Trending News

Subscribe Now

เทคนิคปล่อยคนออก รับคนเข้า

เทคนิคปล่อยคนออก รับคนเข้า

Morning Call | Podcast

คุณคงเคยเห็นข้อความผ่านตาตาม Social Media มาบ้างว่า “ถ้าอยากลาออกก็ลาออกได้เลย ไม่ต้องแคร์เจ้านาย เพราะเมื่อถึงเวลาเขาก็จะหาคนใหม่มาได้เอง” เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ได้แคร์คุณเลย เพราะคนเป็นนายก็มีหัวใจ

การปล่อยคนออกและรับคนเข้า เป็นปัญหาที่คนเป็นหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัทต้องเจอ วันดีคืนดีจู่ ๆ พนักงานที่รักมาก ฝีมือดีดันมาขอลาออก ความรู้สึกไม่ต่างไปจากการโดนคนรักบอกเลิก แม้ว่าเราจะดูแลอย่างดี ทุ่มเทให้เขามากเท่าไร แต่เมื่อเขามีสิ่งที่ดีกว่า สดใสกว่า อยู่กับเราแล้วไม่โอเค เขาก็ต้องไป

ดังนั้นเราจึงมาแนะนำ  2 เทคนิครับมือกับการปล่อยคนลาออก ที่จะทำให้คุณรู้เจ็บปวดน้อยลงเมื่อต้องพบการจากลา

1. ส่งเสริมเขา หากเขาจะไปเจอสิ่งที่ดีกว่า

อย่าไปเครียดหรือกังวลกับการที่เขาลาออก หากเขาจะออกเพื่อไปเจอสิ่งที่ดีกว่า ควรสวมหมวกเป็นที่พี่ดีในการให้คำปรึกษาแก่เขาจากประสบการณ์ที่คุณมี พยายามถามว่าจะไปที่ไหน ทำอะไร ที่ที่จะไปนั้นดีไหม เหมาะสมหรือเปล่า ธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ถ้าดีกว่าจริงคุณก็ควรปล่อยให้เขาไป แต่ถ้าเขายังไม่มั่นใจกับที่ใหม่ หรือที่ที่จะไปไม่เหมาะกับเขา ก็แนะนำให้เขาอยู่ตรงนี้ไปก่อน ไม่ต้องรีบไปก็ได้ ให้เขาค้นหาจนกว่าจะเจอสิ่งที่ใช่ เพราะเราไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกับคนที่จะไปเสมอไป หากเขาไปดีก็ควรยินดีกับเขา และปล่อยให้เขาไป หากมองมุมกลับเขาไม่ได้ไปดีแล้วต้องทนทุกข์อยู่กับคุณอีก 10-20 ปี แบบนั้นคุณจะรับได้เหรอ?

2. ทำให้ดีที่สุดในวันที่เขายังอยู่

ก่อนวันที่เขาจะลาออกคุณควรทำให้ดีที่สุด ในตอนที่เขายังอยู่กับเรา พยายามทำให้ดีที่สุด ดูแลเขาให้ดีที่สุด เพราะว่าเมื่อถึงวันที่เขาเดินมาลาออกหรือมาบอกเลิกกับคุณ คุณจะได้ไม่ต้องคิดเสียดายย้อนหลังว่า ควรจะทำแบบนู้น แบบนี้ ดังนั้นทำให้ดีที่สุดไปเลย แล้วเมื่อถึงวันที่เขามาลาออก คุณจะได้รู้ว่า คุณได้ทำดีที่สุดแล้ว และดีที่สุดที่จะมอบให้เขาได้ ไม่ต้องเครียดหรือเสียใจไป

ในเรื่องของการรับคนเข้ามาทำงาน แน่นอนว่าใคร ๆ ก็ต้องอยากได้คนเก่งมาร่วมงาน แต่ความจริงที่สำคัญกว่าการรับคนเข้ามาทำงานคือ การดูแลคนภายในองค์กรและการพัฒนาพวกเขาให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ

หัวหน้าบางคนกลัวว่าลูกน้องจะเก่งกว่าแล้วข้ามหน้าข้ามตาตัวเอง หากเป็นคุณมาเจอหัวหน้าแบบนี้ คงจะลาออกเลย แต่ในมุมกลับกันหากคุณเป็นหัวหน้าอย่าไปกลัวลูกน้องเก่ง เพราะหากเขาเก่งจะได้มาทำงานแทนคุณ ส่วนคุณเองก็จะได้ไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้นอีก เช่น หากคุณเป็นดีไซน์เนอร์ วัน ๆ เปิด Photoshop ทำงานอย่างเดียว พอเริ่มมีทีมงานมาช่วยเมื่อเขาเก่งกว่าคุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำ Photoshop แต่มาทำส่วนคิดงาน ขายงานแทน ต่อไป ๆ ก็ได้ไปทำงานที่สูงขึ้นอีกอีก ยิ่งข้างล่างโตขึ้นมากเท่าไหร่ก็เป็นฐานที่ให้คุณยิ่งปีนได้สูงขึ้น ดังคำพูดของ Steve Jobs ที่ว่า

