Trending News

Subscribe Now

แนะนำ What If? หนังสือที่มุ่งตอบคำถามโง่ ๆ จนได้ดี

แนะนำ What If? หนังสือที่มุ่งตอบคำถามโง่ ๆ จนได้ดี

Creative/Design | Morning Call | Podcast

“What if?” (จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้า...) หนังสือที่รวบรวมคำถามแปลกประหลาด หลุดโลก หรือคำถามที่เราคาดไม่ถึงไว้ด้วยกัน โดยคนตอบหรือผู้ที่เขียนหนังคือเล่มนี้ก็คือ แรนดัลล์ มุนโร (Randall Munroe) นักเขียนการ์ตูนที่มีความเชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อนจะมาเป็นหนังสือ มุนโร ได้เปิดให้คนส่งคำถามไปที่เว็บไซต์ของเขา (https://what-if.xkcd.com) และเขาจะพยายามค้นหาคำตอบมาให้ โดยนำคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประกอบการอธิบาย

หนังสือเล่มนี้น่าสนใจตั้งแต่ส่วนของ Introduction ที่ย่อหน้าหนึ่ง มุนโร กล่าวไว้ว่า ใคร ๆ ก็พูดว่า โลกนี้ไม่มีคำถามที่โง่ (There’re no stupid question) แต่เขาคิดว่ามันไม่จริง มันมีคำถามโง่ ๆ อยู่บนโลกนี้ แต่ถ้าคุณพยายามหาคำตอบให้กับคำถามโง่ ๆ เหล่านั้น มันจะนำมาซึ่งสิ่งมหัศจรรย์หลาย ๆ อย่าง (Answer a stupid question can take you to some interesting places)

ตัวอย่างคำถามในเล่ม เช่น จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณขว้างลูกเบสบอลออกไปด้วยความเร็ว 90% ของความเร็วแสง หรือจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเอาคนทั้งโลกมารวมตัวกันในพื้นที่เดียวกัน แล้วกระโดดพร้อมกัน โลกจะสั่นหรือเขย่าไหม? 

ซึ่งคำถามนี้น่าสนใจ มุนโร ได้อธิบายว่า ในโลกนี้มีประชากรกว่า 7,000 ล้านคน โดยประมาณให้คนแต่ละคนใช้พื้นที่ในการยืนคนละ 1 ตารางเมตร ซึ่งถ้าทุกคนยืนติดกัน จะมีพื้นที่เท่ากับรัฐจอร์เจีย 1 รัฐเต็ม ๆ และถ้าพวกเขากระโดดพร้อมกัน ผลลัพธ์คือ

ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น แค่กระโดดพร้อมกันเฉย ๆ

แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่ตอนที่ทุกคนกระโดด มุนโร บอกว่าความน่าสนใจของจริงเป็นตอนหลังจากที่กระโดดเสร็จแล้วต่างหาก ความโกลาหลจะเกิดขึ้นเพราะทุกคนพยายามจะออกจากพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินออก ขับรถ หรือนั่งเครื่องบิน อาจจะมีการขโมยเกิดขึ้นถ้ามีคนสามารถออกจากพื้นที่นั้นได้ก่อนแล้วบุกไปปล้นห้างต่าง ๆ

รวมถึงความเป็นไปได้ที่เราอาจจะบินกลับประเทศไม่ได้เพราะไม่มีกัปตัน แอร์โฮสเตส หรือคนดูแลสนามบิน ไม่แน่ว่ากว่าทุกคนจะสามารถกลับสู่ที่ที่ตัวเองจากมา อาจใช้เวลาเป็นเดือนเลยก็ได้

