Trending News

Subscribe Now

เจาะลึก Creative สไตล์ Polycat

เจาะลึก Creative สไตล์ Polycat

Article | Creative/Design

ในงาน CTC2019 ปีนี้ พอมี Topic เรื่องดนตรี  “Polycat” คือชื่อแรกที่เข้ามาในการพูดคุยนี้ทันที เพราะพวกเขาเป็นอีกหนึ่งวงที่มีความ Creative ในหลาย ด้าน ทั้งในคอนเซปต์ดนตรีและเนื้อเพลงที่กลายเป็นปรากฏการณ์ของวงการเพลงในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น

ฉันยังอาวรณ์อยู่ Baby I want you” ในเพลง อาวรณ์

มันดูดีที่สุดเลยเว้ยแก ในเพลง ดูดี

หรือ

เธอเป็นคนเดียวที่ไม่ควรเสียใจ…Alright”

ที่ทำให้คำว่า “Alright ” ติดปากกันทั่วบ้านทั่วเมือง

ก่อนหน้านั้นก็ยังมีคอนเซปต์ของการปล่อยเพลงแบบ 3 เพลงพร้อมกันที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน กับดนตรีที่มีกลิ่นอายของ 80’s แถม MV ก็ตอกย้ำความเป็น 80’s โดยนำเอาฟุตเทจของภาพยนต์เรื่องพริกขี้หนูกับหมูแฮมเวอร์ชั่นในปี 2532 ที่นำแสดงโดยขจรศักดิ์ รัตนนิสัย และจันทร์จิรา จูแจ้ง มาตัดต่อเป็นเรื่องราวต่อกันในเพลง

Chapter 1 เพื่อนไม่จริง, Chapter 2 เวลาเธอยิ้ม และ Chapter 3 พบกันใหม่

นั่นทำให้ชื่อของพวกเขาถูกพูดถึงในวงกว้างแทบจะในทันที

แต่ใครจะรู้ว่า กว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างในวันนี้ พวกเขาก็ใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองนานเกือบ 10 ปี ในงานครั้งนี้เราจึงอยากชวน Polycat มาเล่าให้ฟังถึง Creativity ที่ทำให้ผลงานของเขานั้นก้าวไปอีกขั้น

ดนตรีคือคณิตศาสตร์

ประเด็นสำคัญที่ Polycat พูดไว้ได้อย่างน่าสนใจในเรื่องของการทำเพลง เริ่มที่อัลบั้มแรก “05.57” ที่พวกเขาเล่าว่า ตั้งใจจะทำเพลงเพื่อเอาใจคนฟัง โดยเริ่มที่การหาข้อมูลรวมถึงทำการบ้าน ว่าปัจจัยที่เพลงหรือศิลปินจะดังนั้นต้องทำอย่างไร โดยทำตารางวิเคราะห์วงดัง จากต่างประเทศและเพลงฮิต ว่าโน้ตชุดไหนที่ใช้กัน ระยะห่างระหว่างจังหวะ การขึ้นลงของโน้ตแบบไหน แล้วก็หาค่าเฉลี่ย และใช้ข้อมูลนั้นมาทำเป็นเพลงของพวกเขา นอกจากนั้น พอคิดถึงตอนที่จะเล่นสด ก็อยากรู้ว่าคนจะสนุกไปกับเพลงหรือเปล่า ก็เลยให้เพื่อนในวงมาลองกระโดดดู ว่าจังหวะมันโอเค มันกระโดดแล้วรู้สึกสนุกไหม ซึ่งอัลบั้ม 05.57 ก็ทำให้คนกลุ่มนึงเริ่มรู้จัก Polycat

