จากบทความในนิตยสาร Science Illustrated ฉบับเดือนเมษายน ได้มีการพูดถึงเรื่อง “ฉลากอาหารโกหกเรา” ซึ่งในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างอาหารจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ เนื้อดิบ เนื้อบด ถั่วและข้าว ที่ให้พลังงานแก่ร่างกายไม่ตรงกับฉลากที่ระบุไว้ เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานในการย่อยอาหาร
เนื้อดิบ
ร่างกายของมนุษย์มักจะได้พลังงานจากอาหารประเภทโปรตีนน้อยกว่าที่ระบุบนฉลากมาก เนื่องจากในการย่อยโปรตีน ฟันกราม กระเพาะและลำไส้ของต้องทำงานหนัก โดยใช้พลังงาน 30% จากอาหารที่กินเข้าไป นอกจากนี้โปรตีนยังประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ซับซ้อนจึงทำให้ย่อยยากกว่าคาโบไฮเดรตถึง 3 เท่า และยากกว่าไขมันถึง 10 เท่า ดังนั้น ถ้าหากบนฉลากระบุว่าให้พลังงาน 250 แคลอรี่ ร่างกายจะได้รับเพียง 210 แคลอรี่เท่านั้น
เนื้อบด
การเตรียมอาหารโดยนำไปผ่านกรรมวิธีหรือความร้อน จะช่วยดึงพลังงานจากอาหารได้มากขึ้นจากปริมาณเดียวกัน เนื่องจากความร้อนทำให้เอ็น เนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันกันแยกส่วนออกจากโปรตีน และทำให้อาหารย่อยได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจากพลังงานที่ระบุบนฉลาก 250 แคลอรี่ ร่างกายจะได้รับเพียง 225 หรือ 210 แคลอรี่ เนื่องจากเนื้อดิบใช้พลังงานในการย่อยมาก ถัดมาคือเนื้อสับละเอียด เนื้อปรุงสุก และเนื้อสับละเอียดปรุงสุก ตามลำดับ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าปริมาณอาหารที่เราได้รับมีส่วนช่วยพัฒนาสมองให้มีขนาดใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้เป็นโรคอ้วนได้เช่นกัน
ถั่ว
เป็นที่ทราบกันดีว่าถั่วเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ถ้าหากบนฉลากระบุพลังงาน 360 แคลอรี่ ร่างกายเราจะได้รับเพียง 245 แคลอรี่เท่านั้น เนื่องจากผนังเซลของถั่วเปลือกแข็งทนต่อการย่อย จึงทำให้น้ำย่อยในเอนไซม์และระบบย่อยไม่สามารถดึงสารอาหารที่อยู่ในเซลล์มาใช้ได้ ซึ่งการกินถั่วเปลือกแข็งนั้นให้พลังงานมากกว่าเค้ก แต่พลังงานส่วนใหญ่ของถั่วเปลือกแข็งนั้นมาจากไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งดีกว่าไขมันอิ่มตัวในเค้ก
ข้าว
การกินขนมปังขาว/เนยแข็งที่ผ่านกรรมวิธี อาจทำให้อ้วนกว่าขนมปังไม่ขัดสีหรือเนยแข็งที่ไม่ผ่านกรรมวิธี เพราะกระบวนการผลิตขนมปังขาว คือการนำข้าวสาลีมาบดละเอียดและกระบวนการผลิตเนยแข็งที่ผ่านกรรมวิธี คือการนำเนยมาต้ม ทำให้เวลาที่กินเข้าไปใช้พลังงานในการย่อยน้อยกว่า จากฉลากที่ระบุพลังงาน 295 แคลอรี่ ร่างกายจะได้รับเพียง 265 แคลอรี่หรือ 235 แคลอรี่ แต่ถ้าเลือกกินขนมปังไม่ขัดสี/เนยแข็งไม่ผ่านกรรมวิธี จะใช้พลังงานในการย่อยมากกว่า ซึ่งใยอาหารจากขนมปังไม่ขัดสี จะช่วยลดการรับพลังงานเข้าสู่ร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญ ส่งผลให้ใช้พลังงานในการย่อยมากว่า
จากข้อมูลข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า บางทีฉลากอาจไม่ได้โกหก เพียงแต่ร่างกายได้รับพลังงานไม่เท่ากับตัวเลขที่เขาระบุเอาไว้เนื่องจากอาหารแต่ละประเภท ใช้พลังงานในการย่อยต่างกันนั่นเอง
ภาพประกอบบทความจาก Couleur, Pixabay
ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean