Trending News

Subscribe Now

บาลานซ์ความรู้สึก จัดการชีวิตการทำงาน จากงาน CTC2019

บาลานซ์ความรู้สึก จัดการชีวิตการทำงาน จากงาน CTC2019

Article | Creative/Design

เชื่อว่าหลายคนคงเคยจะเป็นเหมือนกัน ที่ตื่นขึ้นมาในบางวันก็รู้สึกเบื่อหน่าย บางครั้งก็เบื่อจนระบุไม่ได้ว่าเบื่ออะไร พลอยหงุดหงิดไปกับทุกสิ่งที่พบที่เจอ ซึ่งความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน วันนี้เราจึงรวมเอาเนื้อหาจาก 4 Session ในงาน Sansiri and BCPG Present Creative Talk Conference 2019 (CTC2019) ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การทำงาน เพื่อความ Work–life balance ในการใช้ชีวิตและบำบัดความรู้สึกให้สมดุลกันมากขึ้น

“Humans are prone to biases

เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะอคติ”

คุณรวิศ หาญอุตสาหะ จากแบรนด์ ศรีจันทร์ ได้เล่าเอาไว้ในหัวข้อ The Art of People: How to Manage, Improve, and Communicate to People Around You ว่า จริง ๆ แล้วคนเราไม่ได้มีเหตุผลอย่างที่เราคิด ซึ่งมีอยู่ 3 สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ Framing bias กรอบของความคิดที่มี, The halo effect and confirmation bias เรามักจะหาเหตุผลมาซัพพอร์ตความเชื่อที่มีเสมอ และ The lazy mind การใช้สัญชาตญาณตัดสิน

Can we fix this? แล้วปัญหานี้จะแก้ไขได้อย่างไร

  1. Manage

แต่ก่อนจะไป Manage ใคร เราต้อง Manage ตัวเองให้ได้ก่อน เพราะคนอื่นเขาดูคุณเป็นตัวอย่าง ซึ่งสิ่งที่ควรบริหารให้ได้หลัก ๆ คือ Time – Talent – Energy หากถามว่าเรื่องไหนที่สำคัญที่สุด คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเวลา เช่น ถ้าคุณรู้ว่าต่อวันคุณจะทำงานวันละกี่ชั่วโมง งานมันก็จะสามารถทำได้ตามเวลาที่เราอนุญาตให้มันทำ

  1. Improve

ก่อนมองหาเทคโนโลยี กลับมาถามตัวเองก่อนว่า เรามี Innovation Mindset แล้วหรือยัง และคุณมีวิธีรับมือกับความล้มเหลวอย่างไร

  1. Communicate

การสื่อสารที่ดีต้องโปร่งใส ไม่มี Hidden Agenda แฝง เพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพเดียวกัน เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำอยู่ และที่สำคัญคือการทำ Feedback ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสู่การอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน กล้าที่จะเดินไปด้วยกัน

 

“ถ้าสองฝ่ายมองเห็นภาพเดียวกันได้

ก็จะเกิดความเชื่อใจ และทำงานอย่างสบายใจ”

เช่นเดียวกับการทำงาน การสื่อสารกับลูกค้า กับเพื่อนร่วมงานก็สำคัญไม่แพ้กัน โดย คุณประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ จาก ชูใจ กะ กัลยาณมิตร และคุณพัชรา ทวีชัยวัฒนะ จาก อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ก็ได้มาแชร์เรื่องราวและเทคนิคของการทำงานใน How Creative Work Peacefully Together with Client การทำงานที่ดีไม่ใช่แค่การมีไอเดียที่ดี ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกันด้วย

คุณประสิทธิ์ ได้บอกว่า การพูดคุย การบรีฟกันในวันแรกสำคัญที่สุด ต้องรู้จักฟังเยอะ ๆ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามเยอะ ๆ คุยกันให้เคลียร์ว่าเราจะทำงานในรูปแบบไหน แต่ในบางครั้งระหว่างทางมันก็ไม่ได้สวยงาม เราก็ต้องค่อย ๆ Convince ประคองไปให้ดีที่สุด และพยายามอดทน เพื่อสร้างสรร้างผลงาน สร้างเครดิตให้ตัวเอง แล้ววันหนึ่งคุณจะได้พบคนในแบบที่คุณอยากเจอ เชื่อในสิ่งที่คุณพูด ไว้ใจในสิ่งที่คุณทำ

ทางด้านคุณพัชรา ก็ได้เสริมต่อว่า ในมุมของการเป็นลูกค้า ในมุมของคนทำงานร่วมกัน เราเองก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า เราต้องการอะไร อยากให้เขาทำอะไร อย่าทำเพราะมันเป็นหน้าที่ แต่ให้ทำเพราะคุณรักและเข้าใจสิ่งนั้นจริง ๆ ซึ่งถ้าเราเข้าใจแล้ว การอธิบายโจทย์ให้คนอื่นฟังก็จะไม่ใช่เรื่องยาก คนรับฟังก็เข้าใจชัดเจน

 

 

“แต่วันใดที่คุณรู้สึกดาร์ก

คุณเพียง Switch off และปล่อยใจ”