เพลงฮิตจากเพลงไม่ฮิต

แต่พอจบอัลบั้มแรก พวกเขาก็คิดใหม่ มาทำเพลงที่ตัวเองอยากทำจริง โดยใช้ความชอบของพวกเขาเป็นตัวตั้งดูบ้าง และก็มาถึงอัลบั้ม 80 Kisses นี้ ที่เป็นจุดเปลี่ยนทำให้ชื่อ Polycat นั้นมีชื่อเสียงในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งพวกเขาก็ได้เล่าให้ฟังถึงอัลบั้มนี้ต่อว่า ครั้งนี้ยังคงนำ Structure ของเพลงฮิตมาวางเรียงกันดูเหมือนเดิมว่าทำไมเพลง นี้ถึงได้ฮิต ใช้คอร์ดอะไร ใช้เมโลดี้แบบไหน ใช้จังหวะอย่างไร แต่คราวนี้พวกเขาทำทุกอย่าง Inverse กับสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดเลย แล้วพอทำออกมาแล้วพวกเขาก็จะได้ ก้อนที่ไม่มีทางจะดังแน่ นี้มา จากนั้นก็จะมาทำการบ้านกันต่ออีกทีอย่างหนักว่า จะทำอย่างไรให้ไอ้ก้อนนี้มันเพราะที่สุด ซึ่งความสำคัญและความท้าทายมันก็อยู่ตรงการจัดการกับก้อนนี้แหละ เพราะถ้าทำมันไม่ดี มันก็จะกลายเป็นเพลงที่ไม่ดังแน่

ต่างอย่างดูดี

พูดถึงท่อนนึงของเพลงดูดีที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา นั่นคือมันดูดีที่สุดเลยเว้ยแก  ซึ่งคำว่าแกนั้นไม่ค่อยมีใครมาใช้ในเพลงเท่าไหร่ Polycat เล่าให้ฟังว่า

ครั้งแรกที่คุณเพียว (มือเบส) ได้ยินก็รู้สึกตกใจเหมือนกัน คือมันดูรุนแรง แบบ เว้ยแก เลยเหรอพี่ แต่พอฟังทั้งหมดแล้วก็ถึงได้เข้าใจว่า มันคือบริบทและความรู้สึกเวลาเราคุยกับเพื่อนที่สนิทกันจริง คุณนะ (นักร้องและแต่งเพลง) เสริมอีกว่า เขาชอบเพลง “Wonderful Tonight” ของ Eric Clapton มีท่อนสร้อยตอนจบที่ชอบมากอย่าง “And then she asked me, do I look alright? And I said yes, You look wonderful tonight” จึงอยากจะทำเพลงที่มีตอนจบแบบนี้บ้าง เขาจึงเล่าเรื่องในแบบเดียวกันแต่ในคนละบริบท คือไม่ได้เป็นคนรักกันแต่เป็นเพื่อนที่แอบรักแทน ก็เลยได้เป็นท่อนนี้

นอกจากนั้นยังมีเรื่องเกี่ยวกับ Storytelling ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การเปิดมาด้วยการเล่าตอนสรุปของเพลงตั้งแต่ต้นเลย ซึ่งคล้ายกับวิธีคิดของภาพยนต์ที่เขาชอบหลาย เรื่อง จึงลองเล่าแบบนี้ในเพลงพบกันใหม่ที่เปิดมาแบบตีหัวเลยว่า

และแล้วก็รู้ว่าคนที่จบกันไป ด้วยคำที่บอกว่าเราจะมาพบกันใหม่ มักจะไม่พบกันอีก

คือเปิดมาให้คนสงสัยก่อนเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้เขาอยากติดตามในท่อนต่อ ไป ว่าทำไมถึงมีตอบจบแบบนั้น

Detail is Everything

คุณนะเล่าว่า เขาเป็นคนชอบเก็บดีเทลต่าง ๆ ในชีวิต จากนั้นก็จะค่อย ๆ หาว่าตรงไหนที่เหมาะกับอะไรแล้วลองใส่ลงไป อย่างท่อนนึงจากเพลง ‘อาวรณ์’ ที่ร้องว่า

ถ้าพรของฉันที่จะให้ไป ศักดิ์สิทธิ์กว่าพระอาจารย์ที่ใด จะขอให้เธอ ได้มีพลัง รู้ความในใจ ให้เธอรู้ไว้ ว่ายังมีใคร ที่รอเสมอ”

