Trending News

Subscribe Now

ทำความรู้จัก LIBRA สกุลเงินดิจิทัลจาก Facebook

ทำความรู้จัก LIBRA สกุลเงินดิจิทัลจาก Facebook

Morning Call | Podcast

เป็นข่าวใหญ่อย่างมากที่ Facebook ออกมาประกาศเรื่องการสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นมาภายใต้ชื่อที่เรียกว่า LIBRA ค่าเงินสกุลใหม่ที่เป็น Digital Currency แบบนี้ มีความแตกต่างอะไรกับ Bitcoin ที่เคยทำให้หลายคนล่มจมกันมาหลายรอบ ทำไมถึงต้องเป็นที่ฮือฮา แล้วทำไม Facebook ต้องทำ มีวัตถุประสงค์ใด? ที่สำคัญคือเราจะได้ใช้เมื่อไรและได้ใช้ได้อย่างไร วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง LIBRA ค่าเงินสกุลใหม่

Facebook ประกาศค่าเงินสกุลใหม่ออกมาชื่อว่า LIBRA โดย Facebook บอกว่าจะเป็นสกุลเงินที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ก่อนหน้านี้มีข่าวลือออกมาเยอะว่า Facebook จะทำสกุลเงินดิจิทัลออกมาเอง ไม่แน่ใจว่าเป็นเหตุที่ทำให้ Bitcoin มีตัวเลขพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้หรือเปล่า แต่ในที่สุดข่าวลือที่ว่านั้นก็เป็นจริงแล้ว

สกุลเงินนี้มีแนวความคิดอย่างไร ทำงานอย่างไร และแตกต่างจาก Bitcoin อย่างไร และเราในฐานะผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างไรและจะมีผลอะไรไหม?

LIBRA คืออะไร?

LIBRA เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ประกาศออกมาโดย Facebook โดยมีแนวความคิดว่า a stable global cryptocurrency build on a secure network มีความหมายคือต้องการให้เป็นสกุลเงินดิจิทัลของโลกใบนี้ที่เชื่อถือได้ เป็นแนวคิดในการสร้างสกุลเงินดิจิทัล LIBRA ที่เพิ่งประกาศออกมาอย่างเป็นทางการผ่าน White paper ความยาว 12 หน้า ทั้งนี้สกุลเงินตัวนี้ดีและแตกต่างอย่างไร เขาบอกว่าแนวความคิดของโครงการนี้จะสร้างอยู่บนพื้นฐานของ 3 ปัจจัย

 1. LIBRA สร้างอยู่บน Blockchain ซึ่งเราน่าจะคุ้นเคยกันว่า Blockchain เป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และสามารถรองรับผู้ใช้งานได้ระดับพันล้านคน 

2. LIBRA จะไม่ใช่สกุลเงินลอย ๆ แต่จะเป็นสกุลเงินที่ถูกค้ำโดยมีเงินสำรองซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่จริง โดยไม่ได้อ้างอิงจากเงินเพียงสกุลเดียว เรียกว่า Currency Basket ตะกร้าสกุลเงินประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดอลลาร์ ยูโร เงินฝากธนาคารหรือพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้มีมูลค่าในตัวของมันเอง

3. LIBRA จะถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานอิสระที่ชื่อว่า LIBRA Association ผ่าน Founding members เป็นบริษัทที่มาจับมือกันมากมายหลายกลุ่มธุรกิจ ซึ่งกลุ่มบริษัทเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้หลายคนสนใจ มีทั้งหมด 27 บริษัท โดย Facebook เชื่อว่าจะมีกลุ่มองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่งมากกว่า 100 สมาชิก ที่จะมาเข้าร่วมภายในครึ่งปีแรกของปี 2020

มาดูกันว่า 27 หน่วยงานที่ว่านั้นมีใครบ้าง ชื่อที่เราพอจะคุ้นเคย ในกลุ่ม Payment ได้แก่ MasterCard, Visa, Paypal, Stripe เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ

ส่วนกลุ่ม Technology มี Booking Holdings, eBay, Facebook จริง ๆ แล้ว LIBRA อยู่ภายใต้บริษัทลูกของ Facebook ชื่อ Calibra, Lyft บริการคล้าย Uber, Uber และ Spotify

กลุ่ม Telecommunications มี Vodafone และกลุ่ม Venture Capital มี Union Square Ventures และอีกหลายหน่วยงานมีทั้งหมด 27 องค์กร และคาดว่าจะมีประมาณ 100 สมาชิกเข้าร่วมภายในครึ่งปีแรกนี้ ซึ่งในเริ่มแรกทีมจาก Facebook จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนองค์กรนี้ โดยร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ผ่านบริษัทลูกชื่อว่า Calibra หลังจากนั้น Facebook จะลดตัวลงมาเป็นสมาชิกขององค์กรโดยไม่ได้มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าสมาชิกอื่น 

บริการ LIBRA จะใช้ได้อย่างไร Facebook บอกว่าในช่วงแรกเราจะสามารถใช้เงินนี้ผ่านแอปพลิเคชัน 2 ตัวหลัก คือ WhatsApp และ Massenger สามารถที่จะโอนเงินผ่านแอปฯ ได้เลยง่ายเหมือนการส่งรูปผ่าน Massenger โดยที่มีค่าธรรมเนียมต่ำมากจนแทบไม่มีค่าธรรมเนียมเลย ในอนาคตจะมีแอปพลิเคชันแยกออกมาชื่อ Calibra 

ในวิสัยทัศน์ที่เขามองนั้น มองว่าจะไม่ใช่แค่การโอนเงินรับเงิน แต่จะมีบริการบางอย่างเข้ามาช่วยเหลือด้วยเช่นการกู้ยืมเงินก็ทำได้

หลักการทำงานของ LIBRA เป็นอย่างไร?