ไม่มีใครหรอกที่จะรู้สึกเฟรชได้ตลอด มันก็มีบ้างในบางวันที่มันดาร์กที่มันดาวน์ คุณเกตุวดี Marumura และคุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ 2 นักเขียนที่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ ก็ได้มาแนะนำในหัวข้อ How to love the job you hate ว่า สร้างแบรนด์ดิ้งให้องค์กรแล้ว อย่าลืมกลับมาสร้างแบรนด์ดิ้งให้ตัวเองด้วย หลายเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทุกอย่างล้วนเป็นครูเราได้หมด

คุณเกตุวดี ได้บอกว่า ลองเปลี่ยนจากความกลัว มาเป็นความกล้า แต่ถ้ารู้สึกไม่ไหวจริง ๆ ก็ให้ Switch off ตัวเองไปเลย ในภาษาญี่ปุ่นมีคำหนึ่ง คือ มุชิน (Mushin) แปลว่า สภาพจิดว่าง ปล่อยใจไปไม่ต้องคิดอะไร เพราะถ้ามัวแต่มานั่งคิดกังวลว่าสิ่งที่เราทำจะมีใครชอบไหม จะโดนด่าหรือเปล่า สุดท้ายคนที่จะเหนื่อยก็คือตัวเราเอง ลองกลับไปนึกถึงวันแรกที่คุณมายื่นอยู่ตรงนี้ว่าเราใส่พลังไปแค่ไหน สู้ไปแค่ไหน เอาความรู้สึกนั้นกลับมาสวม แล้วถามตัวเองดูว่า เรายังรู้สึกเหมือนวันนั้นอยู่หรือเปล่า

ในส่วนของคุณท้อฟฟี่ แบรดชอว์ ก็ได้บอกว่า อันดับแรก เราต้องเชื่อก่อนว่า ทุกปัญหาแก้ไขได้ด้วยสติ มองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ อย่างเวลาคุณทำงาน คุณสร้างแบรนด์ให้บริษัทแล้ว อย่าลืมกลับมาสร้างแบรนด์ให้ตัวเอง และที่สำคัญอย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ลองมองเห็นความสำคัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ตัวเองทำ จะไม่มีวันที่คุณจะเป็น Loser

 

“สุดท้าย อยากให้คุณเข้าใจจุดอ่อน

และจุดแข็งของตัวเอง”

Pomme Chan – Illustrator มากฝีมือ ได้แนะนำเอาไว้ในหัวข้อ Beyond Creativity: Tricks to Create More Time and Earn More Money by Being Professional ว่า ให้คุณลองครีเอทรูปแบบการใช้ชีวิตใน แบบของคุณเอง ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ Time + Mindset ได้แก่

– Listen to your body clock ตอบตัวเองให้ได้ว่าตัวเอง Active ที่สุดตอนไหน

– Learn to say No! เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ หรือบอกว่าเดี๋ยวเราค่อยกลับมาคุยกันใหม่ ในตอนที่ไม่สะดวก

– Zero notification คว่ำมือถือเสมอ ทุกอย่างรอได้ หากมีอะไรด่วนให้โทร

– Tackle the hardest project first รู้ลำดับความสำคัญของงาน

– Never say you don’t have time, you make time อย่าเพิ่งรับปาก หรือปฎิเสธว่าไม่มีเวลา หากคุณไม่ชัวร์

สุดท้ายอยากให้คุณเข้าใจตัวเองให้มาก ๆ หาศักยภาพของตัวเองให้เจอ รู้ว่าคุณค่าของตัวคุณเองคืออะไร และใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

 

ติดตามคลิปย้อนหลังงาน CTC2019 ได้ที่

Main Stage : AIS PLAY

ห้องอื่น ติดตามได้ที่เพจ Creative Talk Live หรือ Youtube CREATIVE TALK 

สำหรับใครที่ชอบฟัง Podcast ติดตามได้ที่ APPLE PODCAST / SPOTIFY / SOUNDCLOUD 

Related Articles

Paradigm shift of marketing เมื่อการตลาดปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์

หากมองย้อนดูในช่วงเวลาที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงของโลกไปอย่างมากจากทศวรรษที่ 90 จนถึงปัจจุบัน ทำให้พฤติกรรมและวิธีคิดของประชากรจากในอดีตเปลี่ยนไปมากเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คนวัย 50-60 ปี มักจะไม่ค่อยกล้าเสี่ยง…

Article | Digital marketing

รวมโฆษณาและแคมเปญออนไลน์สุดครีเอทีฟของไทยที่สร้างแรงกระเพื่อมท่ามกลาง COVID 19

จากบทความก่อนที่ผมเล่าเรื่อง Do and Don’t การตลาดในช่วงวิกฤต COVID-19 บทความนี้เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่าสำหรับแบรนด์ไทยที่ทำการสื่อสารทางการตลาดออกมาในช่วงนี้มีไอเดียที่ครีเอทีฟและน่าสนใจขนาดไหน ลองไปดูกันครับ Air Asia…

Article | Digital marketing

Do and Don’t การตลาดในช่วงวิกฤต COVID-19

ช่วงนี้หนักหนาสาหัสกันทุกภาคส่วนนะครับ นักการตลาดเองก็ต้องปรับแผนกันยกใหญ่เพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่คำถามคือ ในช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้ อะไรควรทำและไม่ควรทำบ้าง เมื่อทุกข้อความที่ถูกสื่อสารออกไปจะมีความละเอียดอ่อนมากขึ้นไปอีกในช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบนี้ จากข้อมูลของ Facebook Webinar “Fighting…

Article | Digital marketing
felis eget accumsan id suscipit Phasellus mattis facilisis