เพลงนี้จริง ๆ แล้วเขียนจากเรื่องที่เกิดขึ้นในวันเกิดของแฟนเก่า แต่ท่อนนี้กลับนำมาจาก อีกเหตุการณ์ที่มีแฟนเพลงมาขอให้คุณนะ อวยพรให้อยู่บ่อย ๆ ซึ่งเขาก็จะบอกแฟน ๆ ที่ให้เขาอวยพรเสมอว่า “ผมไม่ใช่พระอาจารย์ ผมไม่มีพรที่จะทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นหรือสวยขึ้นได้จริง แต่ถ้าอยากให้ผมอวยพร ผมจะพูดให้ก็ได้” ก็เลยเป็นที่มาของท่อนนี้

ซึ่งในด้านของการเขียนเนื้อเพลง คุณนะบอกว่าเลิกเพลย์เซฟมานานแล้ว ไม่อยากจะเขียนอะไรที่มันกลาง เพราะมันจะไม่สุด ถึงแม้ว่าสุดท้ายจะออกมาแย่ แต่อย่างน้อยก็ยังเป็นเพลงที่ตัวเองชอบ และก็ทำให้รู้สึกว่าได้สร้างอะไรไว้ให้วงการนี้

เก็บ – วิเคราะห์ – ย่อย

บางครั้งความสำเร็จนั้นก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว บางคนอาจรู้สึกว่า การทำงานศิลปะควรใช้อารมณ์และความชอบเป็นหลัก บางคนอาจจะบอกว่าต้องอยู่นอกกรอบ

แต่ Polycat คือตัวอย่างที่ดีของความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากการ เก็บข้อมูลวิเคราะห์ย่อยออกมาว่าสิ่งใดที่เขาสามารถนำมาใช้กับงานของพวกเขาได้บ้าง ซึ่งก็ผ่าน การศึกษาสิ่งที่อยู่ในกรอบจนเข้าใจมากพอ และลองผิดลองถูกมานับไม่ถ้วน จนวันนึงที่พวกเขากล้าที่จะออกมาจากกรอบเดิม ก็ยังใช้ Creativity บนพื้นฐานของการวิเคราะห์และหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ และแน่นอนว่ารวมไปถึงการวางแผนที่ดีด้วยเช่นกัน

ติดตามคลิปย้อนหลังงาน CTC2019 ได้ที่

Main Stage : AIS PLAY

ห้องอื่น ติดตามได้ที่เพจ Creative Talk Live หรือ Youtube CREATIVE TALK 

สำหรับใครที่ชอบฟัง Podcast ติดตามได้ที่ APPLE PODCAST / SPOTIFY / SOUNDCLOUD 

Related Articles

ดนตรีสำคัญแค่ไหนกับโฆษณา

ดนตรีหรือเพลงประกอบยังสำคัญกับ Ad แค่ไหน? นี่อาจเป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับคนทำ Ad ยุคนี้ ในโลกที่ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จริงอยู่ที่ดนตรี หรือ Sound…

Article | Creative/Design

5 Conversion ที่มากกว่ายอดขาย เมื่อคุณตัดสินใจทำ Digital Marketing

หลายคนน่าจะเคยเห็นภาพ marketing funnel นี้นะครับ ซึ่งมีเรื่องของการสร้าง Awareness อยู่บนสุด ต่อมาคือ Consideration และปิดท้ายด้วย Conversion ยิ่งต่ำลงเท่าไหร่ จำนวนก็จะยิ่งน้อยลง แต่คุณภาพยิ่งเข้มข้นขึ้นมาก เวลาที่เราพูดถึง conversion ใน digital marketing คนส่วนมากจะนึกถึงการเกิดยอดขายหรือ purchase ในสื่อดิจิทัล เช่น…

Article | Digital marketing
vulputate, venenatis, quis at tristique elit. Donec tempus vel, dolor. consequat. commodo