“คนเกรด A เท่านั้นที่อยากจะคบกับคนเกรด A+ ส่วนคนเกรด B อยากคบกับคนเกรด C ส่วนคนเกรด C อยากจะคบกับคนเกรด D”

หรือหมายความว่ามีแต่คนเก่งเท่านั้นที่อยากจะคบกับคนเก่งกว่า ส่วนคนธรรมดาก็มักจะชอบคบกับคนที่อ่อนกว่าเพื่อจะได้เป็นคนที่เก่งที่สุด

แต่หากเปรียบการทำบริษัทหรือโปรเจ็กท์ดั่งการปีนขึ้นเขาสูง คุณย่อมต้องการคนที่เก่งกว่าไปกับคุณเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน คุณสามารถพึ่งเขาได้ หากงานยิ่งท้าท้าย เหมือนกับคุณที่ยิ่งอยากจะปีนขึ้นเขาที่สูงเรื่อย ๆ  ดังนั้นการขึ้นเขาสูงควรต้องคบกับคนที่เก่งกว่า อย่าไปคบกับคนที่อ่อนกว่า เพราะเขาช่วยอะไรเราไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ไล่เขาออกแต่อย่างใด คุณควรสอนเขาและพัฒนาเขา ส่งเสริมความรู้ของเขาให้เติบโตเรื่อย ๆ

และนี่ก็เป็นเทคนิคในการปล่อยคนลาออกและรับคนเข้าทำงาน การเป็นหัวหน้าคนต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยเขาไปพบกับสิ่งที่ดีกว่า พยายามดูแลเขาให้ดีที่สุดในตอนที่ยังอยู่ และอย่ากลัวที่จะรับลูกน้องที่เก่งกว่าเรา พร้อมจะส่งเสริมเขาให้เติบโตไปพร้อมกัน

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

ลักษณะการทำงานที่ลูกค้าและเจ้านายต้องการ

เคยคิดไหมว่าเวลาที่เราต้องไปเสนองานให้ลูกค้าหรือเจ้านายฟัง ผู้ฟังเขาฟังอะไรจากผู้พรีเซนต์? วันนี้เราจะมาพูดถึงลักษณะการทำงานที่ลูกค้าและนายจ้างต้องการให้ฟังกันว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง คนส่วนใหญ่เวลาที่นำเสนองานให้ลูกค้าหรือเจ้านายฟัง มักจะนำเสนอ “What” คือการพูดว่ามันคืออะไร ดีไซน์หรืองานที่ไปขายลูกค้าคืออะไร ฟังก์ชันของมันคืออะไร เช่น…

Morning Call | Podcast

ทำไมป้ายในสนามบินถึงใช้ฟอนต์เหมือนกัน ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมป้ายในสนามบินถึงมักจะใช้ฟอนต์ที่เหมือนกัน ทำไมบริเวณเกตที่เรารอเครื่องบินมักจะเป็นกระจกบานใหญ่ ๆ ทั้งที่มันทำให้แสงแดดเข้า ทำให้เปลืองไฟและทำให้ร้อน ทำไมชั้นขาเข้าถึงอยู่ชั้นล่าง แล้วชั้นขาออกถึงอยู่ชั้นบน แล้วทำไมพื้นที่เกตมักจะเป็นพรม แต่พื้นบริเวณก่อนถึงเกตมักจะเป็นหินหรือกระเบื้อง…

Creative/Design | Design You Don't See | Podcast

รถหายในห้างใครรับผิดชอบ ห้างไม่รับผิดชอบได้หรือไม่?

จอดรถในห้างฯ เจอป้าย “ไม่รับผิดชอบ กรณีรถสูญหาย” ถ้ารถหายจริงๆ แล้วใครจะรับผิดชอบ? มาฟังเรื่องสิทธิและหน้าที่ที่เราต้องรู้แบบไม่น่าเบื่อกับอาจารย์มิก ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ CEO…

Podcast
massa consequat. venenatis, ut sem, odio ut Donec tristique ante.