หากคุณต้องการมีสกุลเงินดิจิทัลชื่อ LIBRA คุณต้องนำเงินสดโอนเข้าไปในระบบ จากนั้นจะได้สกุลเงิน LIBRA กลับมา เหมือนกับการแลกเงิน ส่วนเงินที่เรานำเข้าไป เขาไม่ได้นำไปลงทุนต่อแบบสกุลเงินอื่น ๆ แต่เขาจะเก็บไว้นิ่ง ๆ ในธนาคาร แน่นอนว่าตัวเลขเงินเมื่อนำไปฝากไว้ในธนาคารอาจจะมีการได้ดอกเบี้ย ซึ่งกลุ่มนักลงทุนที่มาร่วมลงทุนในช่วงแรกจะเป็นคนได้ดอกเบี้ยในส่วนนี้ไป

ค่าเงิน LIBRA สามารถทำอะไรได้บ้าง?

โดยพื้นฐานเราสามารถโอนเงินให้เพื่อนได้อย่างง่ายดาย แต่วิสัยทัศน์เราสามารถจินตนาการได้ว่าต่อไปเราสามารถใช้เงิน LIBRA ในการซื้อขายของได้ เช่น เปิดแอพซื้อกาแฟ Starbucks ได้เลยโดยที่เราไม่ต้องใช้ธนบัตรปกติทั่วไป ไม่ต้องใช้เงินสด ความน่าสนใจมองในมุมระดับโลกว่าไม่ต้องลำบากไป Currency Exchange เพื่อแลกเงิน ไปต่างประเทศแค่เพียงเปิดแอปฯ ก็สามารถซื้อเสื่อผ้าอาหารได้เลย โดยไม่ต้องมานั่งแลกเปลี่ยนเงิน 

เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ จนส่วนตัวรู้สึกว่าสมบูรณ์แบบเกินไป น่าจะสร้างความน่าปวดหัวให้กับธนาคารกลางของในแต่ละประเทศได้ จึงได้ไปติดต่อกับคนน่าจะมีความรู้ ถามความเห็นเขาบอกว่าขอศึกษาก่อนเพราะไม่แน่ใจว่าการที่ Facebook ออกมาบอกว่าค่าเงินนี้ทำให้คงที่ได้จะสามารถเป็นไปได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อเขาแน่ใจเมื่อไหร่ก็อยากจะจัดเป็น Mini Event เพราะเรื่องนี้น่าตื่นเต้นมากไม่แน่ว่าต่อไปอีกไม่เกิน 5 เราอาจจะไม่ได้ใช้เงินบาทแล้วก็ได้ แล้วจะส่งผลอะไรกับ Bitcoin หรือไม่ หากมีอะไรอัพเดทอีกจะรีบมาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณข้อมูลจาก New York Times และ ลงทุนแมน

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD, Spotify, PodBean

Related Articles

ลูกค้าไม่ซื้อของ เพราะราคาแพงหรือลูกค้าไม่มีเงิน?

เรื่องของการตั้งราคา บางคนทำธุรกิจอาจจะกังวลว่า ฉันควรตั้งราคาอย่างไรดี? น้อง ๆ หลายคนที่มีความคิดอยากทำ Startup หลายคนมาพร้อมกับไอเดียที่ดี แต่เมื่อมีคำถามว่าจะเอารายได้มาจากไหน ส่วนใหญ่…

Creative Wisdom | Podcast

ประวัติวิหาร NOTRE DAME กับเบื้องหลังเรื่องราวน่าทึ่งของสถาปัตยกรรม

วันนี้เราจะมาชวนคุณคุยเกี่ยวกับมหาวิหารแห่งหนึ่งที่เป็นมหาวิหารที่ยิ่งใหญ่และเป็นข่าวอย่างร้อนแรงไปทั่วโลก นั่นคือ วิหาร Notre Dame ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำไมมหาวิหารแห่งนี้ถึงเป็นที่โด่งดังและถูกกล่าวขานไปอย่างมากมาย ชื่อเต็มของ Notre…

Podcast

เขียนเนื้อหาอย่างไรให้อ่านจบและแชร์ – ตอนที่ 3/3 ของเทคนิคเขียน Contents ให้น่าสนใจ

บทความนี้ก็เป็นตอนสุดท้ายสำหรับเรื่องของเทคนิคการเขียน Contents ให้น่าสนใจ จาก 2 part ก่อน ที่พูดถึง เทคนิคเขียน Contents…

Digital marketing | Morning Call | Podcast
id, Praesent mattis ultricies adipiscing leo et,