Trending News

Subscribe Now

จับตาเทรนด์ Music Marketing ที่กำลังจะมาจากงาน CTC2019

จับตาเทรนด์ Music Marketing ที่กำลังจะมาจากงาน CTC2019

Article | Digital marketing

ปีนี้ CTC2019 เรามองเห็นถึงความสำคัญของอีกหนึ่งเทรนด์นั้นคือ Music Marketing เพราะดนตรีอยู่รอบตัวเราเสมอไม่ว่าจะไปที่ไหน จนอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราไปแบบไม่รู้ตัว มาฟังมุมมองดี จาก Expert ของวงการนี้ที่มาเล่าให้ฟังกันในงาน CTC2019 กัน

อยากทำ Music Marketing จะเริ่มอย่างไร

เริ่มที่คุณท็อป – ศรัณย์ ภิญญรัตน์ จาก ฟังใจ Startup ซึ่งทำทั้ง Streaming และ Event เกี่ยวกับดนตรี ที่พูดไว้ในช่วง Music Marketing, The Hidden Secret of Brands บนเวที Main Stage โดยยกตัวอย่างหลาย แบรนด์ที่นำ Music Marketing มาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมแบรนด์เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น แลคตาซอย 5 บาท ที่ต่อให้คุณไม่กินแลคตาซอยก็ยังรู้ว่ามันมีปริมาตร 125 มิลลิลิตร

และสำหรับใครที่อยากจะเริ่มทำ Music Marketing แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร คุณท็อปฝากทริคง่าย ๆ ที่ชื่อว่า “The Orchestra” จาก PGM Mediabrands โดยลองจินตนาการว่าตัวคุณเองกำลังจะตั้งวง Orchestra เริ่มต้นกันที่ Tune คือการตั้งเสียงหรือปรับจูนให้เข้ากัน หมายถึงการเลือกแนวดนตรี หรือเพลงที่สะท้อนถึงตัวแบรนด์หรือแคมเปญได้ดีที่สุด

1. Tune คือ การตั้งเสียงหรือปรับจูนให้เข้ากัน หมายถึงการเลือกแนวดนตรี หรือเพลงที่สะท้อนถึงตัวแบรนด์หรือแคมเปญได้ดีที่สุด

2. Voice คือ เลือกเสียงร้องที่โดนใจ หมายถึง ฟังเสียงของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ศึกษา insight ของพวกเขา เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าควรทำ Content แบบไหนถึงจะโดนใจ

3. Instrument คือ เลือกเครื่องดนตรีที่เหมาะ หมายถึงการเลือกสื่อที่จะใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย

4. Lyrics คือ เนื้อร้องที่ใช่ หมายถึงการเลือกใช้ massage ที่เหมาะสมและเรื่องราวที่ใช่ เพื่อที่จะพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย

5. Hall คือ เวทีแจ้งเกิด หมายถึงการเลือกพื้นที่เพื่อที่จะได้พบกับกลุ่มเป้าหมายจริง สร้างความใกล้ชิด และทำให้พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์เป็นพวกเดียวกันและสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตของพวกเขาได้

จัดคอนเสิร์ตด้วย Machine Learning

ต่อกันที่ช่วง Innovation in Music, Art & Recreation บนเวที NIA Action Stage พูดถึงประเด็น MAR-TECH (Music, Art & Recreation Technology) ซึ่งช่วงนี้เหมาะมากสำหรับคนที่ทำ Event หรืออยากจะจัดงานคอนเสิร์ต โดยคุณตฤณ ทวิธารานนท์ จาก TCEB เล่าว่าไปดูงานที่ต่างประเทศพบว่าเทรนด์ของการจัดงานนั้นเริ่ม Personalized มากขึ้น จากที่สมัยก่อนจะจัดงานก็แค่หาศิลปินดัง มาก็พอ แต่เดี๋ยวนี้เขาใช้ Machine Learning มาสังเกตดูพฤติกรรมของผู้ชมในแต่ละท้องที่ว่าศิลปินคนไหนหรือกลุ่มไหนที่ได้รับความนิยมในพื้นที่นั้น   จากนั้นค่อยคัดเลือกศิลปินเหล่านั้นมาแสดง ซึ่งก็จะทำให้การจัดงานนั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นกว่าเดิม