what if หนังสือ

หรืออีกคำถามหนึ่ง คือจะหากตัวเราลอยขึ้นไปในอากาศด้วยความเร็ว 1 ฟุต/วินาที เราจะตายเมื่อไหร่?  มุนโร ตอบว่าในช่วง 5-7 วินาทีแรก จะยังเป็นช่วงที่เราเอื้อมมือถึง และ 30 วินาที คนยังสามารถโยนแซนวิชหรือน้ำขึ้นไปให้เราได้ เมื่อเข้าสู่ช่วง 10 นาที เราจะลอยเหนือจุดหอคอยชมวิวที่สูงที่สุดในโลก ช่วงนาทีที่ 25 เราจะอยู่สูงเท่า ๆ กับตึก Empire State ณ ความสูงนั้นอากาศจะเบาบางลง 3% แต่ร่างกายจะยังทนได้อยู่

มุนโร อธิบายว่าความจริงแล้วการลอยด้วยความเร็ว 1 ฟุต/วินาที นั้น เทียบเท่ากับความเร็ว 1 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อผ่านไป 1 ชั่วโมงหรือที่ความสูงจากพื้นดิน 1 กิโลเมตร อากาศจะเริ่มเย็น (ซึ่งถ้าคุณมีเสื้อโคตก็อาจจะรอด) และเมื่อเข้าสู่ชั่วโมงที่ 2 อากาศจะเริ่มต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

สรุปแล้ว เราอาจอยู่ได้ไม่เกิน 7- 8 ชั่วโมง หรือที่ระยะความสูง 7- 8 กิโลเมตรจากพื้นดิน ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดที่ภูเขาบนโลกนี้จะสูงได้ ในจุดนั้นจะเริ่มไม่มีอากาศ ความกดอากาศสูง เมื่อลอยไปเรื่อย ๆ ถึงจุดหนึ่งเราก็จะเสียชีวิตในที่สุด

มีการคำนวนแบบสนุก ๆ ต่ออีกว่า ถ้าเราลอยอีกสัก 2 ล้านปี เราจะเดินทางอยู่ท่ามกลางดวงดาว (Interstella) และถ้าหากยังลอยไปอีกเรื่อย ๆ จนถึง 4,000 ล้านปี ถึงตอนนั้นพระอาทิตย์จะระเบิด และรัศมีการทำลายล้างนั้นจะเผาทำลายและคร่าทุกชีวิตบนโลก ข่าวดีก็คือจะยังมีคนหนึ่งที่ไม่ตาย นั่นก็คือคุณนั่นเอง (ก็เพราะว่าลอยออกไปไกลมาก ๆ แล้วนั่นแหละ)

หนังสือเล่มนี่น่าสนใจตรงที่ช่วยค้นหาคำตอบให้กับคำถามที่แหวกแนว เพราะการคิดหรือถามสิ่งที่แตกต่างจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

มุนโร เคยขึ้น TED Talk ด้วย เขาเล่าว่าบางคำถามเป็นคำถามที่น่ากลัว เช่น มีวิธีซ่อนศพของมนุษย์ให้หายไปจากโลกนี้ได้โดยเร็วที่สุดไหม? (และขอคำตอบอย่างด่วน) แต่มีคำถามน่าสนใจคำถามหนึ่งที่เขาพูดถึง นั่นคือ ถ้าเอาข้อมูลทั้งหมดของ Google มาพิมพ์ใส่ลงใน Punched Card (กระดาษบันทึกข้อมูล) จะต้องใช้ Punched Card ทั้งหมดกี่ใบ?

