Trending News

Subscribe Now

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

ทำไม sitcom ต้องมีเสียงหัวเราะในรายการ

Design You Don't See | Podcast

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาที่เราดู sitcom ไม่ว่าจะของไทยหรือต่างประเทศ พอถึงจุดที่มันต้องตลกมักจะมีเสียงหัวเราะนำเสมอ?

sitcom ในอเมริกาจะเป็นคนหัวเราะที่ฟังดูเหมือนอัดมา แต่ในไทยจะมีผู้ชมอยู่ในห้องส่งด้วยทำให้เสียงฟังดูมีชีวิตชีวา ไม่เฟค

เมื่อคุณเริ่มชินกับเสียงหัวเราะใน sitcom ถ้าวันหนึ่ง sitcom ปราศจากเสียงหัวเราะนี้คงจะเหงาน่าดู หรือว่าถ้าคุณดูอาจจะงง ๆ ว่าฉันควรจะหัวเราะตรงไหน 

ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา มีงานวิจัยเกี่ยวกับการหัวเราะ หนึ่งในคนที่วิจัยศึกษาคือ Robert Provine เขาได้วิจัยว่า การหัวเราะเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เพราะเราเกิดมาเราก็สามารถหัวเราะได้เองโดยที่ไม่ต้องมีคนมาสอน 

จากการวิจัย Provine ได้สังเกตคนที่หัวเราะทั้งหมด 1,200 คน แล้วสรุปออกมาได้ว่า

1. การหัวเราะเป็นเรื่องสากล เมื่อใครหัวเราะ เราจะเข้าได้ทันทีว่าเขาคนนั้นมีความสุข

2. การหัวเราะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว และไม่มีใครสั่งให้เราหัวเราะได้ 

3. การหัวเราะเป็นการสื่อสารทางสังคม ถ้าเราอยู่คนเดียว เรามักจะไม่ค่อยหัวเราะ ถ้าเทียบกับการอยู่กับคนอื่น โดยการที่เราอยู่กับคนอื่นทำให้เราหัวเราะมากกว่าอยู่คนเดียวถึง 30 เท่าตัวเลยทีเดียว

4. การหัวเราะนั้นติดต่อกันได้ ถ้าได้ยินเสียงหัวเราะของคนอื่น สามารถทำให้เราหัวเราะตามได้

5. มนุษย์หัวเราะเป็นครั้งแรกเมื่ออายุประมาน 4 เดือน

6. เรามักจะไม่ค่อยหัวเราะช่วงกลางประโยค แต่เราจะหัวเราะหลังจากจบประโยคไปแล้ว

7. คนพูดจะหัวเราะมากกว่าคนฟังถึงสองเท่า

8. ผู้หญิงจะหัวเราะมากกว่าเพศชายถึงสองเท่าด้วยเช่นกัน

9. การหัวเราะบ่งบอกสถานะทางสังคมได้ ยิ่งสังคมสูงยิ่งหัวเราะน้อยลง 

จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า การหัวเราะนั้นไม่ได้มาจากอารมณ์ขันเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็มาจากการพูดคุย สนทนา การปฏิสัมพันธ์ทั่วไปก็สามารถสร้างเสียงหัวเราะได้ด้วยเหมือนกัน และถ้าคุณอยากพูดเรื่องอะไรตลก คุณต้องหัวเราะนำเพื่อให้เกิดโรคติดต่อของหัวเราะขึ้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำ sitcom ที่เราดูกันถึงมีเสียงหัวเราะนำนั่นเอง

เรียบเรียงโดย ภัทราวดี ศรีชัย นักศึกษาเอกฟิล์มที่มักจะมองทุกเรื่องในชีวิตให้เป็นเรื่องตลก

Related Articles

ค้นหาตัวเองให้เจอได้อย่างไร

คนจำนวนไม่น้อยมีปัญหาในการค้นหาตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเองชอบ ถนัด หรือต้องการอะไร ซึ่งนับว่าอึดอัดพอสมควร เราอยากช่วยงานคนอื่น ๆ แต่พอเขาถามว่าเราถนัดทำอะไรกลับตอบไม่ได้ การที่เราไม่รู้ว่าเราชอบอะไร ไม่เพียงจะทำให้เราปวดหัวกับความไม่เข้าใจตัวเองเท่านั้น…

Morning Call | Podcast

11 บทเรียนที่ได้จากการอ่าน “มูซาชิ”

“มูซาชิ” ชื่อของโรนินนักดาบในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ผ่านการต่อสู้ครั้งสำคัญๆมามากกว่า 60ครั้งและ “ไม่เคยแพ้ใคร” ความสำคัญของมูซาชินอกจากการเป็น “ผู้ไร้พ่าย” แล้ว เค้ายังได้สละช่วงเวลา 2ปีสุดท้ายของชีวิตเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ที่มีให้กับคนรุ่นหลัง ด้วยการเขียน...
Morning Call | Podcast
accumsan leo efficitur. Praesent sit porta. Sed tristique ante.