ๋น

มูซาชิบอกว่า การจะปกครองบ้านเมืองได้นั้น ไม่เพียงแต่จะต้องรู้วิชาดาบ หรือ บู้ แล้วนั้น ผู้ปกครองจำเป็นรู้มีวิชาความรู้ หรือบุ๋น ไม่น้อยไปกว่าการต่อสู้เลย ซึ่งเรื่องนี้สามารถนำมาใช้กับชีวิตในปัจจุบันได้ เมื่อคุณรู้จักวิธีการทำงาน รู้ว่าจะเป็น action กับเรื่องออะไรอย่างไรแล้ว ความรู้ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการลงมือทำ

ความเข้าใจในโลกและสังคม

สองสิ่งที่มูซาชิได้กล่าวไว้ และเป็นคำคมสอนใจคนอ่านได้เป็นอย่างดีนั่นคือ..

“การไล่ตามคนรุ่นก่อนให้ทันนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การไม่ให้คนรุ่นหลังก้าวข้ามเราไปนั้นเป็นเรื่องยาก”

ซึ่งเป็นเรื่องจริง ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน คนรุ่นใหม่จะต้องเก่งกว่าและตามทันคนรุ่นเก่าได้เสมอ หากคิดให้ดีจะเห็นว่า ถ้าคนรุ่นใหม่ตามคนรุ่นเก่าไม่ทัน โลกก็คงจะมีแต่การพัฒนาลง ๆ เป็นแน่

อีกคำพูดหนึ่งคือ

“คนเรานั้น หากอยู่เพื่อกินคนเดียวแล้วก็ตายไป มันจะต่างอะไรจากพวกนกพวกกา! แต่หากพวกท่านอยากมีชีวิตอยู่เพื่อความสุขสบายของลูกหลาน ก็ขอให้มาช่วยกันบุกเบิกพื้นที่รกร้างแห่งนี้ให้เป็นแผ่นดินทองร่วมกันกับข้า”

ในยุคที่คนเห็นแก่ตัวมีจำนวนมาก การทำประโยชน์เพื่อส่วนตัวนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เราเป็นสัตว์โลกที่หากินไปวัน ๆ และยอมต่อสู้กับพวกของตัวเองเพื่อแก่งแย่งผลประโยชน์ของตัวเอง แต่ถ้าอยากให้สังคมที่เราอยู่นั้นเติบโตไปได้ และดีต่อลูกหลาน เราทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจช่วยกัน

การสร้างความหวั่นไหวในจิตใจของคู่ต่อสู้

หนึ่งในเหตุผลที่มูซาชิสามารถรบชนะคู่ต่อสู้ได้นั้น ไม่ใช่เพียงเพราะฝีมือดาบอย่างเดียวเท่านั้น แต่หากเป็นสติปัญญาและไหวพริบในการสร้างความหวั่นไหวและรบกวนจิตใจของคู่ต่อสู้ให้เสียสมาธิ

เช่นครั้งหนึ่งที่มูซาชิตั้งใจเดินทางมาถึงลานประลองให้สายกว่าปกติ หรืออีกครั้งที่เค้าใช้ “ไม้พาย” เหลาแหลมแทนดาบ เป็นหนึ่งในสิ่งที่รบกวนสมาธิและจิตใจของคู่ต่อสู้เป็นอย่างมาก

ศัตรูนั้นไม่ถาวร

คนใดที่เคยเป็นศัตรูกับเรา วันหนึ่งเค้าอาจจะเป็นมิตรกับเราก็ได้

เพราะศัตรูนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เวลา และผู้คน เมื่อทุกสิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ศัตรูที่แปรพันไปตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

ศัตรูมักเป็นพวกเดียวกัน

คำนี้พอได้อ่านก็เชื่อเลย เพราะไม่ว่าจะบทความที่เคยอ่านว่า 90% ของระบบคอมพิวเตอร์ที่โดนแฮกนั้นมีต้นเหตุมาจากคนใน หรือคนที่มักจะหักหลังคือคนใกล้ตัวนั้น ทำให้บางครั้งเราไม่ต้องมองหาศัตรูจากที่ไหนไกลเลย

ใช้อาวุธทุกชนิดเพื่อการต่อสู้

มูซาชิใช้อาวุธที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นดาบ หอก หรือมีดสั้น แต่คำว่า “อาวุธทุกชนิด” นั้นหมายถึงร่างกาย มือ แขน ขา มันสมอง หรือสิ่งรอบตัวเช่น ไม้พาย