เขาเริ่มเสิร์ชจาก Google มีข้อมูลขนาดไหน ซึ่งยากมาก ถามใครก็ไม่มีใครบอกเพราะเป็นความลับของบริษัท แต่เขาสามารถสร้างสมมุติฐานจากปริมาณฮาร์ดดิสก์ที่ Google สั่ง, จำนวนเซิร์ฟเวอร์ หรือพื้นที่โกงดังที่เก็บเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงคำนวนจากการรับสมัครคนดูแลพื้นที่ Data warehouse หรือดูจากค่าไฟที่ Google ใช้ ในภายหลังเขาสามารถประมาณได้ว่า Google น่าจะมีข้อมูลเยอะขนาดไหน หลังจากนั้นมาดูว่า Punched Card 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้เท่าไหร่

สรุปแล้ว ต้องใช้ Punched Card จำนวนเทียบเท่าเมืองบอสตันที่ซ้อนกันขึ้นไปสูง 5 กิโลเมตร แต่คำตอบนี้ก็ดูจะไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ เพราะข้อมูลตั้งต้นในแง่ของจำนวนข้อมูลของ Google ก็เป็นเพียงแค่สมมุติฐานและการประมาณการของเขาเท่านั้น

ผ่านไป 2 อาทิตย์ Google ส่งไปรษณีย์ถึง มุนโร ซึ่งภายในบรรจุ Punched Card ที่มีการพิมพ์ข้อมูลบางอย่างอยู่ เขาตื่นเต้นมากคิดว่ามันต้องเป็นคำตอบอะไรบางอย่างแน่ ๆ มุนโร เลยชวนเพื่อนมาหาคำตอบร่วมกัน ถอดรหัสออกมาได้เป็นตัวเลข หลังจากนั้นก็นำไปผ่านสมการอีกหลายตลบ ซึ่งออกมาเป็นคำตอบสุดท้ายที่คาดว่าน่าเป็นสิ่งที่ Google ต้องการจะบอก นั่นก็คือ

“No Comment”

สรุปแล้ว แม้ว่าเราก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า Google มีข้อมูลเยอะขนาดไหน หรือต้องใช้ Punched Card กี่แผ่นในการบันทึกข้อมูลเหล่นั้น แต่ความสนุกคือระหว่างทางที่คนถามก็ถามคำถามเพี้ยน คนตอบก็พยายามหาคำตอบกันแบบสุด ๆ

สุดท้ายนี้ยังอยากแนะนำให้ทุกคนไปอ่านหนังสือ What if? กัน อย่างที่ มุนโร ได้กล่าวไว้ว่าคำถามโง่ ๆ มีอยู่จริง แต่การหาคำตอบให้กับมันเป็นเรื่องที่ท้าทาย และอาจะนำไปสู่สิ่งที่คุณคาดไม่ถึง

ถอดความจาก: Morning Call Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม
ฟัง EP. นี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่: SOUNDCLOUD และ Spotify

บทความที่เราแนะนำ

Related Articles

ไม่ต้องตื่นเช้าก็ประสบความสำเร็จได้

วันนี้จะมารีวิวนักเขียนทั้ง 3 ท่าน เจ้าของหนังสือ “Inbound marketing การตลาดแรงดึงดูด” ซึ่งประกอบไปด้วยคุณโบว์ คุณแบงค์ และคุณโบว์…

Morning Call | Podcast

ล้วงลับการออกแบบของ “บ๊ะจ่าง” กัดอร่อย คำต่อคำ!

บ๊ะจ่าง ของว่างที่ประกอบไปด้วยข้าว และไส้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หมู ไข่ เห็ดหอม ถั่ว ห่อด้วยใบไผ่ เป็นอาหารของคนจีนสมัยก่อนที่ทำมาให้ง่ายต่อการพกพา…

Design You Don't See | Podcast

รักเกิดขึ้นที่สมองหรือหัวใจ และจุดกำเนิดสัญลักษณ์รูปหัวใจ

จุดกำเนิดที่พูดเรื่องความรักไม่ใช่ว่าอินเลิฟแต่อย่างใด แต่ได้รับหนังสือจากน้องคนหนึ่งชื่อ น้องส้ม ศรีตลา ชาญวิเศษ เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Love never Fail ไม่มีความรักครั้งไหนที่สูญเปล่า…

Creative/Design | Morning Call | Podcast
Aliquam facilisis vulputate, id, odio libero risus. eget commodo felis