Trending News

Subscribe Now

อายุ กับ ธุรกิจ Startup

อายุ กับ ธุรกิจ Startup

Creative Wisdom | Podcast

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพ คือธุรกิจของคนอายุน้อยอย่างเด็กวัยรุ่นหรือเด็กจบใหม่ แต่ที่แปลกกว่านั้น บางคนถึงขั้นไปเชื่อมโยงธุรกิจสตาร์ทอัพกับฮิปสเตอร์ด้วยซ้ำ เนื่องจากเข้าใจว่าสตาร์อัพเป็นธุรกิจที่ก้าวกระโดด เป็นสไตล์ของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน อาจเป็นเพราะพวกเขามีภาพจำจากการเห็นโมเดลธุรกิจของ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก หรือ สตีฟ จ๊อบส์ ที่เรียนไม่จบแล้วออกมาทำธุรกิจเอง ทั้งที่จริง ๆ แล้ว สตาร์ทอัพคือคนที่ทำธุรกิจทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอายุน้อย เนื่องจากที่ผ่านมา สตาร์ทอัพหลายคนก็ไม่ใช่วัยรุ่นหรือเด็กจบใหม่ ดังนั้น ธุรกิจนี้จึงเป็นธุรกิจของคนทุกวัย ทุกเพศ ทุกการศึกษา 

การมีแค่ไอเดีย เพียงพอในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพหรือเปล่า? เพราะถึงแม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่หลายคนจะมีไอเดียมากมาย แต่ก็มีหลายหน่วยงานออกมาสนับสนุนทั้งในการสอนทำธุรกิจ หรือให้เงินทุนต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีแค่ไอเดีย มันไม่พอ 

ปัญหาของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพที่พบเจอได้บ่อยคือ

ขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ

แต่ละคนมีความเก่งเฉพาะด้านแตกต่างกันไป เช่น สามารถเขียน Application ได้ ทำ Hardware ได้ หรือออกแบบเก่งมาก แต่สิ่งที่มักจะมีคล้ายกัน คือ ขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ดังนั้น เมื่อเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ว พวกเขาก็จะต้องหาความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจเพิ่มเติม 

หากลองสังเกตจะพบว่า คนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย มักจะมีอายุแล้ว หรือมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมามาก ผ่านมาแล้วทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จ  บางคนจึงคิดว่าถ้าจะทำธุรกิจสตาร์ทอัพให้สำเร็จ เจ้าของน่าจะต้องมีอายุพอสมควร เพราะถ้าเจ้าของมีอายุมาก ก็จะมีประสบการณ์มาก ทำให้โอกาสรอดสูงกว่าเจ้าของธุรกิจที่อายุน้อย 

ในความเป็นจริงธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยกับต่างประเทศมีความแตกต่างกัน หากเป็นต่างประเทศ คนอายุน้อยจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในขณะที่ประเทศไทย อายุยังมีผลต่อความสำเร็จอยู่

ลองสังเกตในหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนไฮสคูล ก็จะออกไปหางาน Part-time ตามร้านอาหารต่าง ๆ ทำ พวกเขาเริ่มที่จะทำงานกันตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว ดังนั้นการที่เขาออกไปหางานทำเองตั้งแต่ยังเด็ก อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขารู้จักคำว่า ‘ธุรกิจ’ ก็เป็นได้ เพราะงานทำให้เขารู้จักธรรมชาติของลูกค้า ทำให้รู้ว่าการจะได้รายได้มานั้นยากขนาดไหน ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยตรงที่มีเด็กส่วนน้อยเท่านั้นที่อยากทำธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่สมัยเรียนไม่เคยทำธุรกิจ ไม่เคยทำงานอะไรมาก่อนเลย จึงอาจทำให้ไม่เข้าใจธรรมชาติของลูกค้า และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าธุรกิจสตาร์ทอัพไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันในช่วงแรก 

อายุมากหรือน้อยนั้นไม่ได้รับประกันว่าธุรกิจสตาร์ทอัพจะประสบความสำเร็จ ถึงแม้คนที่อายุมากแล้วจะมีประสบการณ์จริง แต่ด้วยความที่มีประสบการณ์มาก ผ่านมาหลายอย่าง ก็จะเกิดความกลัวและไม่กล้าเสี่ยง ทำให้ความครีเอทีฟในตัวมีน้อย ตรงกันข้ามกับคนทำธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ที่มีความครีเอทีฟสูงมาก กล้าลอง กล้าเสี่ยง แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ 

ภาพจาก Facebook IKEA

ในต่างประเทศนั้นเริ่มมีการร่วมมือในการทำธุรกิจ เช่น IKEA ธุรกิจเกี่ยวกับการทำเฟอร์นิเจอร์ แม้ว่าเขาจะมีดีไซน์เนอร์เป็นของตัวเอง แต่กลับอยากได้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่านี้ ดังนั้น IKEA จึงหันไปร่วมมือกับ Parsons School of Design ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่โด่งดังเรื่องการออกแบบในนิวยอร์ก และให้นักศึกษามาร่วมออกแบบเฟอร์นิเจอร์รูปแบบและหน้าตาใหม่ ๆ จนมีเฟอร์นิเจอร์หลากหลายแบบออกมาวางขายมากมาย ส่งผลให้ IKEA ได้ประโยชน์จากการมีสินค้าใหม่ ไอเดียใหม่ ส่วนนักศึกษาถึงแม้จะทำฟรี แต่ก็ได้ประสบการณ์การทำงานในบริษัทระดับโลก และได้ลองใช้ไอเดียของตัวเองว่าดีหรือเปล่าเมื่ออยู่ในโลกของธุรกิจ ซึ่งวิธีการนี้น่าจะเป็นวิธีการที่ดีในการเริ่มทำธุรกิจสตาร์ทอัพ

