Trending News

Subscribe Now

3 เหตุผลที่แบรนด์ควรใช้ฟีเจอร์ Story สื่อสารกับคนดูให้มากขึ้น

3 เหตุผลที่แบรนด์ควรใช้ฟีเจอร์ Story สื่อสารกับคนดูให้มากขึ้น

Article | Digital marketing

ไม่กี่วันที่ผ่านมาได้เปิดมือถือ เข้า Facebook เช็กความเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียล จู่ ๆ ก็รู้สึกแปลก เหมือนมีอะไรเปลี่ยนไป เลื่อนฟีดไปมา กดเด้งกลับหน้าฟีดบนสุดแล้วถึงบางอ้อ สรุปว่า Facebook มีการปรับ Story ให้มาแสดงผลด้านล่างช่องโพสต์สเตตัส (แบบเดิมจะอยู่ด้านบนสุด) 

Facebook Story

Facebook Story แบบเก่า
Facebook Story

Facebook Story แบบใหม่

ซึ่งเมื่อหลายวันก่อนเจอ Stories บนหน้าฟีด 3 แถวเรียงต่อกันเต็มหน้าจอ (OMG!) ส่วนใหญ่แล้วจะเจอช่วงบ่ายถึงเย็น เหมือน Facebook กำลังทดสอบระบบอะไรบางอย่าง (ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนกันบ้างเอ่ย?)

facebook story

ไม่ใช่แค่ Facebook เท่านั้น ยังมี Instagram Story ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันแรก ๆ ที่คนนิยมเล่นเลยก็ว่าได้ แม้กระทั่ง YouTube เองก็มี YouTube Story เป็นของตัวเอง เรื่องนี้ทำให้สังเกตได้ว่า ฟีเจอร์ Story เป็นช่องทางการสื่อสารการตลาดแบบใหม่ที่แบรนด์ต้องเริ่มให้ความสำคัญกันแล้ว

ig story
Instagram Story
youtube story
YouTube Story

มีอะไรใน Story ทำไมคนถึงชอบเล่น

  1. เพราะได้ตามติดเรื่องราวชีวิตคนแบบเรียลไทม์ ว่าเขาไปไหน ทำอะไร เจออะไรบ้างในแต่ละวัน ด้วยภาพ คลิป เสียง แบบสั้น ๆ แถมยังเชื่อมไป Stories คนอื่น ดูเพลินได้ยาว ๆ คล้ายกับการดู Behind the Scenes หนังสักเรื่องหนึ่ง
  2. บางทีเราเบื่อที่จะโพสต์ฟีดเยอะ ๆ บนหน้าไทม์ไลน์ บางอย่างไม่ได้ต้องการให้อยู่ถาวร แค่ให้เพื่อน คนสนิท หรือคนที่อยากดูจริง ๆ เห็น จากนั้นก็ลบหายไป Story จึงตอบโจทย์คนกลุ่มนี้มาก
  3. เป็นโพสต์ที่ลับ แต่ไม่ลับ ความน่าเล่นของฟีเจอร์ Story อย่างหนึ่ง คือมีลักษณะที่ก้ำกึ่งระหว่างลับ แต่ไม่ลับจริง สังเกตเวลาเห็นภาพฟีดช่อง Stories ไกล ๆ ที่ดูไม่ชัด มันจะมีอะไรสักอยากที่กระตุ้นให้เกิดความ “อยากส่อง” เป็นการแง้มช่องไว้เล็ก ๆ เชื้อเชิญให้คนกดเข้าไปดู ช่างเป็นการเล่นกับความอยากรู้อยากเห็นของคนจริง ๆ

ฟีเจอร์ Story โอกาสการสื่อสารของแบรนด์กับคนดู

ด้วยพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนที่เปลี่ยนไป หรืออาจเป็นผลมาจากการโดนเสิร์ฟด้วยลูกเล่นใหม่ ๆ ของแอปพลิเคชันที่ออกมา จนทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปเอง ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม คนก็เริ่มเล่น Story กันมากขึ้น และเป็นโอกาสที่แบรนด์จะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางการตลาดไปยังคนดู เพราะว่า..

