Trending News

Subscribe Now

ฝึกจัดระเบียบความคิดด้วยสมุด 3 เล่ม

ฝึกจัดระเบียบความคิดด้วยสมุด 3 เล่ม

Podcast | The Organice

เพราะการจัดลำดับความสำคัญของงานเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงต้องฝึกจัดระเบียบความคิดให้เป็นลำดับขั้นตอน วันนี้ The Organice Podcast มีทริคดี ๆ ในการฝึกจัดระเบียบความคิดด้วยสมุด 3 เล่ม มาฝากกันค่ะ

มีของสิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะพิจารณาเลือกเป็นของฝากได้ดี คือ “สมุด” เพราะการจดนอกจากจะเป็นรูปแบบของการบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่เราพบเจอไม่ให้หลงลืมไปแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาของการเรียบเรียงประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นเพียงความนึกคิด ให้ออกเป็นรูปร่างได้รวดเร็วขึ้นด้วย “รักใครให้สมุดจด” จึงอาจเป็นของขวัญที่ดีที่ทำให้ผู้รับได้นำไปใช้ประโยชน์ในทุกวัน

สมุดที่ดีต้องไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่ต้องเป็นสมุดที่ได้ใช้จดและนำความคิดที่เรียบเรียงนั้นมาใช้งานได้ในภายหลัง วันนี้เราอยากแนะนำให้คุณพกสมุดติดตัว 3 เล่ม เพื่อฝึกจัดระเบียบความคิดกัน

เลือกกระดาษที่เหมาะ

ลองดูว่าคุณชอบกระดาษแบบไหน ซึ่งมีหลักการเลือกกระดาษเบื้องต้นตามลักษณะการจดของคุณ

  • กระดาษแบบไม่มีเส้นหรือกระดาษเปล่าเหมาะกับคนที่ชอบบันทึกด้วยการวาดเป็นรูปภาพ
  • กระดาษแบบมีเส้นบรรทัด เหมาะกับคนที่จดเยอะๆ และต้องการแนวเส้นเพื่อให้ตัวหนังสือเป็นแนวเส้นตรง ขนาดตัวอักษรเท่ากัน เวลาอ่านง่ายสบายตา
  • กระดาษแบบกระดาษกราฟ เหมาะกับคนที่ชอบจดในลักษณะของการวาด Diagram หรือเส้น การไหลของ Flow การออกแบบเบื้องต้นเช่น Wireframe งานที่ต้องวาดกราฟแผนภูมิต่าง ๆ แต่หลายคนที่เป็นสายจดก็ชอบกระดาษกราฟเพราะทำให้การย่อหน้า การเว้นบรรทัดมีระเบียบเช่นกัน
  • กระดาษแบบจุด เหมาะกับคนที่ชอบวาดภาพแบบที่ต้องการให้รูปภาพมีสัดส่วนสมมาตร ลักษณะการใช้งานอาจจะไม่ต่างจากกระดาษกราฟ แต่หลายคนบอกว่ากระดาษกราฟแนวเส้นมากเกินไป แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน

เมื่อเลือกกระดาษแล้ว ลองสังเกตการใช้งานอีกว่าเราเหมาะกับสมุดจดขนาดไหน ขนาดมาตรฐานคือขนาด A4 เป็นขนาดที่จดได้สบายที่สุด หลายๆ ครั้งคุณอาจจะคิดว่าเป็นขนาดที่ใหญ่เกินไป แต่หากได้ลองใช้แล้วจะพบว่าเป็นขนาดที่เหมาะกับการบันทึกเรื่องต่างๆ ให้จบในหน้าเดียว แต่หากคุณคิดว่า A4 เป็นขนาดที่ใหญ่เกินไป ลองพิจารณาขนาด  A5 ซึ่งมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของ A4 เหมาะกับการพกพาสะดวกคล่องตัว ส่วนสมุดที่มีขนาดเล็กกว่านี้อาจจะเหมาะแค่การจดสั้น ๆ เพื่อกันลืม

โดยอาจจะลองซื้อแบบเล่มบางๆ มาก่อน จดได้ซักพักคุณจะเริ่มจับทางได้ว่าชอบกระดาษลักษณะไหน ที่จะทำให้คุณมองแนวการเขียนได้ดี สำหรับคนที่เป็นสายจดผ่าน Computer ลองเลือกโปรแกรมที่คุณชอบ Interface หรือ Feature ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Word หรือจะเป็นกลุ่ม Google Document หรือ iWork ของ Apple นอกจากนี้ยังมี Application ให้ทดลองใช้ในตลาดอีกมากทั้ง Evernote , Medium , OneNote , Bear

