Trending News

Subscribe Now

Workcation : เมื่อเราทำงานไปพร้อมกับการพักผ่อน จากงานในฝันสู่ฝันร้ายที่เป็นจริงของคนทำงาน

Workcation : เมื่อเราทำงานไปพร้อมกับการพักผ่อน จากงานในฝันสู่ฝันร้ายที่เป็นจริงของคนทำงาน

Article | Creative/Design

“เอ.. วันนี้มีใครส่งเมลมาบ้างน้า”

โน้ตบุ๊กหนึ่งเครื่อง และกาแฟร้อนหนึ่งแก้วที่คุณกำลังนั่งจิบยามเช้า พร้อมกับเช็กอีเมลของวันนี้ ท่ามกลางบรรยากาศวิวของท้องฟ้าและคลื่นทะเล โอ้ มันช่างยอดเยี่ยมจริงๆ อิสระที่ได้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ได้ท่องเที่ยวด้วย พร้อมกับทำงานไปด้วย

Workcation เมื่อเราทำงานพร้อมกับการพักผ่อน

คำว่า Workcation ย่อมาจาก Work + Vacation อาจจะไม่ค่อยคุ้นหู แต่ถ้าบอกว่ามันคือรูปแบบการทำงานที่คล้ายก้บ Remote Working คือ เลือกที่จะทำงานจากที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ มีอิสระ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่กับในออฟฟิศที่แสนน่าเบื่อ เพราะหลายคนชอบให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพราะมันจะช่วยให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นไอเดีย และประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น เป็นลักษณะการทำงานที่หลายคนใฝ่ฝัน ถึงแม้ว่าเทรนด์การทำงานแบบนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ไม่ใช่กับทุกงานที่จะสามารถทำได้ เช่น ถ้าให้นึกภาพคนงานที่ทำงานโรงงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ จะเป็นจริงได้อย่างไร 

รูปแบบการทำงานนี้เหมาะกับใคร 

ถึงแม้จะเป็นรูปแบบการทำงานที่ใครหลายคนชื่นชอบ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่รักอิสระ ชอบท่องเที่ยว ยิ่งได้ท่องเที่ยวแล้วทำงานไปด้วย ช่างเป็นไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์ตัวเองมาก แต่ก็มักจะนำมาสู่คำถามเรื่องของ Work Life Balance ที่ทุกคนเรียกร้องถึงความสมดุลของชีวิต แล้วถ้าเกิดเรากลายเป็น Workcation จริง คิดว่าจะสามารถจัดการกับชีวิตตัวเองได้ดีแค่ไหน

แน่นอนถ้าคุณเป็นคนที่จัดการกับเวลาและชีวิตตัวเองได้ดีพอ การทำงานแบบ Workcation ได้สัมผัสบรรยากาศ สภาพแวดล้อมดีๆ จะยิ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจ เพิ่มไอเดียสดใหม่ให้กับการทำงานได้ดีเลยทีเดียว อีกทั้งยังประหยัดเวลาในแต่ละวันที่ต้องไปเผชิญกับรถติด มลพิษ ความวุ่นวายต่างๆ สภาพแวดล้อมที่ดีจะทำให้โฟกัสกับงานได้ดียิ่งขึ้น

กลับกันหากคุณไม่สามารถจัดการตัวเองได้ดีพอ การทำงานแบบ Workaction ก็นับเป็นฝันร้ายชัด ๆ สมมติว่าคุณเป็นมนุษย์บ้างาน การทำงานที่ออฟฟิศอาจจะช่วยให้คุณแบ่งช่วงเวลาทำงานกับพักผ่อนได้ชัดเจน ในขณะที่เมื่องานกับวันหยุดกลายเป็นสิ่งเดียวกัน อาจจะทำให้คุณเริ่มแยกไม่ออกว่า เวลาไหนควรทำ เวลาไหนควรพัก เพราะทุกๆ วันสำหรับคุณคือ การทำงาน ซึ่งผลจากการทำงานหักโหมอย่างหนักโดยที่คุณรู้สึกว่าตัวเองต้องทำงานตลอดเวลา ไม่สามารถมีวันพักผ่อนอย่างแท้จริงได้ นั่นก็คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัว คงเป็นเรื่องที่ตอบลำบากเหมือนกันหากคุณต้องหอบงานไปทำขณะที่พาครอบครัวไปเที่ยว แล้วต้องตอบคำถามของลูกว่านี่วันหยุดแต่ทำไมคุณถึงต้องทำงานตลอดเวลา โดยที่ไม่มีเวลาเล่นกับเขาเลย

ในทางตรงกันข้าม หากคุณรู้ตัวว่าตัวเองไร้วินัย ไม่สามารถจัดการควบคุมเวลาทำงานตัวเองได้มีประสิทธิภาพมากพอ ผลที่อาจจะตามมาก็คือ งานที่ทำเสร็จไม่ตรงเวลา ซึ่งผลเสียไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำงานของสมาชิกในทีมอีกด้วย

อยากจะเป็นคน Workcation ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ต้องจัดการให้ถูกต้อง

ไม่ใช่ว่าการทำงานแบบ Workcation นั้นจะไม่ดี ซึ่งนอกจากการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เราทำงานที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้แล้ว สำคัญที่สุดคือ การบริหารจัดการกับเวลาตัวเอง ว่าในการทำงานลักษณะนี้เราควรจะแบ่งเวลาสำหรับทำงานและช่วงพักให้ขาดออกจากกัน ลำดับความสำคัญของงานให้ชัด และมีกำหนดระยะเวลาสำหรับแต่ละงานว่าต้องเสร็จตอนไหน [สำหรับแนวทางในการบริหารเวลาลองอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ 5 เคล็ดลับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ  How to Find Time เมื่อไม่มีเวลา ก็ให้หาเวลา] เชื่อว่าถ้าเราสามารถบาลานซ์ทุกอย่างได้ดี ไม่ว่าจะ workcation, work from home หรือจากที่ใด ๆ ในมุมโลกก็จะเป็นการทำงาน (work) และการพักผ่อน (vacation) ที่ดีสำหรับเราได้ 

อ้างอิง : vanityfair.com/news/2015/06/workcations-new-office-trend

เรื่อง : ดวงพร วิริยา 
ภาพ : Unsplash

Related Articles

“Planty Cube” ระบบสวนแนวตั้งอัจฉริยะ ไอเดียจาก LEGO

หนึ่งในปัญหาที่คนยุคปัจจุบันพบเจอและยังมีผลต่อเนื่องไปยังคนรุ่นหลังต่อๆ ไป นั่นคือ ปัญหาของทรัพยากรโลกที่มีอย่างจำกัดและลดลงทุกที อันเนื่องมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ถูกใช้ไปกับคนรุ่นก่อน ๆ…

Article | Technology

สำรวจความเคลื่อนไหววงการออกแบบกับฉมา ในยุคที่สังคมก้าวสู่ยุคผู้สูงวัย

หลายปีมานี้ปรากฏการณ์ระดับโลกที่หลายประเทศต้องเจอ คือความท้าทายในการก้าวเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงวัย’ องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ในปี 2030 จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 1.4…

Article | Creative/Design
dictum felis id libero. sed quis et, leo