1. สร้างคอนเทนต์ได้ง่าย ประหยัดเวลา

เพียงแค่ใช้กล้องถ่ายภาพหรืออัดวิดีโอไม่กี่วินาที ตกแต่งด้วยลูกเล่นต่าง ๆ ในแอปพลิเคชัน พร้อมใส่ข้อความ จากนั้นอัปโหลดขึ้นไป ก็จะได้คอนเทนต์ที่ต้องการสื่อสารไปถึงคนดูแล้ว ง่ายและประหยัดเวลาได้มาก

2. สร้างเนื้อหาแบบเรียลไทม์ ถูกใจคนดู

อย่างที่บอกว่าคนเล่น Story ชอบดูคอนเทนต์ที่อัปเดตเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวัน จึงเหมาะอย่างยิ่งที่แบรนด์จะนำมาใช้โปรโมตกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์ประจำวัน ใช้ความธรรมดา เรียบง่ายในการสื่อสาร เป็นการลดช่องว่างระหว่างแบรนด์กับคนดู ให้เขารู้สึกว่าเหมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน

3. เพิ่มโอกาสให้คนได้เห็นแบรนด์ 

Stories ที่ดูไปเรื่อย ๆ เมื่อหมดของคนหนึ่ง ระบบจะข้ามไปของอีกคนที่อยู่ถัดมา รวมทั้งจะไปแสดงในหน้าแรกของฟีดเมื่อคนดูเปิดเข้าใช้ นั่นแสดงว่า หากเรามีการอัปเดตความเคลื่อนไหวบน Story เรื่อย ๆ ก็มีโอกาสที่คนดูจะเห็นแบรนด์เราผ่านสายตาได้มากขึ้นนั่นเอง

Story เป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่หลายแพลตฟอร์มเริ่มนำมาใช้และคนนิยมเล่นมากขึ้น ในมุมของผู้เขียนเองคิดว่า น่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ในการนำมาใช้เป็นช่องทางสื่อสารการตลาด ส่งข่าวสารและโปรโมตกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังกลุ่มคนดูเหล่านี้ได้ หากวิเคราะห์แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งไว้มีพฤติกรรมการใช้ฟีจเจอร์นี้ด้วย ก็จะเป็นการเปิดช่องทางใหม่สำหรับการสื่อสารระหว่างแบรนด์และคนดูได้ดีอีกทางหนึ่งทีเดียว

ภาพประกอบบทความจาก geo uc on Unsplash

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

7 Food Packaging สวย สะดวก ในยุคตลาดเดลิเวอรี่

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้ตลาดเดลิเวอรี่กำลังมาแรงมาก อยากได้อะไร อยากกินอะไร ไม่ว่าจะขนม อาหาร เครื่องดื่ม แค่กดสั่งผ่านแอปพลิเคชั่น รอแป้บเดียวก็มีบริการส่งถึงที่ แต่… ความพิเศษมีมากกว่านั้น…

Article | Creative/Design

Call to Action เทคนิคที่คนทำคอนเทนต์และดีไซน์ต้องรู้!

ก่อนหน้านี้คนทำงานสายการตลาด คงจะคุ้นเคยกันดี สำหรับคำว่า Call to Action (CTA) แต่ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่อยู่สำหรับคนทำงานคอนเทนต์ กราฟิกดีไซน์เนอร์ ที่มักจะทำหน้างงเวลาโดนคอมเมนต์มาว่า...
1A4 | Article | Digital marketing

เมื่อภาวะหมดไฟไม่ได้เลือกตำแหน่ง และความเบื่อไม่ได้เลือกวัย

Burnout หรือที่ก่อนหน้านี้เราเรียกกันว่า ภาวะ “หมดไฟ” การทำงาน ยังคงเป็นที่พูดถึงในหลากหลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของการหมดไฟ หรือจะทำอย่างไรให้ไฟของความสนุกสนานในการทำงานถูกจุดติดอีกครั้ง หลายครั้งเรามองว่า ภาวะหมดไฟนี้มักเกิดกับกลุ่มคนรุ่นใหม่…

Article
eget suscipit et, Praesent non facilisis massa