แค่เลือกอุปกรณ์จดก็สนุกแล้ว แต่ความสนุกยังไม่จบแค่นั้น สมุด 3 เล่มที่คุณควรจะมีนั้น มีอะไรบ้าง มาลองดูกัน

1. จดอดีต ด้วย Diary

เล่มนี้คือบันทึกประจำวัน จดสิ่งต่าง ๆ ที่คุณเจอ การจดอดีตเป็นการฝึกการเล่าเรื่อง เมื่อบันทึกเรื่อยๆ คุณจะค้นพบความสนุกในการพูดคุยกับ Diary และตัวคุณเอง เริ่มต้นง่ายๆ อาจจะเป็นการไล่เรียงเหตุการณ์จากเช้าจรดเย็นที่ได้เจอ คนที่ชอบงาน Craft การจด Diary เมื่อจบวันก็จะเป็นการทบทวนว่าวันนี้ได้พบเจออะไร ยิ่งถ้าเป็นการบันทึกการเดินทางด้วยแล้วจะยิ่งสนุกมากถ้าเราเอาบัตร หรือของต่างๆ แปะลงไปใน Diary ด้วย เพิ่มความสนุกและเมื่อเปิดมาอ่านย้อนหลังก็จะเห็นภาพและความทรงจำได้ดียิ่งขึ้น

หลายคนลองใช้การจดบันทึกใน Application เช่น Dayone ซึ่งนอกจากจะบันทึกในลักษณะที่เป็น Paragraph มีข้อความมีรูปภาพได้หลากหลายแล้ว บาง Application คุณสามารถแชร์เรื่องราวของคุณให้เพื่อนๆ อ่านได้ เช่น Medium ที่มีทั้งรูปแบบของ Website และ Mobile Application อีกด้วย

2.  จดปัจจุบัน ด้วยสมุดบันทึกทั่วไป

ด้วยการเขียนสิ่งที่นึกได้หรือฟังได้ ณ ปัจจุบัน จะเป็นบันทึกการประชุม จด Lecture ที่ทำลังเรียนอยู่ ซึ่งมีเทคนิคการจด 3 เทคนิคที่เราอยาก Share ให้ลองใช้งานกัน

  1. เทคนิคการจดแบบ Bullet – นี่คือเทคนิคการจดสิ่งที่ได้ฟังปัจจุบัน ขณะนั้นแบบที่ง่ายที่สุด ด้วยการเขียนเลขด้านหน้า หรือขีดกลาง หรือจุดด้านหน้าทุกครั้งเมื่อเราได้ประเด็นใหม่ การจดแบบนี้เหมาะมากกับการจดด้วย computer หรือ application ที่ใช้พิมพ์ เพราะเมื่อคุณต้องการเพิ่มประเด็นก็สามารถจะแทรกเข้าไปได้แม้ว่าจะผ่านหัวข้อนั้นมาแล้ว ซึ่งการจดแบบกระดาษอาจจะยากนิดหน่อยด้วยการโยงเส้นเพิ่มเข้าไป การจดแบบนี้ช่วยฝึกคุณให้แยกประเด็นได้ว่า สิ่งที่กำลังฟังนี้เป็นประเด็นใหม่ หรือยังอยู่ในประเด็นเดิม
  2. เทคนิคการจดแบบ Flow Chart – หลายท่านอาจคุ้นเคยคำนี้หากเคยเรียนเขียนโปรแกรมหรือเรียนออกแบบมา แต่ถ้าพูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือการจดแบบกล่องข้อความ แล้วมีลูกศรโยงความสัมพันธ์ถึงกัน การจดแบบนี้เหมาะมากกับการวิเคราะห์ Flow หรือขั้นตอนการทำงานต่างๆ ที่เน้นเรื่องลำดับการเกิดก่อนหลัง เช่น จดขั้นตอนการกรอกข้อมูลสมาชิก จดขั้นตอนการซื้อสินค้า
  3. เทคนิคการจดแบบ Mind Mapping – เริ่มต้นประเด็นจากกลางหน้ากระดาษ แล้วค่อยแตกกิ่งเรื่องที่สนใจออกไปเรื่อยๆ การจดแบบนี้จะทำให้เราเห็นทางเลือก Option ต่างๆ เห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดในหน้าเดียว
  4. เทคนิคการจดแบบ Cornell Method แบ่งหน้ากระดาษเป็น 3 ช่อง โดยตีเส้นยาวให้ส่วนล่างสุดของหน้าความสูงประมาณ ¼ ของกระดาษ ด้านบนที่เหลือให้แบ่งเป็นสองฟาก ให้ฟากซ้ายมีขนาดเล็ก ฟากขวาเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่

