Trending News

Subscribe Now

รู้จักลิขสิทธิ์ภาพประเภทต่างๆ

รู้จักลิขสิทธิ์ภาพประเภทต่างๆ

Podcast

เวลาที่เราเข้าไปค้นหารูปภาพใน Google เราสามารถดาวน์โหลดและนำมาใช้ได้เลยหรือเปล่า? จะผิดลิขสิทธิ์ไหมนะ? หรือแม้แต่เวลาคุณซื้อรูปภาพมาใช้แล้ว แต่ไม่แน่ว่าคุณอาจจะกำลังละเมิดลิขสิทธิ์บางอย่างอยู่ก็ได้ วันนี้จะมาชวนคุยเรื่องลิขสิทธิ์ของการใช้รูปภาพกัน 

ประเภทของลิขสิทธิ์ภาพ

ลิขสิทธิ์ภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. รูปที่อนุญาตให้ใช้ฟรีโดยไม่มีลิขสิทธิ์

ปัจจุบันมีเว็บไซต์มากมายที่เป็นแหล่งรวมรูปภาพใช้ฟรีไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น Unsplash อย่างไรก็ตาม คุณต้องดูว่าเขามีข้อกำหนดอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ โดยเมื่อเรานำไปใช้ก็ E-mail ไปขอบคุณ หรือเขียนเครดิตไว้ข้างล่างรูป

2. รูปที่มีลิขสิทธิ์

เป็นรูปที่คุณต้องไปซื้อผ่านทางเอเจนซีต่าง ๆ เช่น Istockphoto Getting image Shutterstock เป็นต้น ซึ่งรูปภาพที่มีลิขสิทธิ์นี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

2.1 Loyalty free

คือภาพที่ใช้เงินซื้อเพียงครั้งเดียวและสามารถใช้ได้เรื่อย ๆ

2.2 Right managed

คือรูปภาพที่ไม่ได้ซื้อขาด แต่จะเป็นสัญญาผูกมัด เช่น รายเดือน หรือจ่ายทุกครั้งที่ใช้ ดังนั้นถ้าหากคุณเจอปัญหาว่า คุณจ่ายเงินซื้อรูปภาพไปแล้ว แต่ยังโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ ก็มีความเป็นไปได้ว่า รูปภาพนั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์ในรูปแบบ Right managed นี่เอง

นอกจากลิขสิทธิ์ 2 ประเภทหลักนี้แล้ว จริง ๆ ยังไม่ใช่ทั้งหมด คุณเคยสังเกตไหมว่า แม้จะเป็นรูปเดียวกัน แต่บางครั้งก็ราคาไม่เท่ากัน สาเหตุมาจากประเภทจากใช้งานที่แตกต่างกัน โดย American Society of Media Photographers (ASMP) แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. Commercial Use คือการใช้เชิงพาณิชย์หรือใช้เพื่อธุรกิจ เช่น นำรูปแก้วกาแฟไปประกอบเมนูร้านกาแฟ เป็นต้น
  2. Editorial คือการใช้งานตามสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
  3. Retail หรือ Personal Use คือการใช้สำหรับส่วนตัว เช่น ใช้ในงานแต่งงานหรืองานสังสรรค์ของตัวเอง รูปแบบนี้มักจะมีราคาถูกที่สุด

หลังจากที่เราได้รู้ประเภทการใช้งานแล้ว มาดูกันว่าภาพแต่ละภาพ แม้เราจะซื้อมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเอาไปใช้อย่างไรก็ได้ เพราะมันยังมีข้อกำหนดที่สัมพันธ์กับราคาที่จ่ายไปอยู่ ดังต่อไปนี้

  1. Single Domain คือสามารถนำรูปภาพไปใช้ได้กับสื่อเดียวเท่านั้น เช่น เว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์ หากมีข้อกำหนดไว้ ก็ไม่สามารถนำไปกับสื่ออื่นได้ การกำหนดจำนวนนักออกแบบที่สามารถดาวน์โหลด และทำรูปไปใช้ได้ 
  2. Resell คือการนำรูปภาพที่ซื้อไปต่อยอดทางผลิตภัณฑ์ และวางขาย เช่น การซื้อภาพไปสกรีนบนเสื้อ
  3. Sensitive Way คือการนำรูปภาพไปใช้เกี่ยวข้องกับประเด็นอ่อนไหว เช่น ใช้กับสื่อลามก โหดร้ายน่ากลัวเกินไป จนทำให้ภาพลักษณ์ของบางคน เช่น นางแบบในภาพ หรือสินค้าในภาพ เป็นต้น

ซึ่งทุกข้อกำหนดมีราคาที่แตกต่างกันออกไป หากไม่อยากผิดลิขสิทธิ์หรือโดนฟ้องก็ต้องตรวจสอบกันให้ดีนะครับ

Photo by Jenny Hill on Unsplash

ถอดความจาก: Design You Don’t See Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

เรียบเรียงโดย รมิตา ตั้งกุลบริบูรณ์ นางสาวสิ่งพิมพ์ รอยยิ้มพริมใจ คอนเสิร์ตก็จะไป ผู้ชายก็จะเปย์

Related Articles

9 ความลับของการเล่าเรื่อง (Storytelling) สะกดใจคนฟัง

ถ้าเรื่องราวต่าง ๆ มีความสำคัญขนาดเปลี่ยนความคิดของเราได้ สามารถเปลี่ยนคนธรรมดาให้เป็นฮีโร่หรือตัวร้ายได้ เราลองมาเรียนรู้การเล่าเรื่องกันดีกว่า อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนที่แล้วไว้ว่าการเล่าเรื่องไม่ได้จำกัดแค่การพูดเท่านั้น แต่เราสามารถใช้การแต่งตัว แต่งหน้าเล่าเรื่องให้คนอื่นรู้ได้ว่าเราเป็นคนยังไง โดยมี 9…

Morning Call | Podcast

รู้จักใช้ CEO ทำงาน

“พี่คะ หนูมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานจนอยากจะลาออก โดยบอกว่าจะไปเรียนต่อแทน แต่หนูก็กังวลว่าพอลาออกแล้ว เจ้านายจะมาพบทีหลังว่าเราไปทำงานอยู่ที่อื่นนี่จะเป็นอะไรไหม?’ ปัญหาความไม่ลงรอยในที่ทำงานดูจะเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่พบเจอและดูจะแก้ไม่ตกสักที อย่างเช่นน้องในที่ทำงานคนหนึ่งแบกปัญหาหนักอกดังกล่าวเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานมาปรึกษา อันดับแรก ใจเย็น ๆ…

Creative Wisdom | Podcast
nunc id nec justo felis Donec efficitur. lectus vulputate, id,