ในการบ่มเพาะความรู้เรื่องธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น ไม่ได้มีเฉพาะแค่คนที่สนใจธุรกิจสตาร์ทอัพอีกต่อไปแล้ว โดยหน่วยงานรัฐบาลก็พยายามจะทำให้นักศึกษารู้จักตั้งแต่ตอนเรียน มีโครงการฝึกงานที่จริงจังมากขึ้น น่าจะทำให้ในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ 

เมื่อธุรกิจสตาร์ทอัพเริ่มเป็นที่นิยม จะเห็นได้ว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือธนาคารได้ลงมาช่วยสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ ทั้งในการสนับสนุนเงินทุนและการให้ความรู้ เช่น ถ้าจะทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้เราจะมีความรู้อยู่บ้าง แต่บางอย่างก็ยังไม่รู้ เช่น insight เรื่องต่าง ๆ หรือพฤติกรรมลูกค้าในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัทอสังหาฯ ใหญ่ ๆ เขาจะมีข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ พวกเขาอาจจะมีการแบ่งปันข้อมูลกันได้

เช่นเดียวกับธนาคาร ถ้าจะทำ Microlending ให้คนสามารถยืมเงินกันได้ ก็อาจจะมีอีกหลายเรื่องที่คนทำธุรกิจสตาร์ทอัพยังไม่รู้ เช่น กฎหมาย พฤติกรรมลูกค้าธนาคารว่ามีความกล้ายืมเงินกันหรือเปล่า หรือกล้าที่จะทำธุรกรรมกับเทคโนโลยีแบบนี้หรือเปล่า เป็นต้น สุดท้ายแล้วนั่นคือการเจอกัน และทำงานร่วมกันระหว่างคนรุ่นใหม่กับสตาร์ทอัพรุ่นพี่ หรือบริษัทที่มีประสบการณ์ ฐานข้อมูลแน่น ซึ่งทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถขับเคลื่อนได้ 

ในยุคที่ความรู้เข้าถึงแทบจะทุกคน คนที่ใฝ่หาความรู้ มีความรู้ในด้านที่ตนเองถนัด และเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีมาก เขาจะมีไอเดียและสามารถสร้างสิ่งใหม่  ๆ ขึ้นมาได้ บริษัทใหญ่ ๆ อาจมีความคิดสร้างสรรค์ไม่เพียงพอ ก็จำเป็นที่จะต้องประสานงานร่วมกับคนที่มีไอเดีย ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ดี และธุรกิจที่แข็งแรงได้

ภาพประกอบบทความจาก Martin Reisch, Unsplash

ถอดความจาก: Creative Wisdom Podcast โดยคุณเก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม

เรียบเรียงโดย: ณัฐณิชา เปรมเดชา 
นักศึกษาจบใหม่เอกวิทยุและโทรทัศน์แห่งคณะวารสารฯ ผู้สนใจเรื่องราวในสังคมแบบครอบจักรวาล หลงรักการนอนหลับเป็นชีวิตจิตใจ แต่จะนอนไม่หลับหากไม่ได้ติดตามดราม่าทวิตเตอร์ในยามค่ำคืน 

Related Articles

เคล็ดลับมัดใจลูกค้า ในช่วงเวลาเศรษฐกิจขาลง

ในช่วงเวลาเศรษฐกิจชะลอตัว เราจะคุยกับลูกค้าอย่างไรให้เข้าใจสถานการณ์เสนองานที่เหมาะสมได้ โดยที่ลูกค้าไม่อึดอัดและผ่านช่วงเวลายากๆ ไปด้วยกัน Photo by Zuzana on Unsplash

Podcast | The Organice

American Culture Shock 5 พฤติกรรมคนอเมริกันที่คนไทยอย่างเราไม่คุ้นชิน

วันก่อนคุยกับเพื่อนบนโต๊ะอาหารถึงเรื่องพฤติกรรมบางอย่างของคนอเมริกันที่คนไทยเราไม่คุ้นชิน เรียกว่า Culture Shock จึงอยากจะมาชวนให้รู้จักพฤติกรรมบางอย่างของคนอเมริกันที่เราคิดว่าเรารู้ แต่จริง ๆ ไม่รู้ Culture Shock…

Morning Call | Podcast

แนะนำ 7 รายการพอดแคสต์ของ Creative Talk

หลายคนเข้าสู่ Work From Home กันอย่างเต็มตัว จากลิสต์เพลง ลิสต์รายการต่างๆ ที่เซฟไว้ก็เริ่มหมด ดูแล้วดูอีกจนวนซ้ำ เราชวนมาฟังพอดแคสต์ของ Creative…

Podcast
Donec libero suscipit venenatis non ipsum Praesent Phasellus Aliquam pulvinar Sed sed