ฟากขวามือคือการจด Fact ที่เราได้ยินได้ฟัง

ฟากซ้ายคือการจดความนึกคิด ประเด็นคำถามของเราระหว่างที่ได้ฟังเรื่องราวนี้

ด้านล่างสุดคือการจด Summary หลังจากจบการฟังแล้ว ว่ามีประเด็นอะไรน่าสนใจ เนื้อหาใจความหลักของเรื่องนี้คืออะไร และคุณต้องทำอะไรต่อ

เทคนิคการจดปัจจุบันที่ดีคือ คุณต้องตั้งชื่อให้สิ่งที่กำลังจดทุกครั้งที่หัวกระดาษมุมซ้ายบน มุมขวาลงวันที่ และเมื่อจบการประชุมหรือจบการเขียนเรื่องนี้ให้ขีดเส้นใต้ยาวๆ เพื่อปิดประเด็น หรือบางคนที่ไม่เสียดายกระดาษ ก็จะขึ้นหน้าใหม่เสมอที่เริ่มจด ไม่ว่าการจดครั้งที่แล้วจะใช้กระดาษไปแค่ไหนก็ตาม

3. จดอนาคต ด้วยสมุด Planner

Planner มีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี เทคนิคที่น่าสนใจที่คุณอาจจะลองไป search เพิ่มคือการจด Bullet Journal ซึ่งจะมีเทคนิคให้การทำรูปแบบของ Bullet ให้แตกต่างกัน เพื่อจะแยกได้ว่าสิ่งที่เรากำลังวางแผนนี้ เป็นการวางแผนของ Event Task หรือ Activities

การจดอนาคตด้วย Planner นี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อจบวันคุณมานั่ง review ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ มีอะไรที่ไม่ได้ทำและต้องยกมาทำต่อในวันรุ่งขึ้น ก็จะทำให้คุณไม่พลาดการทำงานหรือสิ่งต่างๆ ที่ต้องดูแลภายในบ้าน และเตรียมงานล่วงหน้า หรืออาจจะใช้กับเรื่องเล็กๆ เช่นวางแผนการไปเที่ยวหรือการฉีดวัคซีนต่าง ๆ ได้อีกด้วย

เมื่อคุณมีสมุด 3 เล่มนี้ และจดอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้คุณมีนิสัย 3 อย่างเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวคือ เป็นนักเล่าเรื่องด้วยการจด Diary เป็นนักจับประเด็นด้วยการจดบันทึกจาก meeting และการเรียนวิชาต่างๆ เป็นนักวางแผนด้วยการจด Planner นั่นเอง

Related Articles

กำเนิดแฟรงเกนสไตน์

ครั้งที่แล้วเคยเล่าเรื่องของนิทานอาหรับราตรี เลยไปถึงคริสโตเฟอร์โคลัมบัสที่เป็นเรื่องราวที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เรื่องราวที่เราเคยเชื่ออย่างหนึ่งและเข้าใจไปอีกอย่างหนึ่ง แล้วความเป็นจริงมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง วันนี้ก็เลยอยากจะมาเล่าเรื่องสนุก ๆ ให้ฟังอีกเช่นเคย ว่าด้วยเรื่องของ “แฟรงเกนสไตน์” แฟรงเกนสไตน์…

Morning Call | Podcast

ทำความรู้จัก LIBRA สกุลเงินดิจิทัลจาก Facebook

เป็นข่าวใหญ่อย่างมากที่ Facebook ออกมาประกาศเรื่องการสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อที่เรียกว่า LIBRA ค่าเงินสกุลใหม่ที่เป็น Digital Currency แบบนี้ มีความแตกต่างอะไรกับ Bitcoin…

Morning Call | Podcast

4 วิธีเรียกสติ โดยไม่ต้องนั่งสมาธิ

พอเวลาเราเจอหลายเรื่องที่เข้ามาจนบางครั้งก็ต้องนั่งพิงหลังตั้งสติ แต่บางทีเมื่อทำงานในออฟฟิศ จะบอกให้ทุกคนหยุดแล้วขอนั่งสมาธิก่อนก็คงไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไรดีในช่วงเวลาที่เรารู้สึกวุ่นหวายยุ่งเหยิงมาก อยากได้จังหวะที่โฟกัส แต่ถ้าตอนนั้นสถานการณ์และสถานที่ไม่เอื้อต่อการนั่งสมาธิ จะมีวิธีใดได้บ้างที่จะเรียกสติโดยไม่ต้องนั่งสมาธิ ลองมาดูกัน 1. ทำสมาธิโดยการสร้างมโนภาพ…

Podcast | The Organice
luctus massa justo nec ipsum fringilla non