มนุษย์เราในปัจจุบันก็เช่นกัน การทำงานก็เหมือนการได้ออกรบ เครื่องมือที่ใช้อยู่ก็เปรียบเสมืออาวุธ ดังนั้นอย่ายึดติดกับอาวุธเดิม ๆ ที่เคยใช้แล้วถนัดมือ แต่การได้ฝึกอาวุธใหม่ ๆ เครื่องมือใหม่ ๆ นั้นจะเพิ่มโอกาสในชัยชนะครั้งต่อไปได้มากขึ้น

ความลำเอียงเข้าข้างตัวเองคืออุปสรรค์ในการพัฒนาตนเองและจิตใจ

“เมื่อใดก็ตามที่คุณคิดว่าคุณฉลาดแล้ว เมื่อนั้นคือจุดที่คุณกำลังโง่อย่างที่สุด”

ความเข้าใจว่าเราเก่งที่สุดแล้ว ยอดเยี่ยมแล้ว คืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา เพราะใจคุณจะคิดว่าไม่อยากพัฒนาแล้ว เราเก่งแล้วนั่นเอง

ขณะที่มูซาชิเก่งในวิชาดาบมากมาย แต่เค้าก็ยังต้องตกใจกับการควงกระบองของคู่ต่อสู้ และ การเผชิญกับลูกตุ้มเหล็กที่ไม่เคยเจอมาก่อน การยอมรับได้ว่าตัวเองนั้นยังไม่เก่ง ไม่ฉลาด คือโอกาสสำคัญแห่งการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

การฝึกฝนไม่มีที่สิ้นสุด

แม้แต่มูซาชิก็ยังไม่เคยหยุดเรียน เมื่อใดที่คุณหยุดเรียน เมื่อนั้นคุณจะหยุดพัฒนาตัวเอง เปรียบเสมือนการเดินทาง เมื่อคุณหยุดเดินแล้ว ไม่นานคนที่เดินตามหลังจะตามทันคุณได้เสมอ ไม่ช้าก็เร็ว แต่ถ้าคุณหมั่นฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เดินไปข้างหน้าตลอดเวลา จะทำให้พวกเค้าเดินตามคุณให้ทัน แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะทำให้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากได้

จงสู้ เมื่อรู้ว่าจะชนะ

คนโง่คือคนที่พร้อมจะสู้แม้ว่ารู้ว่าตัวเองกำลังจะแพ้ แต่ถ้าเราวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี รู้ตัวดีว่านัดนี้เราต้องชนะ เมื่อนั้นให้สู้อย่างเต็มที่ ลุยไปแบบไม่ยั้ง แล้วสงครามครั้งนี้ชัยชนะจะเป็นของเรา!!

สรุป!!

นี่คือหนังสือเล่มหนาที่ได้อ่านในรอบหลายปี แต่คิดว่าเป็นหนังสือที่คุ้มเวลาอ่าน ได้ความสนุกเพลิดเพลิน รวมถึงสาระและแง่คิดมุมมองใหม่ ๆ

มีคนถามผมว่า “Recommend หนังสือเล่มนี้มั้ย? อ่านแล้วได้อะไรบ้างมั้ย” ตรงนี้ผมก็ต้องบอกว่า หนังสือเล่มนี้เพียงแค่ต่างคนอ่าน ก็อาจจะได้เนื้อหาสำคัญที่แตกต่างกันด้วย

ดังนั้น ถ้ามีเวลา “มูซาชิ” เป็นหนังสืออีกหนึ่งเรื่องที่ควรจะลองหามานั่งอ่านดูครับ

Related Articles

เทคนิคกระจายงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับตำแหน่งผู้บริหาร มีเรื่องที่ทำประจำเรื่องหนึ่งคือ ‘การกระจายงาน’ หลายคนมีปัญหาว่ากระจายงานไปแล้ว ลืมว่ากระจายไปให้ใคร? จะทำยังไงให้ไม่ลืมบ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้วการลืมเป็นปัญหาที่ปลายเหตุเพราะคุณควรจะแก้ที่ต้นเหตุนั่นคือ ดังนั้น วันนี้เราจึงอยากนำเสนอ…

Podcast | The Organice

ย้อนดู Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค Part 2

บทความนี้ต่อจากเรื่อง Consumer Behavior Trend 2018 เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภค part ที่แล้ว ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต เช่น…

Creative Wisdom | Digital marketing | Podcast
Phasellus amet, dolor. vel, leo. ipsum