“Music City” ดนตรีเปลี่ยนเมือง

และอีกคนคือคุณพาย – ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี จาก ฟังใจ พูดถึงเทรนด์ที่เกี่ยวกับธุรกิจดนตรีของโลกอย่าง “Music Tourism” และ “Music City” ที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงดนตรี ยกตัวอย่างที่น่าสนใจของเมืองออสติน เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ที่เป็นสถานที่จัดงานอย่าง SXSW  (South by Southwest) งานเทศกาลดนตรีประจำปีที่รวมเอางานสัมนาอัพเดทเทรนด์เกี่ยวกับธุรกิจบันเทิง ทั้งดนตรี, ภาพยนต์, สื่อ Interactive ต่าง ครบทุกรูปแบบไว้ในงานด้วย มีคนมาร่วมงานนับแสนคน ทำให้จากเมืองที่ห่างไกลผู้คนกลายเป็นเมืองที่คึกคักสร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับคนในเมือง หรืออย่าง Airbnb ที่มีโครงการชื่อ Music Experiences ที่จะพานักท่องเที่ยวไปดูดนตรีสดในที่แปลก หรือไปดูดนตรีที่เป็นวัฒนาธรรมท้องถิ่น คือเป็นผสมผสานดนตรีและการท่องเที่ยวไว้ด้วยกัน ซึ่งมันเหมาะกับบ้านเรามาก เพราะเมืองไทยเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว แถมยังมีอุตสาหกรรมดนตรีที่แข็งแรงถ้าจับมารวมกันน่าจะสร้างความตื่นตัวด้านธุรกิจท่องเที่ยวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ลิขสิทธิ์เพลง เรื่องที่อยากจะทำถูกกฏหมายทั้งทียังยุ่งยาก

ปิดท้ายด้วยอีกหนึ่งผู้ที่อยู่ในวงการดนตรีมาอย่างยาวนานอย่าง ป๋าเต็ด – ยุทธนา บุญอ้อม ผู้จัดงานดนตรีอย่าง “Big Mountain” ซึ่งได้มาฝากมุมมองที่น่าสนใจของวงการดนตรีไว้ในช่วง The Future of Music บนเวที NIA Action Stage  เรื่องแรกที่เราสนใจคือ Pain Point  ของวงการเพลงในบ้านเรา นั่นคือเรื่องของลิขสิทธิ์เพลง ที่ร้านต่าง ถ้าเปิดเพลงแบบไม่ได้ขอลิขสิทธิ์ก็ผิดกฏหมายและอาจโดนจับ แต่พออยากจะเปิดเพลงอย่างถูกกฏหมายการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ก็ดันยุ่งยากอีก เพราะในวงการเองก็ไม่ร่วมมือกัน คือจะเปิดเพลงค่ายนึงก็ต้องจ่ายที่นึง จะเปิดเพลงอีกค่ายก็ต้องจ่ายอีกที่นึง ไหนจะเพลงสากลหรือวงอินดี้ต่าง ที่ก็ยิ่งไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายที่ไหน มันยุ่งยากปวดหัว แต่ที่ต่างประเทศนั้นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์นั้นง่ายมาก สามารถจัดการได้ในที่เดียว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถจัดการให้มันง่ายขึ้นได้ ถ้าใครทำ App จัดการค่าลิขสิทธิ์แบบจบที่เดียวได้เหมือนการจ่ายค่าไฟ ค่าน้ำ น่าจะทำให้การใช้เพลงอย่างถูกกฏหมายนั้นมีมากขึ้น

การกลับมาของเทป Cassette

และอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ คือเรื่องการกลับมาของ Physical Product ที่ป๋าเล่าให้ฟังว่าในขณะที่ Music Streaming กลายมาเป็นช่องทางฟังเพลงหลักของคนยุคนี้ แต่ที่อังกฤษยอดขายแผ่นเสียง Vinyl ในตลาดนั้นกลับสูงขึ้นแซงหน้าการซื้อเพลงใน Music Streaming ไปเรียบร้อย และที่กำลังกลับมาอีกอย่างนั้นคือ เทป Cassette ที่ในปีที่แล้วนั้นโตขึ้นถึง 90% และเทรนด์นี้ก็เริ่มเดินทางมาถึงบ้านเราแล้ว เชื่อว่าปีนี้สิ่งเหล่านี้จะเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าเดิม

นี่คือเรื่องราวของ Music Marketing และความเคลื่อนไหวในวงการดนตรี จากเหล่า Speaker ที่มาเล่าไว้ในงาน CTC2019 ของเรา ใครที่ทำธุรกิจด้าน Event บันเทิง หรืออาจจะกำลังมีแพลนที่จะนำเอา Music Marketing มาใช้เพื่อ Drive ธุรกิจของตัวเอง เชื่อว่าน่าจะได้ไอเดียดี ที่มีประโยชน์กลับไปอย่างแน่นอน

ติดตามคลิปย้อนหลังงาน CTC2019 ได้ที่

Main Stage : AIS PLAY

ห้องอื่น ติดตามได้ที่เพจ Creative Talk Live หรือ Youtube CREATIVE TALK 

สำหรับใครที่ชอบฟัง Podcast ติดตามได้ที่ APPLE PODCAST / SPOTIFY / SOUNDCLOUD 

Related Articles

libero luctus et, pulvinar mattis dolor